เมนู

แต่ในทัสสเนนปหาตัพพติกะตรัสว่า สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และ
กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น
ดังนี้. แม้ใน
ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะก็ตรัสว่า สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ใน
ฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น ดังนี้ ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะนั้น
นั่นแหละตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และธรรม
เหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น
เป็นสัมปยุตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐาน
เดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านั้นเป็น
สัมปยุตตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ดังนี้.
ก็ในสัมมัปปธานวิภังค์ตรัสไว้ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศล
ธรรมอันลามก เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้กิเลส
ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า กิเลสที่ตั้ง
อยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณมาแล้วในฐานะเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้.

ว่าด้วยนิทเทสอัพยากตธรรม


นิทเทสแห่งอัพยากตบท มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ลักษณะ 3 มีอนิจจลักษณะเป็นต้น บัญญัติ 3 กสิณุคฆาฏิมากาส
อัชชฏากาส อารมณ์ของอากิญจัญญายตนสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่ได้
ในติกะนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสเวทนาติกะที่ 2


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาติกะต่อไป.
ในคำว่า สุขภูมิยํ (ที่เกิดแห่งสุขเวทนา) นี้ อธิบายว่า เขาเรียก
พื้นดินว่า ตัมพภูมิ (แผ่นดินสีแดง) กัณหภูมิ (แผ่นดินสีดำ) ฉันใด
สุขเวทนา ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น. ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอ้อยและข้าวสาลี
เขากล่าวว่า อุจฉุภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่งอ้อย) สาลิภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่ง
ข้าวสาลี) ฉันใด แม้จิตอันเป็นที่เกิดแห่งความสุข ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น
จิตนั้นทรงประสงค์เอาในคำว่า สุขภูมิ นี้ ก็เพราะสุขภูมินั้นมีอยู่ในกามาว-
จรบ้าง ในรูปาวจรเป็นต้นบ้าง ฉะนั้นเพื่อทรงแสดงประเภทแห่งสุขภูมินั้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า กามาวจร ดังนี้.
บทว่า สุขเวทนํ ฐเปตฺวา (เว้นสุขเวทนา) ได้แก่ เว้นสุขเวทนา
ในสุขภูมินั้น.
บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต ได้แก่ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่ตั้งอยู่แล้ว
นั้น. แม้สองบทที่เหลือก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ ในติกะนี้ ย่อม
ไม่ได้สภาวธรรมนี้ คือ เวทนา 3 รูปทั้งหมด และนิพพาน เพราะติกะนี้
ชื่อว่า พ้นแล้วจากส่วนทั้ง 3 เหล่านี้ ที่ไม่ได้ในกุศลติกะ ก็คำใดที่ควรจะกล่าว
โดยพระบาลีและอรรถกถาในติกะและทุกะอื่นจากนี้ คำทั้งหมดนั้นข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ในมาติกากถาโดยลำดับและนิทเทสแห่งกุศลเป็นต้นนั่นแล.

ว่าด้วยนิทเทสวิปากติกะที่ 3


ก็คำใดในที่มีความต่างกัน ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นนั่นแหละ ในติกทุกะ
นั้น พึงทราบวินิจฉัยในวิปากติกะก่อน. แม้ว่ารูปธรรมทั้งหลายที่มีกรรมเป็น
สมุฏฐานยังมีอยู่เหมือนอรูปธรรมแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปธรรมเหล่านั้น