เมนู

ธาตุตั้งขึ้นด้วยปัจจัยอันไม่สมกันเท่านั้น ชื่อว่า โรครูปอื่นจากนั้นหามีอยู่ไม่
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยประมวลมารวมกันแล้วก็มีรูปเพียง 26 เท่านั้น.

ว่าโดยสมุฏฐานของรูป


ข้อว่า สมุฏฐาน ความว่า รูปเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร ? รูป-
สิบ มีสมุฏฐาน 1 รูปหนึ่งมีสมุฏฐาน 2 รูปสามมีสมุฏฐาน 3
รูปเก้า
มีสมุฏฐาน 4 รูปสองไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย บรรดารูปเหล่านั้น
รูปสิบ ชื่อว่า มีสมุฏฐาน 1 คือ รูป 8 เหล่านี้ คือ จักขุประสาท ฯลฯ
ชีวิตินทรีย์ ตั้งขึ้นแต่กรรมอย่างเดียว รูป 2 คือ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ
ตั้งขึ้นแต่จิตอย่างเดียว รูปหนึ่งชื่อว่า มีสมุฏฐาน 2 คือ สัททรูปตั้งขึ้น
แต่อุตุและจิต. ในสัททรูปนั้น เสียงอันเกิดแต่สิ่งไม่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่อุตุ เสียง
อันเกิดแต่สิ่งที่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่จิต. ส่วนวิการรูป 3 มีลหุตาเป็นต้น ชื่อว่า
มีสมุฏฐาน 3 คือ ย่อมตั้งขึ้นแต่อุตุ จิต และอาหาร. รูป 9 ที่เหลือ
ย่อมตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน 4 คือ แต่อุตุ จิต อาหาร และกรรม ฉะนั้นจึงชื่อว่า
รูป 9 มีสมุฏฐาน 4.
ส่วนชรตารูปและอนิจจตารูป ย่อมไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน 4 เหล่า-
นั้น แม้สมุฏฐานเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูป 2 ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน
อะไรเลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะรูปทั้ง 2 นี้ ไม่เกิด.
ถามว่า เพราะเหตุไร รูปทั้ง 2 นี้ จึงไม่เกิด.
ตอบว่า เพราะรูปที่เกิดแล้วก็ต้องแก่และแตกดับ.

จริงอยู่ รูปหรืออรูปก็ตามเกิดขึ้นแล้วก็ต้องแตกดับ เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงยอมรับคำดังกล่าวนี้แน่นอน เพราะว่ารูปหรืออรูปเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า
ไม่สิ้นไป ปรากฏอยู่หามีไม่ แต่ตราบใด รูปยังไม่แตกดับ ความแก่หง่อมของ
รูปนั้นก็ยังปรากฏอยู่ตราบนั้น เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงสำเร็จว่า รูปเกิดขึ้นแล้ว
ต้องแก่และแตกดับไป. ก็ถ้าว่ารูปทั้ง 2 นี้ พึงเกิดไซร้ รูปทั้ง 2 แม้นี้ก็พึง
แก่และแตกดับไป และความแก่ของรูปก็ย่อมไม่แก่ หรือความแตกของรูปก็
ย่อมไม่แตกดับไป เพราะฉะนั้น รูปทั้ง 2 นี้จึงชื่อว่าไม่เกิด เพราะรูปเกิด
แล้ว ๆ ก็ต้องแก่และแตกดับ.
ในข้อนั้น หากมีผู้ท้วงขึ้นด้วยคำว่า อุปจยรูป สันตติรูป ในนิทเทส
ทั้งหลายว่า " รูปที่กรรมแต่งขึ้น" เป็นต้น ย่อมเป็นคำรับรองว่า " ชาติรูป
ย่อมเกิด" ดังนี้ ฉันใด รูปแม้แก่แล้วก็จงแก่ไปเถิด แม้รูปที่แตกก็จงแตก
ไปเถิด ฉันนั้น ดังนี้.
ในข้อนั้น ท่านมิได้ยอมรับว่า ชาติรูปย่อมเกิด แต่ธรรมเหล่าใดย่อม
เกิดขึ้นด้วยกรรมเป็นต้น ท่านยอมรับโวหารของความเกิดขึ้นของธรรมนั้นโดย
มีชาติเป็นปัจจัย โดยความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์
ชาติรูปย่อมไม่เกิด เพราะชาติรูปเมื่อเกิดก็เป็นเพียงการเกิดเท่านั้นย่อมเกิด.
ในข้อนั้น ถ้าพึงมีผู้ท้วงว่า ชาติรูปเป็นความเกิดของธรรมเหล่าใด
ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าความเกิดของธรรม
เหล่านั้นฉันใดนั่นแหละ อนึ่ง ความแก่และความแตกดับของธรรมเหล่าใด
มีอยู่ แม้ความแก่และความแตกดับจงได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ฉันใด แม้รูปทั้ง 2 นี้ ก็จะพึงกล่าวได้ว่า
มีกรรมเป็นต้น เป็นสมุฏฐานฉันนั้นนั่นแหละดังนี้.

ข้อนี้ตอบว่า ความแก่และความแตกดับ จะได้โวหารนั้นหามิได้
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความไม่มีในขณะแห่งอานุภาพของชนกปัจจัย
จริงอยู่ อานุภาพแห่งชนกปัจจัยทั้งหลายมีอยู่ในอุปาทขณะแห่งธรรม
อันตนพึงให้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่เกินจากนั้นไป และในขณะแห่งธรรมอันชนก-
ปัจจัยเหล่านั้น ให้เกิดขึ้น ชาติเมื่อปรากฏ ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรม
เหล่านั้น และโวหารว่าเป็นความเกิดของธรรมเหล่านั้น เพราะความมีอยู่
พร้อมในขณะนั้น รูป (อุปจยะ และสันตติ) ทั้ง 2 นอกนี้ หามีในขณะนั้น
ไม่ และจะพึงกล่าวว่า เกิดอยู่ในขณะนั้นก็ไม่ได้เลย.
หากจะท้วงต่อไปอีกว่า รูปแม้ทั้ง 2 นี้ก็ยังชื่อว่าเกิดอยู่ เพราะ
พระบาลีมีมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็น
สังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว) เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ ตอบว่า
ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะพระบาลีนั้นแสดงไว้โดยปริยาย จริงอยู่ ในพระบาลีนั้น
พระองค์ตรัสว่า ชราและมรณะนั้นว่า เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้ โดย
ปริยาย เพราะธรรมทั้งหลายที่อาศัยเหตุเกิดขึ้นเป็นชราและมรณะ.
หากจะมีคำท้วงอีกว่า รูปทั้ง 3 แม้นั้น ก็ย่อมไม่มีเหมือนเขากระต่าย
เพราะไม่เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นของเที่ยงเหมือนพระนิพพานแน่. ตอบว่า
ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะยังมีความเป็นไปเนื่องด้วยนิสสยปัจจัยอยู่ จริงอยู่ เมื่อ
นิสสยปัจจัยมีปฐวีเป็นต้น ธรรมชาติทั้ง 3 มีความเกิดเป็นต้น ก็ย่อมปรากฏ
ฉะนั้นจะว่าไม่มีอยู่ ก็ไม่ได้ อนึ่งเล่า เมื่อไม่มีนิสสยปัจจัยเหล่านั้น ก็จะไม่
ปรากฏ จะว่าเที่ยงก็ไม่ได้ เพื่อจะทรงปฏิเสธความยึดมั่นแม้นี้ จึงตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า
รูปทั้ง 2 (อุปจยรูป และสันตติรูป) ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไร ๆ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า สมุฏฐหนติ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างอื่น
ต่อไป มาติกานี้ของเนื้อความนั้นว่า กมฺมชํ (รูปเกิดแต่กรรม) กมฺมปจฺจยํ
(มีกรรมเป็นปัจจัย) กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่
กรรมเป็นปัจจัย).
อาหารสมุฏฐานํ (รูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน) อาหารปจฺจยํ
(มีอาหารเป็นปัจจัย) อาหารปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิด
แต่อาหารเป็นปัจจัย).
อุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุปจฺจยํ (มีอุตุเป็นปัจจัย)
อุตุปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).
จิตฺตสมุฏฺฐานํ (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) จิตฺตปจฺจยํ (มีจิตเป็น
ปัจจัย) จิตฺตปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย).
บรรดาสมุฏฐานแห่งรูปทั้ง 4 เหล่านั้น รูป 8 อย่าง มีจักขุประสาท
เป็นต้น รวมกับหทยวัตถุ ชื่อว่า กัมมชะ (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้
คือ ผม หนวด งาช้าง ขนหางม้า ขนหางจามรี ชื่อว่า กรรมปัจจัย
(เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้ว่า จักรรัตนะ อุทยานและวิมานของพวกเทวดา
ชื่อว่า กัมมปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็น
ปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐาน (มีอาหาร
เป็นสมุฏฐาน) กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่รูปสันตติแม้ทั้ง 2 คือ อาหาร
สมุฏฐาน และอุปาทินนรูป เป็นปัจจัยให้เกิดอาหารสมุฏฐาน และอนุบาล

กรรมชรูป เพราะฉะนั้น กรรมชรูปอันอาหารหล่อเลี้ยงไว้นี้ ชื่อว่า อาหาร
ปัจจัย
(มีอาหารเป็นปัจจัย) บุคคลเสพวิสภาคาหารเดินอยู่กลางแดดย่อมเกิด
โรคเกลื้อนดำเป็นต้น (ตกกระ) นี้ชื่อว่า อาหารปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมี
อุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐาน (มีอุตุเป็นสมุฏฐาน)
อุตุแม้ในสุทธัฏฐกะนั้น ก็ยังรูป 8 อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น นี้ ชื่อว่า อุตุปัจจัย
(มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุแม้ในรูป 8 อย่างอื่นนั้น ย่อมยังรูป 8 อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น
นี้ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานมีอุตุเป็นปัจจัย)
ด้วยประการฉะนี้ อุตุย่อมอาจเพื่อสืบสันตติรูป 3 เท่านั้น เลยจากนี้ไป อุตุ
ไม่อาจเพื่อสืบต่อ ข้อความนี้สมควรแสดง แม้โดยอนุปาทินนรูปเช่น พลาหโก
(เมฆ) ชื่อว่า มีอุตุสมุฏฐาน เพราะมีอุตุ สายฝนชื่อว่า มีอุตุเป็นปัจจัย
เมื่อฝนตกแล้ว พืชทั้งหลายย่อมงอกขึ้น แผ่นดินย่อมส่งกลิ่น ภูเขาย่อมปรากฏ
เป็นสีเขียว น้ำทะเลย่อมมากขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุ-
สมุฏฐาน
(รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).
สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่จิต ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน (รูปมีจิตเป็น
สมุฏฐาน) คำว่า " ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจัย
(รูปมีจิตเป็นปัจจัย). คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า " ย่อมแสดงรูปช้างบ้าง แสดงรูป
ม้าบ้าง แสดงรูปรถบ้าง แสดงรูปกระบวนทัพต่าง ๆ บ้างในอากาศ คือ
กลางหาว" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิด
แต่จิตเป็นปัจจัย).
ข้อว่า ปรินิปฺผนฺนํ ได้แก่ รูป (เกิดแต่กรรม) 15 รูป ชื่อว่า
ปรินิปผันนะ รูป (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) 10 รูป ชื่อว่า อปรินิปผันนะ

อธิบายว่า ถ้ารูปธรรมที่เป็นอปรินิปผันนะ (รูปที่ไม่เกิดแต่กรรม) รูปเหล่านั้น
ก็ชื่อว่า อสังขตรูป (รูปที่กรรมไม่แต่งขึ้น) แต่กายวิการของรูปเหล่านั้นนั่น-
แหละ ชื่อว่า กายวิญญัตติ. วจีวิการของรูปเหล่านั้นแหละชื่อว่า วจีวิญญัตติ
ช่องว่าง ชื่อว่า อากาศธาตุ ความเบาแห่งรูป ชื่อว่า ลหุตา ความอ่อน
แห่งรูป ชื่อว่า มุทุตา. ความควรแก่การงานของรูป ชื่อว่า กัมมัญญตา
ความเกิดขึ้นแห่งรูป ชื่อว่า อุปจยะ ความเป็นไปแห่งรูป ชื่อว่า สันตติ.
อาการคือความแก่ของรูป ชื่อว่า ชิรตา อาการที่รูปมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า
อนิจจตา. รูปทั้งหมดดังกล่าวมานี้เป็นอปรินิปผันนะ (ไม่ได้เกิดแต่กรรม)
เป็นสังขตะ (มีปัจจัยแต่งขึ้น) ทั้งนั้นแล.
พรรณนารูปกัณฑ์
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาธรรมสังคหะ
จบเท่านี้

นิกเขปกัณฑ์


ติกะ


[663] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็น
กุศล.
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกัน
กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อัน
สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น. กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้น
เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.
ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และ
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[664] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา
เว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิด
แห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.