เมนู

อุปาทินฺนํ (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น* คำว่า
อุปาทินฺนํ นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน จริงอยู่ รูปอัน
ตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่า เป็น
อุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว.
บทว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่สภาวะที่ไปในเตโชธาตุ
ทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่
ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า
อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคตํ (ธรรมชาติที่อุ่น)
ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมํ
(ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสฺมคตํ (ธรรมชาติที่อบอุ่น).
รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัด
ไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะ
ที่พัดไปมา. บทว่า ถมฺตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความเคร่ง
ตึงของรูป ดุจความเคร่งตึงอันเต็มด้วยลมมีก้านและเปลือกอุบลเป็นต้น.

อรรถกถาฉักกนิทเทส


พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทำปุจฉาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเลย เพราะไม่มี
ความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้าย (คือรูปที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) แห่งการ
สงเคราะห์รูป 3 หมวด ซึ่งมีการสงเคราะห์รูปมีหมวด 6 เป็นต้น แต่ทรงทำ
คำอธิบายไว้.
* ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด 6 เป็นต้นนั้น
รูปที่ชื่อว่า อันจักขุวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันจักขุวิญญาณอาจเพื่อ
จะรู้ ฯลฯ รูปที่ชื่อว่า อันมโนวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนวิญญาณ
อาจเพื่อจะรู้ได้. รูปที่ชื่อว่า อันมโนธาตุพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนธาตุ
3 อย่าง อาจเพื่อจะรู้ได้.
ในบทว่า สพฺพํ รูปํ (รูปทั้งหมด) นี้ เพราะแม้เพียงรูปเดียวที่
มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้มิได้มี ฉะนั้น จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้. จริงอยู่
นัยในฐานะที่ควรเพื่อทรงอธิบายถึงพระอภิธรรมแล้ว อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มิได้กระทำไว้ชื่อว่าย่อมไม่มี. และนัยนี้ก็ชื่อว่าฐานะที่ควรเพื่อแนะนำ เพราะ
ความไม่มี แม้แต่รูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง
ทำนัย (ข้อแนะนำ) ไว้ จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้.
บทว่า สุขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นสุข ข้อ 659) คือได้สุขเวทนา
เป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นทุกข์) คือ ได้ทุกขเวทนา
เป็นปัจจัย. แม้ในคำว่ามีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นนี้ พระองค์ทรงประทานนัยไว้นี้
เพราะความที่โผฏฐัพพารมณ์มีสภาวะเป็นทุกข์และเป็นสุข.
แต่ว่าในนิทเทสรูปหมวด 9 ไม่ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูป
ที่ไม่เป็นอินทรีย์มีอยู่ ในรูปหมวด 10 ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปนั้น
นั่นแหละเป็นสัปปฏิฆะ (กระทบได้) และอัปปฏิฆะ (กระทบไม่ได้) ใน
รูปหมวด 11 ทรงจำแนกอายตนะไว้ 10 กับอีกครึ่งหนึ่ง. บัณฑิตพึงทราบ
นิทเทสวารแห่งอายตนะเหล่านั้น ๆ โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง.
คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

ว่าด้วยปกิณณกกถา


ก็เพื่อความไม่หลงลืมในรูปเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบปกิณกะนี้ คือ
สโมธาน คือ การประมวลมา
สมุฏฐาน คือ เหตุให้เกิดขึ้น
ปรินิปผันนะ คือ รูป.
บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ข้อว่า สโมธาน ความว่า รูปทั้งหมดที่เดียว
ว่าโดยสโมธานคือการประมวลมา นับได้ 25 รูป คือ จักขายตนะ โสตายตนะ
ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ
อากาศธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ
รูปชรา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รวมกับ
รูปคือหทยวัตถุ พึงทราบว่ามี 26 ชื่อว่า รูปอื่นจากนี้มิได้มี. แต่อาจารย์
บางพวกผู้มีวาทะว่ามิทธะเป็นรูปจึงกล่าวว่า ชื่อว่า มิทธรูปมีอยู่ อาจารย์
เหล่านั้นพึงถูกสกวาทยาจารย์กล่าวว่า ท่านจะเป็นมุนีสัมพุทธะแน่นอน นิวรณ์
ของท่านไม่มีดังนี้เป็นต้น พึงปฏิเสธว่า รูปที่ชื่อว่า มิทธรูปไม่มี. อาจารย์อีก
พวกหนึ่งกล่าวว่า รูป 26 เหล่านั้นกับพลรูปก็เป็นรูป 27 รวมกับสัมภวรูป
ก็เป็นรูป 28 รวมกับชาติรูปก็เป็น 29 รวมกับโรครูป ก็เป็น 30 รูป แม้
อาจารย์นั้นก็พึงถูกให้แสดงความไม่มีแห่งรูปเหล่านั้นไว้แผนกหนึ่ง แล้วปฏิเสธ.
จริงอยู่ พระองค์ทรงถือเอาพลรูปนั่นแหละด้วยวาโยธาตุที่ทรงถือเอา
แล้วชื่อว่า พลรูปอื่นย่อมไม่มี. ทรงถือเอาสัมภวรูปด้วยอาโปธาตุ ทรงถือ
เอาชาติรูปด้วยอุปจยะและสันตติ ทรงถือโรครูปด้วยชรตารูปและอนิจจตารูป
ขึ้นชื่อว่าโรครูปอื่นย่อมไม่มี แม้อาพาธมีโรคหูเป็นต้นใด อาพาธนั้นก็เป็นเพียง