เมนู

อุปาทินฺนํ (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น* คำว่า
อุปาทินฺนํ นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน จริงอยู่ รูปอัน
ตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่า เป็น
อุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว.
บทว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่สภาวะที่ไปในเตโชธาตุ
ทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่
ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า
อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคตํ (ธรรมชาติที่อุ่น)
ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมํ
(ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสฺมคตํ (ธรรมชาติที่อบอุ่น).
รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัด
ไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะ
ที่พัดไปมา. บทว่า ถมฺตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความเคร่ง
ตึงของรูป ดุจความเคร่งตึงอันเต็มด้วยลมมีก้านและเปลือกอุบลเป็นต้น.

อรรถกถาฉักกนิทเทส


พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทำปุจฉาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเลย เพราะไม่มี
ความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้าย (คือรูปที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) แห่งการ
สงเคราะห์รูป 3 หมวด ซึ่งมีการสงเคราะห์รูปมีหมวด 6 เป็นต้น แต่ทรงทำ
คำอธิบายไว้.
* ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น