เมนู

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี


อรรถกถาจตุกนิทเทส


ในบทสุดท้ายแห่ง (ข้อ 655) การสงเคราะห์รูป 4 หมวด พระผู้มี
พระภาคเจ้ามิได้ทำคำถามไว้ตั้งแต่ต้น เพราะไม่มีความแตกต่างกันแห่งบท
สุดท้ายซึ่งมีคำว่า รูปที่เห็นได้เป็นต้น แต่ได้ตรัสคำมีอาทิว่า รูปที่เห็นได้
คือ รูปายตนะ รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ
ดังนี้.
ในบรรดารูปมีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้น รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฺฐํ
(รูปที่เห็นได้) เพราะอรรถว่า อันจักษุอาจมองดูเห็นได้. สัททายตนะ ชื่อว่า
สุตํ (รูปที่ฟังได้) เพราะอรรถว่า อันโสตอาจฟังเสียงรู้ได้. หมวดสามแห่ง
อายตนะมีคันธายตนะเป็นต้น ชื่อว่า มุตํ (รูปที่รู้ได้) ด้วยอรรถว่า อัน
ฆานะ ชิวหา และกาย พึงรู้โดยการรับอารมณ์ที่ถึงแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า รูปที่ชื่อ มุตํ เพราะเหตุที่ถูกต้องแล้วจึงเกิดวิญญาณดังนี้ก็มี. ส่วน
รูปทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า วิญฺญาตํ (รูปที่รู้แจ้ง) ทางใจ เพราะอรรถว่า
อันมโนวิญญาณพึงรู้.

อรรถกถาปัญจนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด 5 ต่อไป
บทว่า กกฺขฬํ (ธรรมชาติที่แข็ง) คือ กระด้าง. ความกระด้าง
นั่นแหละเรียกว่า ธรรมชาติที่กระด้าง อธิบายว่า ธรรมชาติที่หยาบ. ความแข็ง
ภาวะที่แข็งแม้ทั้ง 2 นอกนี้ก็เป็นการอธิบายสภาวะนั่นเอง.
บทว่า อชฺฌตฺตํ (เป็นภายใน) ได้แก่ เป็นภายในอันเกิดในตน.
บทว่า พหิทฺธา วา (หรือภายนอกก็ตามที) ได้แก่ เป็นภายนอก. บทว่า

อุปาทินฺนํ (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น* คำว่า
อุปาทินฺนํ นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน จริงอยู่ รูปอัน
ตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่า เป็น
อุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว.
บทว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่สภาวะที่ไปในเตโชธาตุ
ทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่
ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า
อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคตํ (ธรรมชาติที่อุ่น)
ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมํ
(ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสฺมคตํ (ธรรมชาติที่อบอุ่น).
รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัด
ไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะ
ที่พัดไปมา. บทว่า ถมฺตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความเคร่ง
ตึงของรูป ดุจความเคร่งตึงอันเต็มด้วยลมมีก้านและเปลือกอุบลเป็นต้น.

อรรถกถาฉักกนิทเทส


พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทำปุจฉาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเลย เพราะไม่มี
ความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้าย (คือรูปที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) แห่งการ
สงเคราะห์รูป 3 หมวด ซึ่งมีการสงเคราะห์รูปมีหมวด 6 เป็นต้น แต่ทรงทำ
คำอธิบายไว้.
* ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น