เมนู

ตอบว่า ในบทว่า น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น)
นี้ พระองค์ทรงรวมรูปที่มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยอื่นนอกจากกรรมก่อน แต่ใน
บทว่า กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมแต่งขึ้น) นี้ ทรงรวบรวมรูปที่มีสมุฏฐาน
เกิดแต่กรรมอย่างเดียว รูปทั้ง 2 คือชรตารูปและอนิจจตารูปเหล่านั้นมิได้เกิด
แต่กรรม มิได้เกิดแต่ปัจจัยอย่างอื่น ที่ยังรูปให้เกิด เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงมิทรงถือเอา. ก็ความไม่เกิดขึ้นแห่งชรตารูปและอนิจจตารูปด้วยกรรมปัจจัย
เป็นต้นนั้นจักแจ่มแจ้งข้างหน้า. อนึ่ง ในคำเป็นต้นว่า อนุปาทินฺนํ (รูป
ที่ไม่มีใจครอง) ทรงปฏิเสธความที่รูปมีสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นต้น ไม่ทรง
อนุญาตความที่รูปนั้นมีปัจจัยอื่นเป็นสมุฏฐาน ด้วยศัพท์ว่า อนุปาทินนะ
เป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า รูปทั้ง 2 พระองค์ทรงถือเอาแล้วดังนี้.

อรรถกถาจิตตสมุฏฐานนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตตสมุฏฐาน ต่อไป
รูปทั้ง 2 นี้คือ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า ย่อมปรากฏเพราะอาศัยภูตรูป มีจิตป็นสมุฏฐานอย่างเดียว แต่เมื่อว่าโดย
ปรมัตถ์แล้ว รูปทั้ง 2 ที่อาศัยภูตรูปนั้นไม่ใช่ภูตรูป แต่เป็นรูปที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานซึ่งมีภูตรูปนั่นแหละ. เพราะความที่รูปเหล่านั้นอาศัยจิตตั้งขึ้น แม้รูป
ทั้ง 2 นี้ ก็มีชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนชราและมรณะของรูปที่ไม่เที่ยงก็
ชื่อว่า ไม่เที่ยง.
แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตสหภู ก็นัยนี้เหมือนกัน รูปทั้ง 2 (กาย
วิญญัตติและวจีวิญญัตติ ที่เป็นสหภู) นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะ

รูปทั้ง 2 นั้นปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่. แต่รูปทั้ง 2 นี้มิได้เกิด
พร้อมกับจิต เหมือนภูตรูปและเหมือนสัมปยุตธรรมมีเจตนาเป็นต้น.
แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตานุปริวัติ ก็นัยนี้แหละ ก็รูปทั้ง 2 (กาย
วิญญัตติและวจีวิญญัตติ) นี้ ตรัสเรียกว่า จิตตานุปริวัติ เพราะรูปทั้ง 2 นี้
ปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่ ฉะนั้น.
บทว่า โอฬาริกํ (รูปหยาบ) ได้แก่ ที่ชื่อว่า หยาบ โดยเป็น
วัตถุที่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งการกระทบ เพราะเป็นทั้งวัตถุและอารมณ์
พึงทราบรูปละเอียดโดยสภาพตรงกันข้ามกับรูปหยาบที่กล่าวแล้ว.
บทว่า ทูเร (รูปไกล) ได้แก่ รูปแม้ตั้งอยู่ในที่ใกล้ ก็ชื่อว่า รูปไกล
โดยภาวะที่รู้ได้ยาก เพราะถือเอาไม่ได้ด้วยสามารถแห่งการกระทบ ส่วนรูป
นอกนี้แม้ตั้งอยู่ไกลก็ชื่อว่าอยู่ใกล้ โดยเป็นภาวะที่รู้ได้ง่าย เพราะพึงถือเอาได้
ด้วยสามารถแห่งการกระทบ.
นิทเทสแห่งจักขายตนะเป็นต้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้
ในหนหลังนั่นแหละ ในการสงเคราะห์รูปหมวด 2 มีข้อแตกต่างกันเพียงเท่านี้
การสงเคราะห์รูปหมวด 3 มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จตุกกนิเทศ


[634] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ
รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป
เป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.
รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?
สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัม-
มัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร
ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?
โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า
รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ.
[635] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ