เมนู

ย่อมเกิดขึ้น บุคคลย่อมทำธาตุทั้ง 3 ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่
มีมากอย่างนี้ กายวิญญาณ ชื่อว่า ย่อมเกิด ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก
นั่นแหละ.
ถามว่า ก็จิตเล่า ก้าวไปจากอารมณ์ได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก้าวไปด้วยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอัชฌาศัย (ความ
ปรารถนา) หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง.
จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น คนผู้ไปด้วยความ
ตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมานั้น ๆ เราจักดูโปตถกรรม
(การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้ ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่ง
แล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้ เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้าง
เพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้ จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือ
ความปรารถนา. แต่เมื่อยืนแลดูพระมหาเจดีย์ อันมีส่วนเปรียบด้วยยอดเขา
ไกรลาส ครั้นเวลาต่อมา เมื่อบรรเลงดนตรีทั้งปวงขึ้น จึงละรูปารมณ์ ก้าวขึ้นสู่
สัททารมณ์ ครั้นเมื่อบุคคลนำดอกไม้มีกลิ่นที่ชอบใจ หรือของหอมมา ก็ละ
สัททารมณ์ ก้าวขึ้นสู่คันธารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่า ก้าวไปโดยอารมณ์มีกำลังแรง.

อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอาโปธาตุ ต่อไป
บทว่า อาโป (ความเอิบอาบ) เป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละ
เรียกว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ) สิเนโห (ความเหนียว) ด้วย
อำนาจแห่งความเหนียวนั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว).

บทว่า พนฺธนตฺตํ รูปสฺส (ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป) ได้แก่
ธรรมชาติเป็นเครื่องประกอบภูตรูปมีปฐวีเป็นต้น. จริงอยู่ อาโปธาตุควบ
คุมวัตถุทั้งหลายมีแท่งเหล็กเป็นต้น ไว้แล้วย่อมทำให้ติดกัน ธรรมชาติทั้งหลาย
มีก้อนเหล็กเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ติดกันอยู่ เพราะความที่อาโปธาตุนั้น
เป็นเครื่องเกาะกุมไว้ แม้ในแผ่นหิน ภูเขา ต้นตาล หนอไม้ งาช้าง และเขาโค
เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็อาโปธาตุเท่านั้นเกาะกุมวัตถุเหล่านั้นทั้งหมด
กระทำให้ติดกัน ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า เป็นธรรมชาติติดกัน ก็เพราะถูก
อาโปธาตุควบคุมไว้.
ถามว่า ก็ปฐมวีธาตุถูกต้องธาตุที่เหลือ (มีอาโปเป็นต้น ) แล้วก็เป็น
ที่ตั้งอาศัย หรือไม่ถูกต้องก็เป็นที่อาศัย อีกนัยหนึ่ง อาโปธาตุเมื่อเกาะกุมธาตุ
ทั้ง 3 ที่เหลือ ถูกต้องแล้วย่อมเกาะกุม หรือว่าไม่ถูกต้องแล้วก็เกาะกุมได้.
ตอบว่า เบื้องต้น ปฐวีธาตุไม่ถูกต้องกับอาโปธาตุ ก็เป็นที่อาศัยให้ได้
แต่สำหรับ เตโชธาตุ และวาโยธาตุแล้ว ปฐวีธาตุต้องถูกต้องจึงเป็นที่อาศัย
ให้ได้ ส่วนอาโปธาตุไม่ถูกต้องแม้ปฐวีธาตุ แม้เตโชธาตุและวาโยธาตุเลยก็ย่อม
เกาะกุมได้ ถ้าว่าอาโปธาตุถูกต้องแล้วพึงเกาะกุมไซร้ อาโปธาตุนั้นก็พึงชื่อว่า
โผฏฐัพพายตนะ.
แม้ในการที่เตโชธาตุและวาโยธาตุทำกิจของตน ๆ ในธาตุที่เหลือ ก็
นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ เตโชธาตุ ถูกต้องปฐวีธาตุแล้ว ก็ยังปฐวีให้ใหม้
ส่วนปฐวีธาตุนั้นมิใช่เป็นของร้อนย่อมถูกไหม้ ถ้าว่า ปฐวีธาตุพึงเป็นของร้อน
แผดเผาไซร้ ปฐวีธาตุก็พึงมีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นมิได้ถูก
ต้องอาโปธาตุเลยก็ทำให้อาโปธาตุนั้นร้อนได้ แม้อาโปธาตุนั้น เมื่อร้อนอยู่ก็หา

เป็นสภาวะร้อนเผาไม่ ถ้าว่าอาโปธาตุนั้นเป็นตัวสภาวะความร้อนพึงเผาไซร้
อาโปธาตุนั้น ก็พึงชื่อว่ามีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นถูกต้อง
วาโยธาตุนั้นแหละจึงแผดเผา แม้วาโยธาตุนั้น เมื่อถูกแผดเผาอยู่ก็มิใช่เป็นตัว
ความร้อนแผดเผา ถ้าวาโยธาตุเป็นตัวสภาวะความร้อนแผดเผาอยู่ไซร้ วาโย-
ธาตุนั้นก็พึงชื่อว่า มีความร้อนเป็นลักษณะ.
วาโยธาตุถูกต้องปฐวีธาตุแล้วย่อมเคร่งตึง (คือขยายตัวออก) ถูกต้อง
เตโชธาตุก็ทำให้เคร่งตึงเหมือนกัน แต่ว่าวาโยธาตุนั้นแม้ไม่ถูกต้องอาโปธาตุ
เลย ก็ย่อมทำให้อาโปธาตุเคร่งตึงได้.
ถามว่า เมื่อบุคคลเคี่ยวน้ำอ้อยทำเป็นงบ อาโปธาตุจะเป็นของแข็ง
หรือไม่.
ตอบว่า ไม่เป็น เพราะอาโปธาตุนั้นมีการไหลออก (หรือไหลซึม) เป็น
ลักษณะ ปฐวีธาตุมีความแข็งเป็นลักษณะ แต่ว่าอาโปธาตุมีปริมาณต่ำ (น้อย)
ก็จะเป็นไปตามปฐวีธาตุที่มากยิ่ง จริงอยู่ อาโปธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ตั้งอยู่โดย
อาการเป็นรส (น้ำ) ได้ แต่ไม่ละลักษณะ แม้เมื่อละลายงบน้ำอ้อยอยู่ ปฐวีธาตุ
ย่อมไม่ละลาย เพราะปฐวีมีความแข็งเป็นลักษณะ อาโปธาตุมีการไหลออก
เป็นลักษณะ.
แต่ว่า ปฐวีธาตุมีปริมาณต่ำก็จะเกิดเป็นไปตามอาโปธาตุที่มีปริมาณ
มาก. ปฐวีธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ทั้งอยู่โดยอาการเป็นก้อนได้ แต่ไม่ละลักษณะ
ตน เพราะว่ามหาภูตรูปทั้ง 4 ย่อมถึงความแปรปรวนเป็นไปเท่านั้น ขึ้นชื่อว่า
ความแปรปรวนของลักษณะมิได้มี ความไม่มีแห่งความแปรปรวนโดยลักษณะ
นั้นทรงแสดงไว้โดยอัฏฐานปริกัปปสูตร.
ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ ก็มหาภูตรูป 4 คือ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ จะพึงแปรเป็นอื่นไปได้ แต่พระอริย-

สาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจะแปรเป็นอื่น
ไป ข้อนี้ไม่พึงมีได้เลย" ดังนี้ ก็ในอัฏฐานปริกัปปสูตรนี้มีอธิบายดังนี้ว่า
" ดูก่อนอานนท์ ปฐวีธาตุอันมีความแข็งเป็นลักษณะจะพึงเปลี่ยนไปเป็น
อาโปธาตุซึ่งมีความไหลออกเป็นลักษณะได้ แต่พระอริยสาวกชื่อว่าเปลี่ยนเป็น
อย่างอื่นมิได้มี ดังนี้ การกำหนดอฐานะ (เหตุอันเป็นไปไม่ได้) มาแล้วใน
พระบาลีนี้ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาอุปาทินนาทินิทเทส


เบื้องหน้าแต่นี้พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้นต่อไป
เนื้อความแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในมาติกานั่นแหละ
เนื้อความจักขายตนะเป็นต้น ข้าพเจ้าก็ให้พิสดารแล้วในหนหลังเหมือนกัน
แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเฉพาะเนื้อความที่ต่างกันในที่นั้น ๆ เท่านั้น.
ในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปก่อน รูปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่าจักขายตนะเป็นต้น เพราะเป็นรูปมีใจครองอย่างเดียว แต่เพราะ
รูปายตนะเป็นต้นมีใจครองก็มี ไม่มีใจครองก็มี ฉะนั้น รูปายตนะเป็นต้น
เหล่านั้นพระองค์จึงแสดงโดยสังเขปว่า ยํ ยํ วา ปน (หรือว่ารูปแม้อื่นใดๆ)
แล้วพึงให้พิสดารโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมสฺสกตตฺตา รูปายตนํ (รูปายตนะ
ที่กรรมแต่งขึ้น) ดังนี้อีก เนื้อความในเยวาปนกธรรมทั้งหมดพึงทราบโดย
อุบายนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในนิทเทสแม้ทั้ง 2 คือ กมฺมสฺส กตตฺตา
(รูปที่กรรมแต่งขึ้น) และ น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น)
พระองค์มิได้ทรงถือเอาชรตารูป และอนิจจตารูปเล่า ? ทรงถือเอาเฉพาะใน
นิทเทสทั้งหลายแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นเท่านั้น.