เมนู

ย่อมเกิดขึ้น บุคคลย่อมทำธาตุทั้ง 3 ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่
มีมากอย่างนี้ กายวิญญาณ ชื่อว่า ย่อมเกิด ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก
นั่นแหละ.
ถามว่า ก็จิตเล่า ก้าวไปจากอารมณ์ได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก้าวไปด้วยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอัชฌาศัย (ความ
ปรารถนา) หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง.
จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น คนผู้ไปด้วยความ
ตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมานั้น ๆ เราจักดูโปตถกรรม
(การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้ ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่ง
แล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้ เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้าง
เพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้ จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือ
ความปรารถนา. แต่เมื่อยืนแลดูพระมหาเจดีย์ อันมีส่วนเปรียบด้วยยอดเขา
ไกรลาส ครั้นเวลาต่อมา เมื่อบรรเลงดนตรีทั้งปวงขึ้น จึงละรูปารมณ์ ก้าวขึ้นสู่
สัททารมณ์ ครั้นเมื่อบุคคลนำดอกไม้มีกลิ่นที่ชอบใจ หรือของหอมมา ก็ละ
สัททารมณ์ ก้าวขึ้นสู่คันธารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่า ก้าวไปโดยอารมณ์มีกำลังแรง.

อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอาโปธาตุ ต่อไป
บทว่า อาโป (ความเอิบอาบ) เป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละ
เรียกว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ) สิเนโห (ความเหนียว) ด้วย
อำนาจแห่งความเหนียวนั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว).