เมนู

อรรถกถารูปกัณฑ์


อรรถกถาโนอุปาทานิสเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง โน อุปาทา ต่อไป
รูปที่ชื่อว่า โน อุปาทา เพราะอรรถว่า โนอุปาทารูปนี้ย่อมไม่
อาศัย เหมือนอุปาทารูปย่อมอาศัยมหาภูตรูปเท่านั้นไม่อาศัยรูปอื่น. ที่ชื่อว่า
โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายพึงถูกต้อง. อธิบายว่า ถูกต้องแล้วจึงรู้.
รูปนั้นเป็นโผฏฐัพพะด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพา-
ยตนะ ก็รูปนั้นเป็นอาโปด้วย เป็นธาตุด้วย ด้วยอรรถว่ามิใช่สัตว์และเป็นสภาวะ
ที่ว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาโปธาตุ.

อรรถกถาโผฏฐัพพายตนนิทเทส


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกรูปทั้ง 3 ที่กายถูกต้องแล้วพึงรู้ได้
เหล่านั้น จึงตรัสว่า รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะนั้น เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุ เป็นต้น.
บรรดาธาตุเหล่านั้น ปฐวีธาตุ กกฺขฬตฺตลกฺขณา มีความแข่นแข็ง
เป็นลักษณะ ปติฏฺฐานรสา มีการตั้งมั่นเป็นรส มฺปฏิจฺฉนฺนปจฺจุปฏฺฐานา
มีการรองรับเป็นปัจจุปัฏฐาน. เตโชธาตุ อุณฺหตฺตลกฺขณา มีความร้อนเป็น
ลักษณะ ปริปาจนรสา มีการทำให้สุก (การย่อย) เป็นรส มทฺทวานุปฺปาทน-
ปจฺจุปฏฺฐานา
มีการทำให้อ่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วาโยธาตุ วิตฺถมฺภนลกฺขณา
มีการเคร่งตึงเป็นลักษณะ สมุทีรณรสา มีการไหวเป็นรส อภินีหารปจฺจุ-
ปฏฺฐานา
มีการน้อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน. ส่วนอาโปธาตุ ข้างต้น ปคฺฆ-
รณลกฺขณา
มีการไหลไปเป็นลักษณะ* อุปพฺรูหณรสา มีความพอกพูน
* อาโปธาตุ บางแห่งแสดงถึงการเกาะกุมสหชาตรูปเป็นลักษณะด้วย

เป็นรส สงฺคหปจฺจุปฏฺฐานา มีการควบคุมไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน ก็ในธาตุ
ทั้ง 4 เหล่านั้น แต่ละธาตุพึงทราบว่ามีธาตุทั้ง 3 ที่เหลือเป็นปทัฏฐาน (เส-
สตฺยปทฏฺฐานา).

บทว่า กกฺขฬํ แปลว่า แข็ง. บทว่า มุทุกํ (อ่อน) คือไม่แข็ง.
บทว่า สณฺหํ (ละเอียด) คือเกลี้ยง. บทว่า ผรุสํ (หยาบ) คือ ขรุขระ.
บทว่า สุขสมฺผสฺสํ (มีสัมผัสสบาย) ได้แก่ มีสุขเวทนาเป็นปัจจัย คือ มี
โผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺสํ (มีสัมผัสไม่สบาย) ได้แก่
มีทุกขเวทนาเป็นปัจจัย คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ครุกํ (หนัก)
คือเต็มไปด้วยภาระ. บทว่า ลหุกํ (เบา) คือเบาพร้อมไม่มีภาระหนัก.
ก็ในบรรดาธาตุเหล่านี้ ปฐวีธาตุเท่านั้นทรงจำแนกด้วยบทว่า แข็ง
อ่อน ละเอียด หยาบ หนัก เบา.
แม้ในพระสูตรว่า เมื่อใด กายนี้ยังประกอบ
ด้วยอายุ ยังประกอบด้วยไออุ่น ยังประกอบด้วยวิญญาณ เมื่อนั้น กายนี้ก็
เบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า ตรัสหมายถึงปฐวีธาตุที่เบาและอ่อน
เท่านั้น.
แต่ด้วยสองบทว่า มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย ตรัสจำแนก
มหาภูตรูป 3 เพราะปฐวีธาตุมีสัมผัสสบายบ้าง มีสัมผัสเป็นทุกข์บ้าง เตโชธาตุ
และวาโยธาตุก็ตรัสเหมือนปฐวีธาตุ. บรรดาธาตุ 3 เหล่านั้น ปฐวีธาตุ มี
สัมผัสสบาย คือว่า เมื่อเด็กหนุ่มผู้มีฝามืออ่อนบีบนวดเท้าอยู่ บุคคลนั้นย่อม
สบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า นวดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. เตโชธาตุ มี
สัมผัสสบาย เมื่อฤดูหนาว เมื่อนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้อบอุ่นร่างกาย
เขาก็สบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า อบเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. วาโยธาตุ
มีสัมผัสสบาย เมื่อฤดูร้อน ภิกษุหนุ่มถึงพร้อมด้วยวัตรพัดวีอยู่ ย่อมให้สบายใจ
ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า พัดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้.

แต่เมื่อเด็กหนุ่มมีมือแข็ง นวดเท้าทั้งสองอยู่ ย่อมเป็นเหมือนเวลาที่
กระดูกทั้งหลายจะแตกไป แม้เขาก็จะต้องถูกกล่าวสิ่งที่ควรจะพูดว่า เจ้าจงออก
ไปดังนี้ เมื่อฤดูร้อนมีคนนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้ ก็จะถูกกล่าวว่า เจ้า
จงนำมันออกไปเสีย ดังนี้ เมื่อฤดูหนาวมีคนนำเอาพัดมาพัดโบกอยู่ ก็จะถูก
กล่าวว่า จงออกไปอย่ามาพัด ดังนี้. พึงทราบความที่ธาตุทั้ง 3 เหล่านั้นมี
สัมผัสสบาย และไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้.
ก็วาระ 13 ประดับด้วยนัยอย่างละ 4 นัยตามที่ตรัสไว้ โดยนัยว่า
โผฏฐัพพะใด เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ในรูปายตนะเป็นต้นในหนหลังนั่นแหละ
ถามว่า ก็มหาภูตรูป 3 เหล่านั้น มาสู่คลองพร้อมกันหรือไม่
ตอบว่า มาพร้อมกัน
ถามว่า มหาภูตรูป 3 มาแล้วอย่างนี้ กระทบกายประสาทหรือไม่
ตอบว่า ย่อมกระทบ
ถามว่า กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป 3 เหล่านี้ ให้เป็นอารมณ์พร้อม
กันเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น
ตอบว่า กายวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะการที่กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป 3 ให้เป็นอารมณ์
ย่อมมีด้วยอำนาจการคำนึงถึง หรือด้วยสามารถธาตุที่มีมาก
ในบรรดาทั้ง 2 ข้อนั้น ว่าด้วยการคำนึงถึงก่อน จริงอยู่ เมื่อคน
เอาข้าวสุกบรรจุบาตรจนเต็มนำมาแล้วก็หยิบเมล็ดข้าวเมล็ดหนึ่งมาทดลองดูว่า
แข็งหรืออ่อน ในข้าวเมล็ดหนึ่งนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ มีทั้งวาโยธาตุ

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นเขาก็ย่อมคำนึงถึงปฐวีธาตุเท่านั้น เมื่อหย่อนมือลงใน
น้ำร้อนทดลองดู ในน้ำร้อนนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งวาโยธาตุ
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ย่อมคำนึงถึงเตโชธาตุเท่านั้น. ในฤดูร้อน เขา
เปิดหน้าต่างให้ลมโชยสรีระยืนอยู่ เมื่อลมอ่อน ๆ โชยมาอยู่ ในลมอ่อน ๆ
ที่โชยมานั้น
ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
เขาก็คำนึงถึงวาโยธาตุเท่านั้น กายวิญญาณธาตุชื่อว่าย่อมกระทำมหาภูตรูป 3
ให้เป็นอารมณ์ด้วยสามารถแห่งการคำนึงถึง ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนบุคคลใดพลาดล้มลงก็ดี เอาศีรษะชนกับต้นไม้ก็ดี กำลังบริโภค
อาหารกัดก้อนกรวดก็ดี ในการพลาดล้มลงเป็นต้นนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ ย่อม
มีทั้งวาโยธาตุ แต่บุคคลนั้นย่อมกระทำเฉพาะปฐวีธาตุเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
ด้วยอำนาจธาตุที่มีมาก เมื่อเหยียบไฟก็ดี ในไฟนั้น ก็ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ
ย่อมมีทั้งวาโยธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ทำเฉพาะเตโชธาตุเท่านั้นให้
เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก เมื่อลมแรงพัดแก้วหูราวกะทำให้
หูหนวก ในลมแรงนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น เขาก็กระทำเฉพาะธาตุลมเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง
ธาตุที่มีมาก
บุคคลกระทำอยู่ซึ่งธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์ แม้กายวิญญาณ
ก็ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อบุคคลถูกเข็มทั้งกลุ่มแทงแล้ว กายถูกเข็มทั้งนั้น
กระทบพร้อมกัน แต่ในที่ใด ๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้น ๆ กายวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้น แม้ในที่ใด ๆ มีการกระทบเสียดสีแรง ในที่นั้น ๆ กายวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้นก่อน. เมื่อเอาขนไก่มาชะแผล เส้นขนไก่แต่ละเส้นย่อมกระทบ
กายประสาท ก็ในที่ใด ๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ กายวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้น บุคคลย่อมทำธาตุทั้ง 3 ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่
มีมากอย่างนี้ กายวิญญาณ ชื่อว่า ย่อมเกิด ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก
นั่นแหละ.
ถามว่า ก็จิตเล่า ก้าวไปจากอารมณ์ได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก้าวไปด้วยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอัชฌาศัย (ความ
ปรารถนา) หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง.
จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น คนผู้ไปด้วยความ
ตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมานั้น ๆ เราจักดูโปตถกรรม
(การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้ ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่ง
แล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้ เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้าง
เพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้ จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือ
ความปรารถนา. แต่เมื่อยืนแลดูพระมหาเจดีย์ อันมีส่วนเปรียบด้วยยอดเขา
ไกรลาส ครั้นเวลาต่อมา เมื่อบรรเลงดนตรีทั้งปวงขึ้น จึงละรูปารมณ์ ก้าวขึ้นสู่
สัททารมณ์ ครั้นเมื่อบุคคลนำดอกไม้มีกลิ่นที่ชอบใจ หรือของหอมมา ก็ละ
สัททารมณ์ ก้าวขึ้นสู่คันธารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่า ก้าวไปโดยอารมณ์มีกำลังแรง.

อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอาโปธาตุ ต่อไป
บทว่า อาโป (ความเอิบอาบ) เป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละ
เรียกว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ) สิเนโห (ความเหนียว) ด้วย
อำนาจแห่งความเหนียวนั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว).