เมนู

อรรถกถารูปกัณฑ์


อรรถกถาโนอุปาทานิสเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง โน อุปาทา ต่อไป
รูปที่ชื่อว่า โน อุปาทา เพราะอรรถว่า โนอุปาทารูปนี้ย่อมไม่
อาศัย เหมือนอุปาทารูปย่อมอาศัยมหาภูตรูปเท่านั้นไม่อาศัยรูปอื่น. ที่ชื่อว่า
โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายพึงถูกต้อง. อธิบายว่า ถูกต้องแล้วจึงรู้.
รูปนั้นเป็นโผฏฐัพพะด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพา-
ยตนะ ก็รูปนั้นเป็นอาโปด้วย เป็นธาตุด้วย ด้วยอรรถว่ามิใช่สัตว์และเป็นสภาวะ
ที่ว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาโปธาตุ.

อรรถกถาโผฏฐัพพายตนนิทเทส


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกรูปทั้ง 3 ที่กายถูกต้องแล้วพึงรู้ได้
เหล่านั้น จึงตรัสว่า รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะนั้น เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุ เป็นต้น.
บรรดาธาตุเหล่านั้น ปฐวีธาตุ กกฺขฬตฺตลกฺขณา มีความแข่นแข็ง
เป็นลักษณะ ปติฏฺฐานรสา มีการตั้งมั่นเป็นรส มฺปฏิจฺฉนฺนปจฺจุปฏฺฐานา
มีการรองรับเป็นปัจจุปัฏฐาน. เตโชธาตุ อุณฺหตฺตลกฺขณา มีความร้อนเป็น
ลักษณะ ปริปาจนรสา มีการทำให้สุก (การย่อย) เป็นรส มทฺทวานุปฺปาทน-
ปจฺจุปฏฺฐานา
มีการทำให้อ่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วาโยธาตุ วิตฺถมฺภนลกฺขณา
มีการเคร่งตึงเป็นลักษณะ สมุทีรณรสา มีการไหวเป็นรส อภินีหารปจฺจุ-
ปฏฺฐานา
มีการน้อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน. ส่วนอาโปธาตุ ข้างต้น ปคฺฆ-
รณลกฺขณา
มีการไหลไปเป็นลักษณะ* อุปพฺรูหณรสา มีความพอกพูน
* อาโปธาตุ บางแห่งแสดงถึงการเกาะกุมสหชาตรูปเป็นลักษณะด้วย