เมนู

อรรถกถากพฬิงการาหารนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกพฬิงการาหาร ต่อไป
อาหารที่ชื่อว่า กพฬิงการ เพราะถูกการทำให้เป็นก้อน (เป็นคำข้าว)
ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่าย่อมถูกกลืนกิน. อธิบายว่า บุคคลทำคำข้าวแล้ว
ย่อมกลืนกิน. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมนำมาซึ่ง
รูป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยกชื่อขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งวัตถุอย่าง
นี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงอาหารนั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งวัตถุอีก จึงตรัส
คำมีอาทิว่า โอทโน กุมฺมาโส (ข้าวสุก ขนมสด) ดังนี้ จริงอยู่ อาหาร
12 อย่าง มีข้าวสุกเป็นต้น มีน้ำอ้อยเป็นที่สุด เป็นวัตถุแห่งอาหารที่ทรง
ประสงค์เอาในที่นี้. อาหารมีรากไม้และผลไม้เป็นต้นที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระบาลี
ก็รวมเข้าในเยวาปนกธรรม.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาหารเหล่านั้นมีรากไม้ผลไม้เป็นต้นโดยควรแก่
สัตว์ทั้งหลายพึงกระทำ จึงตรัสคำว่า ยมฺหิ ยมฺหิ ชนปเท (ในชนบทใด ๆ)
เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น อาหารที่ชื่อว่า มุขาสิยํ (อันเป็นของใส่ปาก) เพราะ
อรรถว่า พึงกลืนกิน คือ พึงบริโภคทางปาก. ที่ชื่อว่า ทนฺตวิขาทนํ (ของ
ขบเคี้ยว) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงขบเคี้ยวด้วยฟัน. ที่ชื่อว่า คลชฺโฌ-
หรณียํ
(ของกลืนกิน) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงกลืนกินทางลำคอ.
บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงอาหารนั้นด้วยสามารถแห่งกิจ จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า กุจฺฉิวิตฺถมฺภนํ (เป็นของอิ่มท้อง). จริงอยู่ อาหารนั้นมีราก
ไม้และผลไม้เป็นต้น หรือมีข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น อันสัตว์กลืนกินแล้ว
ย่อมอิ่มท้อง นี้เป็นกิจของอาหารนั้น.

บทว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ (สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตด้วย
โอชาใด) มีคำอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาหารอันเป็นวัตถุ
ด้วยบททั้งปวงในหนหลังแล้ว บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงโอชาเท่านั้นอัน
สำเร็จแล้ว (อันเกิดขึ้นแล้ว) จึงตรัสคำว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ
นี้ไว้.
ถามว่า ก็บรรดาอาหารที่เป็นวัตถุและโอชาเหล่านี้ กิจของวัตถุเป็น
อย่างไร กิจของโอชาเป็นอย่างไร ? ตอบว่า วัตถุและโอชาเหล่านั้น มีการ
บำบัดอันตราย และการรักษาร่างกายเป็นกิจ จริงอยู่ อาหารที่เป็นวัตถุย่อม
นำอันตรายออกแต่ไม่อาจเพื่อรักษาร่างกาย อาหารที่เป็นโอชาย่อมรักษาร่าง
กาย แต่ไม่อาจเพื่อนำอันตรายออกไป. อาหารแม้ทั้ง 2 รวมกันแล้วย่อมอาจ
แม้เพื่อรักษา ย่อมอาจแม้เพื่อนำอันตรายออกไป.
ถามว่า ก็อะไรเล่า ชื่อว่า เป็นอันตราย.
ตอบว่า เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม.
จริงอยู่ เมื่อวัตถุมีข้าวสุกเป็นต้นไม่มีภายในท้อง เตโชธาตุอันเกิดแต่
กรรมตั้งขึ้นจับเยื่อกระเพาะอาหาร ย่อมยังบุคคลให้พูดว่า ข้าพเจ้าหิวแล้ว จง
ให้อาหารเถิด ในเวลาที่กินอาหารแล้ว เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมนั้นก็ละเยื่อ
กระเพาะอาหารไปจับวัตถุ (ที่เป็นอาหาร). ทีนั้นสัตว์ก็มีจิตสงบ.
เหมือนอย่างว่า ฉายารากษส (รากษสผู้จับสัตว์เข้าไปสู่เงา) จับ
สัตว์ผู้เข้าไปสู่เงา เอาตรวนทิพย์ล่ามไว้ เบิกบานใจอยู่ในที่อยู่ของตน ในเวลา
หิวก็มากัดกินที่ศีรษะ สัตว์นั้นย่อมร้องเพราะถูกกัดกินนั้น พวกมนุษย์ฟังเสียง
ร้องนั้นก็พากันมาจากที่นั้น ๆ ด้วยสำคัญว่า ในที่นี้มีสัตว์ผู้ได้รับทุกข์ ฉายา-
รากษสนั้นก็จับมนุษย์ที่มาแล้ว ๆ เคี้ยวกินแล้วสบายใจในที่อยู่ของตนฉันใด
คำอุปไมยเป็นเครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

ก็เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรม เปรียบเหมือนฉายารากษส. เยื่อกระเพาะ-
อาหารเปรียบเหมือนสัตว์ที่ถูกฉายารากษสเอาตรวนทิพย์ล่ามไว้, วัตถุมีข้าว
สุกเป็นต้น เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้มาอีก, ความที่เตโชธาตุเกิดแต่กรรม
ละวัตถุไปแล้วถือเอาเยื่อกระเพาะอาหารเปรียบเหมือนฉายารากษสลงมากัดที่
ศีรษะ, เวลาที่บอกว่า ขอท่านจงให้อาหาร เปรียบเหมือนเวลาที่ร้องของสัตว์
ซึ่งถูกกัดศีรษะ, เมื่อเตโชธาตุเกิดแต่กรรมละเยื่อกระเพาะอาหารไปจับเอาวัตถุ
สัตว์ทั้งหลายก็มีจิตสงบ เปรียบเหมือนเวลาที่ฉายารากษสจับพวกมนุษย์ที่มา
แล้ว ๆ ด้วยสัญญานั้นเคี้ยวกินสบายใจในที่อยู่ของตน.

ว่าด้วยอาหารหยาบและละเอียด


บรรดาอาหารเหล่านั้น ในวัตถุหยาบมีโอชาน้อย ในวัตถุละเอียดมี
โอชาแรง จริงอยู่ คนกินอาหารมีหญ้ากับแก้* เป็นต้นครู่เดียวเท่านั้นก็หิว
คนดื่มเนยใสเป็นต้น แม้ดำรงอยู่ตลอดวันก็ไม่อยากข้าว อนึ่ง ในข้อนี้ พึง
ทราบความหยาบและละเอียดโดยการอาศัยเทียบเคียงกัน.
จริงอยู่ เมื่อเทียบเคียงอาหารของพวกจระเข้แล้ว อาหารของพวกนก
ยูงก็ละเอียด. ได้ยินว่า พวกจระเข้กลืนหินเข้าไป และหินเหล่านี้ถึงท้องของ
พวกมัน แล้วย่อมย่อยไป พวกนกยูงย่อมกินสัตว์มีงูและแมลงป่องเป็นต้น แต่
เทียบอาหารของพวกนกยูงแล้ว อาหารของหมาป่าก็ละเอียดกว่า ได้ยินว่า พวก
หมาป่าเหล่านั้นกินเขาและกระดูกสัตว์ที่ทิ้งไว้ถึง 3 ปีได้ ก็เขาและกระดูกสัตว์
เหล่านั้นพอเปียกน้ำลายของหมาป่าเหล่านั้นก็อ่อนเหมือนเหง้ามัน เทียบอาหาร
แม้ของหมาป่าเหล่านั้นแล้ว อาหารของพวกช้างก็ละเอียดกว่า เพราะพวกช้าง
เหล่านั้นย่อมกินกิ่งไม้ต่างๆ อาหารของพวกโคป่ากวาง และเนื้อเป็นต้นละเอียด
*หญ้ากับแก้ เป็นภาษาท้องถิ่นมณฑลพายับ