เมนู

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะวของชรตารูป พึงทราบว่า
รูปปริปากลกฺขณา รูปสฺส ชรตา ชรตารูป มีความหง่อมแห่ง
รูปเป็นลักษณะ อุปนยรสา มีการน้อมเข้าไปใกล้ความตายเป็นรส สภา-
วานปคเมปิ นวภาวาปคทปจฺจุปฏฺฐานา
มีความปราศจากของใหม่แม้ยัง
ไม่ปราศจากภาวะของตนเป็นปัจจุปัฏฐาน วีหิปุราณภาโว วิย ปริปจฺจ-
มานรูปปทฏฺฐานา
มีรูปที่หง่อมอยู่ดุจข้าวเหนียวเก่าเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาอนิจจตานิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอนิจจตารูปต่อไป.
รูปที่ชื่อว่า ขโย (ความสิ้นไป) ด้วยอำนาจแห่งการถึงความสิ้นไป
ที่ชื่อว่า วโย (ความเสื่อมไป) ด้วยอำนาจแห่งการเข้าถึงความเสื่อม ที่ชื่อว่า
เภโท (ความแตกไป) ด้วยอำนาจแห่งความแตก.
อีกอย่างหนึ่ง รูปที่ชื่อว่า ขโย เพราะอรรถว่า เป็นที่สิ้นไป ที่ชื่อว่า
วโย เพราะอรรถว่า เป็นที่เสื่อมไป ที่ชื่อว่า เภโท เพราะอรรถว่า เป็น
ที่แตกดับไป เพราะรูปถึงอาการนั้นแล้วย่อมสิ้นไป ย่อมเสื่อมไป และย่อม
แตกไป ความแตกไปนั่นเอง เรียกว่าปริเภท (ความทำลายไป) เพราะทรง
เพิ่มบทด้วยอุปสรรค.
สภาวะที่ชื่อว่า อนิจจัง เพราะอรรถว่า ไม่เที่ยงคือมีแล้วหามีไม่.
ภาวะแห่งอนิจจังนั้น ชื่อว่า อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ชื่อว่า อันตรธาน
เพราะอรรถว่า เป็นที่อันตรธาน จริงอยู่ รูปถึงมรณะแล้วย่อมอันตรธาน คือ
ย่อมถึงความไม่เห็น รูปเท่านั้น ถึงความไม่เห็นอย่างเดียวก็หาไม่ เบญจขันธ์
แม้ทั้งหมดก็อันตรธานไป เพราะฉะนั้น รูปนี้แหละ พึงทราบว่าเป็น
ลักษณะความไม่เที่ยงแห่งขันธ์แม้ทั้ง 5 ก็เมื่อว่าโดยลักขณะเป็นต้น พึงทราบว่า

ปริเภทลกฺขณา รูปสฺส อนิจฺจตา อนิจจตารูปมีความทำลายเป็น
ลักษณะ สํสึทนรสา มีการจมลงเป็นรส ขยวยปจฺจุปฏฺฐานา มีความ
สิ้นไปเสื่อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริภิชฺชมานรูปปทฏฺฐานา มีรูปที่กำลัง
ทำลายไปเป็นปทัฏฐาน.

ว่าด้วย ชาติ ชรา มรณะดุจปัจจามิตร 3 คน


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่)
แสดงไว้ในหนหลังแล้ว แต่ในที่นี้ทรงถือเอามรณะ (ความตาย) ธรรมทั้ง 3
เหล่านี้ เป็นเช่นกับปัจจามิตร ผู้เงื้อดาบขึ้นประหารสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้.
เหมือนอย่างว่า ปัจจามิตร 3 คน เที่ยวแสวงหาช่องประทุษร้ายบุรุษ บรรดา
ปัจจามิตร 3 คนนั้น คนหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า การพาบุรุษนี้ออกเข้าไปสู่ดง
เป็นหน้าที่ของเรา
คนที่ 2 พูดว่า ในเวลาที่บุรุษนั้นถึงดงแล้ว การ
โบยตีให้ล้มลงบนแผ่นดินเป็นหน้าที่เรา
คนที่ 3 พูดว่า จำเดิมแต่
เวลาที่บุรุษนั้นล้มลงที่ดงแล้ว การเอาดาบตัดศีรษะเป็นหน้าที่ของเรา
ดังนี้
ฉันใด ธรรมเหล่านี้มีชาติเป็นต้น เห็นปานนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชาติ เป็น
เช่นกับปัจจามิตรผู้นำบุรุษออกให้เข้าไปสู่ดง เพราะให้สัตว์บังเกิดในที่นั้น ๆ.
ชรา เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้โบยตีบุรุษผู้ถึงดงแล้วให้ล้มลงยังแผ่นดิน เพราะ
กระทำขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วให้ทุรพล ให้อาศัยคนอื่น ให้มุ่งไปสู่เตียงนอน.
มรณะ เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้เอาดาบตัดศีรษะของบุรุษผู้ล้มลงที่ดง เพราะ
ยังขันธ์ทั้งหลายซึ่งถึงชราแล้วให้ถึงความสิ้นชีวิต ดังนี้.