เมนู

อนึ่ง เพราะรูปนี้แม้ทั้ง 2 (อุปจยะและสันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิด
อย่างเดียวกัน ฉะนั้นในนิทเทสนี้ บัณฑิตพึงทราบ (ลักขณาทิจตุกะของรูป
ทั้ง 2 นั้น) ว่า
อาจยลกฺขโณ รูปสฺส อุปจโย อุปจยรูปมีความเริ่มเกิดเป็นลักษณะ
ปุพฺพนฺตโต รูปานํ อุมฺมุชฺชาปนรโส มีการยังรูปทั้งหลายให้เกิดดุจขันธ์
อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นรส นิยาตนปจฺจุปฏฺฐาโน ปริปุณฺณภาวปจฺจุ-
ปฏฺฐาโน วา
มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความบริบูรณ์เป็นปทัฏฐาน
อุปจิตรูปปทฏฺฐาโน มีรูปที่เกิดแล้ว (คือรูปที่ถึงอุปาทขณะ) เป็นปทัฏฐาน.
ปวตฺติลกฺขณา รูปสฺส สนฺตติ สันตติรูปมีความเป็นไป (คือ
เป็นไปด้วยอำนาจความสืบต่อ) เป็นลักษณะ อนุปฺปพนฺธนรสา มีการสืบ
ต่อกันโดยลำดับ (คือการสืบต่อด้วยอำนาจรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นรส
อนุปฺปจฺเฉทปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขาดจากกัน (มีความไม่ขาดจากรูป
เบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นปัจจุปัฏฐาน อนุปฺปพนฺธรูปปทฏฺฐานา มีรูป
ที่สืบต่อกันเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาชรตานิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชรตา ต่อไป.
ที่ชื่อว่า ชรา ด้วยอำนาจแห่งรูปที่แก่. ในนิทเทสแห่งชรานี้ มีความ
ขยายสภาวะว่า อาการแห่งการคร่ำคร่า ชื่อว่า ความคร่ำคร่า. อาการทั้ง 3
มีคำว่า ฟันหัก เป็นต้น มีการขยายกิจคือล่วงกาลผ่านวัยไปทีเดียว อาการ
2 ข้างปลาย เป็นการขยายความตามปกติ (คือเป็นไปตามธรรมชาติ).
จริงอยู่ ด้วยบทว่า ชรานี้ พระองค์ทรงแสดงชรานี้โดยสภาวะ เพราะ
เหตุนั้น คำว่า ชรานี้ จึงเป็นการอธิบายสภาวะของชรานั้น. ด้วยบทว่า

ชิรณตา นี้ ทรงแสดงโดยอาการ. เพราะฉะนั้น คำว่า ชิรณตา นี้ จึงเป็น
อธิบายอาการของรูปชิรณตานั้น. ด้วยบทว่า ความมีฟันหลุด นี้ ทรงแสดง
โดยกิจคือการทำภาวะที่ฟันและเล็บหลุดโดยกาลผ่านวัย. ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ
ความมีผมหงอกนี้ ทรงแสดงโดยกิจ คือ ความที่ผมและขนทั้งหลาย
หงอก. ด้วยบทว่า มีหนังเป็นเกลียว
นี้ทรงแสดงโดยกิจ คือกระทำเนื้อ
ให้เหี่ยว แล้วทำหนังให้ย่นเป็นเกลียว. เพราะฉะนั้น บททั้ง 3 มีฟันหลุด
เป็นต้นนี้ เป็นการขยายความถึงกิจที่ล่วงกาลผ่านวัยแห่งรูปนั้น. ด้วยบททั้ง 3
เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดง ปากฏชรา คือ ความแก่ที่ปรากฏโดยอำนาจ
แห่งการเห็นวิการรูปเหล่านี้. เหมือนอย่างว่า ทางที่น้ำบ่าไป หรือลมพัดไป
ย่อมปรากฏโดยการพังทะลายหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือว่า ทางที่ไฟไหม้เตียน
โล่งไปย่อมปรากฏ ทางมีน้ำเป็นต้นผ่านไปแล้วนั้นยังปรากฏ แต่น้ำเป็นต้น
เหล่านั้นมิได้ปรากฏให้เห็นอยู่ ข้อนี้ฉันใด ทางที่ชราผ่านไปแล้ว โดยอำนาจ
แห่งความแตกหักในอวัยวะ มีฟันหลุดเป็นต้น ย่อมปรากฏ เพราะบุคคลลืม
ตาดูก็รู้ได้ แต่สภาวะมีฟันหลุดเป็นต้น ลืมตาดูรู้ไม่ได้ ชราก็รู้ไม่ได้ เพราะ
ชราจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.
ก็ด้วยประเภทบทเหล่านี้ว่า ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความแก่โดยปกติอัน
สิ้นไปแห่งอายุ ด้วยสำคัญแห่งการแก่รอบแห่งอินทริย์มีจักษุเป็นต้น แจ่มแจ้ง
แล้วโดยล่วงกาลผ่านวัยทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พึงทราบสองประการหลังนี้ว่าเป็น
นิทเทสโดยปกติแห่งชรตานั้น. ในอาการทั้งสองเหล่านั้น เพราะอายุของบุคคลผู้
ถึงความแก่แล้ว ย่อมเสื่อมลง ฉะนั้น จึงตรัสชราโดยมุ่งถึงผลว่า ชรา อายุโน
สํหานิ
(ชราคือความเสื่อมแห่งอายุ) ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เพราะเวลาที่คนยัง

เป็นหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักขุเป็นต้นผ่องใสสามารถรับอารมณ์แม้ละเอียด
ของตนได้โดยง่ายนั่นแหละ แต่เมื่อถึงความชราแล้วอินทรีย์ทั้งหลายก็จะหง่อม
งกเงิ่น ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถจะรับอารมณ์แม้อันหยาบของตนได้ฉะนั้น
จึงตรัสชราโดยผลูปจารนัยว่า ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้.

ว่าโดยชรา 2 อย่าง


ก็ ชรานี้นั้นทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า ชราแม้ทั้งหมดมี 2 อย่าง
คือ ปากฏชรา (ชราปรากฏ) ปฏิจฉันนชรา (ชราปกปิด). บรรดาชรา 2
เหล่านั้น ชราในรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความ
แตกหักเป็นต้น ในอวัยวะมีฟันเป็นต้น แต่ชราในอรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า
ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีชราอีก 2 อย่าง คือ
อวีจิชรา (ชราไม่มีคลื่น)
สวีจิชรา (ชรามีคลื่น).
ในชรา 2 อย่างเหล่านั้น พึงทราบว่า ชราที่ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะ
ความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายในระหว่าง ๆ เป็นชราที่รู้ได้ยาก ดุจชรา
ของแก้วมณี ทองคำ เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น ดุจชรา
ของสัตว์มีชีวิตทั้งหลายในเวลาที่เป็นมันททสกะเป็นต้น และดุจชราของสิ่งไม่มี
ชีวิตทั้งหลายมีในเวลาที่มีดอก มีผล และหน่อเป็นต้น ได้แก่ นิรันตชรา.
ส่วนชราที่ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายใน
ระหว่าง ๆ ในสิ่งเหล่าอื่นตามที่กล่าวแล้ว นอกจากนั้นเป็นของรู้ได้โดยง่าย
ดังนี้.