เมนู

อนึ่ง เพราะรูปนี้แม้ทั้ง 2 (อุปจยะและสันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิด
อย่างเดียวกัน ฉะนั้นในนิทเทสนี้ บัณฑิตพึงทราบ (ลักขณาทิจตุกะของรูป
ทั้ง 2 นั้น) ว่า
อาจยลกฺขโณ รูปสฺส อุปจโย อุปจยรูปมีความเริ่มเกิดเป็นลักษณะ
ปุพฺพนฺตโต รูปานํ อุมฺมุชฺชาปนรโส มีการยังรูปทั้งหลายให้เกิดดุจขันธ์
อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นรส นิยาตนปจฺจุปฏฺฐาโน ปริปุณฺณภาวปจฺจุ-
ปฏฺฐาโน วา
มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความบริบูรณ์เป็นปทัฏฐาน
อุปจิตรูปปทฏฺฐาโน มีรูปที่เกิดแล้ว (คือรูปที่ถึงอุปาทขณะ) เป็นปทัฏฐาน.
ปวตฺติลกฺขณา รูปสฺส สนฺตติ สันตติรูปมีความเป็นไป (คือ
เป็นไปด้วยอำนาจความสืบต่อ) เป็นลักษณะ อนุปฺปพนฺธนรสา มีการสืบ
ต่อกันโดยลำดับ (คือการสืบต่อด้วยอำนาจรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นรส
อนุปฺปจฺเฉทปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขาดจากกัน (มีความไม่ขาดจากรูป
เบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นปัจจุปัฏฐาน อนุปฺปพนฺธรูปปทฏฺฐานา มีรูป
ที่สืบต่อกันเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาชรตานิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชรตา ต่อไป.
ที่ชื่อว่า ชรา ด้วยอำนาจแห่งรูปที่แก่. ในนิทเทสแห่งชรานี้ มีความ
ขยายสภาวะว่า อาการแห่งการคร่ำคร่า ชื่อว่า ความคร่ำคร่า. อาการทั้ง 3
มีคำว่า ฟันหัก เป็นต้น มีการขยายกิจคือล่วงกาลผ่านวัยไปทีเดียว อาการ
2 ข้างปลาย เป็นการขยายความตามปกติ (คือเป็นไปตามธรรมชาติ).
จริงอยู่ ด้วยบทว่า ชรานี้ พระองค์ทรงแสดงชรานี้โดยสภาวะ เพราะ
เหตุนั้น คำว่า ชรานี้ จึงเป็นการอธิบายสภาวะของชรานั้น. ด้วยบทว่า