เมนู

ก็วิการรูปทั้ง 3 เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้น
มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง 3 เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ภาวะที่
เบา คือความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็วเหมือนคนไม่มี
โรค มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบซึ่งทำให้รูปเชื่องช้า
อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป. ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจ
หนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวง
ได้ต่าง ๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้
รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป. แต่ความที่รูปทั้งหลายควร
แก่การงานเหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของ
สรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่
คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กรรมมัญญตารูป.
อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง 3 นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่
เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้.
จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะ
กายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของ
พวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้.

อรรถกถาอุปจยะและสัตตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปจยะและสันตติต่อไป.
บทว่า อายตนานํ (อายตนะทั้งหลาย) ได้แก่ รูปายตนะ 10 ทั้งกึ่ง
(คือ 10 กับ ครึ่งหนึ่ง). บทว่า อาจโย (ความสั่งสม) ได้แก่ ความ
บังเกิดขึ้น. บทว่า โส รูปสฺส อุปจโย (นั้นเป็นความเกิดแห่งรูป) ได้แก่

ความเกิดสั่งสมแห่งอายตนะอันเกิดขึ้นบ่อย ๆ อันใด อันนั้นแหละ ชื่อว่า
ความเกิดสั่งสมแห่งรูป อธิบายว่า ย่อมเติบโตขึ้น. ความเกิดสั่งสมแห่งรูป
อันใด อันนั้นเป็นสันตติ (ความสืบต่อ) ของรูป เพราะฉะนั้น ความเจริญ
ของรูปทั้งหลายอันสั่งสมแล้วด้วยอาการอย่างนี้ อันใด ในเวลาที่รูปเป็นไป
ยิ่งกว่านั้น ความเจริญนั้น ชื่อว่า สันตติของรูปคือความเป็นไปของรูป.
เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลขุดหลุมใกล้ฝั่งแม่น้ำ ความสั่งสมเกิดขึ้นเหมือน
เวลาที่น้ำไหลไปยังหลุม. ความเกิดขึ้นเจริญแล้ว เหมือนเวลาที่น้ำเต็มหลุม
พึงทราบว่าสันตติเป็นไปดุจเวลาที่น้ำไหลท่วมไปฉะนั้น.
ถามว่า ด้วยนิทเทสคำว่า โย อายตนานํ อาจโย เป็นต้นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร ? ตอบว่า พระองค์ตรัสความเริ่มเกิดด้วย
อายตนะ ตรัสอายตนะด้วยความเริ่มเกิด เป็นอันตรัสความเริ่มเกิดและตรัส
อายตนะนั่นแหละไว้แล้ว.
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ตรัสไว้อย่างไร ?
ตอบว่า พระองค์ตรัสถึงความเริ่มเกิด ความสั่งสม ความเกิด ความ
เจริญของสันตติรูปทั้ง 4.
จริงอยู่ เมื่อว่าโดยอรรถ รูปทั้ง 2 แม้นี้ (อุปจยะ สันตติ) เป็นชื่อ
ของรูปที่เกิดเท่านั้น แต่ว่าโดยความต่างกันแห่งอาการ และด้วยอำนาจแห่ง
เวไนยสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำอุทเทสและนิทเทสด้วยคำว่า อุปจโย
สนฺตติ
แต่เพราะในอุทเทสนี้ ไม่มีความแตกต่างกันโดยอรรถ ฉะนั้น จึง
ตรัสไว้ในนิทเทสว่า โย อายตนานํ อาจโย โส รูปสฺส อุปจโย
โย รูปสฺส อุปจโย โส รูปสฺส สนฺตติ
(ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้ง
หลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิดแห่งรูปอันใด อันนั้นเป็น
ความสืบต่อแห่งรูป) ดังนี้.

อนึ่ง เพราะรูปนี้แม้ทั้ง 2 (อุปจยะและสันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิด
อย่างเดียวกัน ฉะนั้นในนิทเทสนี้ บัณฑิตพึงทราบ (ลักขณาทิจตุกะของรูป
ทั้ง 2 นั้น) ว่า
อาจยลกฺขโณ รูปสฺส อุปจโย อุปจยรูปมีความเริ่มเกิดเป็นลักษณะ
ปุพฺพนฺตโต รูปานํ อุมฺมุชฺชาปนรโส มีการยังรูปทั้งหลายให้เกิดดุจขันธ์
อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นรส นิยาตนปจฺจุปฏฺฐาโน ปริปุณฺณภาวปจฺจุ-
ปฏฺฐาโน วา
มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความบริบูรณ์เป็นปทัฏฐาน
อุปจิตรูปปทฏฺฐาโน มีรูปที่เกิดแล้ว (คือรูปที่ถึงอุปาทขณะ) เป็นปทัฏฐาน.
ปวตฺติลกฺขณา รูปสฺส สนฺตติ สันตติรูปมีความเป็นไป (คือ
เป็นไปด้วยอำนาจความสืบต่อ) เป็นลักษณะ อนุปฺปพนฺธนรสา มีการสืบ
ต่อกันโดยลำดับ (คือการสืบต่อด้วยอำนาจรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นรส
อนุปฺปจฺเฉทปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขาดจากกัน (มีความไม่ขาดจากรูป
เบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นปัจจุปัฏฐาน อนุปฺปพนฺธรูปปทฏฺฐานา มีรูป
ที่สืบต่อกันเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาชรตานิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชรตา ต่อไป.
ที่ชื่อว่า ชรา ด้วยอำนาจแห่งรูปที่แก่. ในนิทเทสแห่งชรานี้ มีความ
ขยายสภาวะว่า อาการแห่งการคร่ำคร่า ชื่อว่า ความคร่ำคร่า. อาการทั้ง 3
มีคำว่า ฟันหัก เป็นต้น มีการขยายกิจคือล่วงกาลผ่านวัยไปทีเดียว อาการ
2 ข้างปลาย เป็นการขยายความตามปกติ (คือเป็นไปตามธรรมชาติ).
จริงอยู่ ด้วยบทว่า ชรานี้ พระองค์ทรงแสดงชรานี้โดยสภาวะ เพราะ
เหตุนั้น คำว่า ชรานี้ จึงเป็นการอธิบายสภาวะของชรานั้น. ด้วยบทว่า