เมนู

ก็วิการรูปทั้ง 3 เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้น
มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง 3 เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ภาวะที่
เบา คือความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็วเหมือนคนไม่มี
โรค มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบซึ่งทำให้รูปเชื่องช้า
อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป. ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจ
หนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวง
ได้ต่าง ๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้
รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป. แต่ความที่รูปทั้งหลายควร
แก่การงานเหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของ
สรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่
คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กรรมมัญญตารูป.
อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง 3 นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่
เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้.
จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะ
กายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของ
พวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้.

อรรถกถาอุปจยะและสัตตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปจยะและสันตติต่อไป.
บทว่า อายตนานํ (อายตนะทั้งหลาย) ได้แก่ รูปายตนะ 10 ทั้งกึ่ง
(คือ 10 กับ ครึ่งหนึ่ง). บทว่า อาจโย (ความสั่งสม) ได้แก่ ความ
บังเกิดขึ้น. บทว่า โส รูปสฺส อุปจโย (นั้นเป็นความเกิดแห่งรูป) ได้แก่