เมนู

คำว่า จิต 19 คือกามาวจรกุศลวิบาก 11 อกุศลวิบาก 2 กิริยามโน-
ธาตุ 1 รูปาวจรวิบากจิต 5.
คำว่า จิต 16 คือทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ปฏิสนธิจิตของสัตว์
ทั้งหมด 1 จุติจิตของพระขีณาสพ 1 อรูปวิบากจิต 4. จิต 16 เหล่านี้ย่อมไม่
กระทำให้รูปเกิด อุปถัมภ์ และวิญญัตติแม้สักอย่างหนึ่งเลย. จิตที่เกิดขึ้นใน
อรูปแม้อื่นอีกมากก็ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีโอกาส ก็จิตเหล่าใดย่อมยัง
กายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น จิตเหล่านั้นเทียวย่อมยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นด้วย.

อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอากาศธาตุต่อไป.
สภาวะที่ชื่อว่า อากาศ เพราะอรรถว่า อันใคร ๆ ย่อมไถไม่ได้
ทำให้เป็นรอยไม่ได้ คือว่า ไม่อาจเพื่อจะไถ หรือเพื่อจะตัด หรือเพื่อทำให้แตก.
อากาศนั่นแหละ เรียกว่า อากาสคตํ (ถึงการนับว่าเป็นอากาศ) เหมือนคำว่า
เขลคตํ (ถึงการนับว่าเป็นน้ำลาย) เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อากาศ
ชื่อว่า อากาสคตํ เพราะสัตว์ถึงแล้ว. ที่ชื่อ อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะ
อันอะไร ๆ ย่อมไม่กระทบ คือไม่มีอะไรถูกต้องได้. อฆะนี้นั่นแหละ เรียกว่า
อฆคตํ. ที่ชื่อว่า วิวโร (ช่องว่าง) เพราะอรรถว่า เป็นช่อง.
คำว่า อสมฺผุฏฺฐิ จตูหิ มหาภูเตหิ (อันมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้อง
แล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอากาศอันโล่งที่มหาภูตรูปเหล่านี้ไม่ถูกต้อง
แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น รูปปริจฺเฉทลกฺขณา อากาศธาตุมีการ
คั่นไว้ซึ่งรูปเป็นลักษณะ อากาสธาตุรูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา มีการ
ประกาศที่สุดของรูป ของอากาศธาตุเป็นรส รูปมริยาทปจจุปฏฺฐานา มี
ขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน อสมฺผุฏฺฐภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺฐา-

นา วา หรือมีภาวะอันมหาภูตรูปถูกต้องไม่ได้มีภาวะที่ภูตรูปคั่นไว้ และมีภาวะ
ที่เป็นช่องว่างโล่งเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริจฺฉินฺนรูปปทฏฺฐานา มีรูปที่คั่นไว้
เป็นปทัฏฐาน. เมื่อรูปทั้งหลายอันอากาศธาตุใดคั่นไว้แล้ว รูปนี้ก็มีเบื้องบน
เบื้องต่ำ และเบื้องขวางโดยอากาศธาตุนั้น.
เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบนิทเทสแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปลหุตา
เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายมีจิตลหุตาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ใน
ที่นี้ว่าโดยลักษณะเป็นต้น อทนฺธตาลกฺขณา รูปสฺส ลหุตา ลหุตารูป มี
อันไม่เชื่องช้าเป็นลักษณะ รูปานํ ครุภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความ
หนักแห่งรูปทั้งหลายเป็นรส ลหุปริวตฺติตาปจฺจุปฏฺฐานา มีการเปลี่ยนได้
เร็วเป็นปัจจุปัฏฐาน ลหุรูปปทฏฺฐานา มีรูปเบาเป็นปทัฏฐาน.
อถทฺธตาลกฺขณา รูปสฺส มุทุตา มุทุตารูป มีอันไม่แข็งเป็น
ลักษณะ รูปานํ ถทฺธภาววิโนทนรสา มีการบรรเทาความแข็งของรูปทั้งหลาย
เป็นรส สพฺพกิริยาสุ อวิโรธิตาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่เป็นข้าศึกกัน
ในการกระทำทั้งปวงเป็นปัจจุปัฏฐาน มุทุรูปปทฏฺฐานา มีรูปที่อ่อนเป็น
ปทัฏฐาน.
สรีรกิริยานุกุลกมฺมญฺญภาวลกฺขณา รูปสฺส กมฺมญฺญตา
กรรมัญญตารูปมีการควรแก่การงานโดยสมควรแก่การกระทำสรีระเป็นลักษณะ
อกมฺมญฺญภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความไม่ควรแก่การงานเป็นรส
อทุพฺพลภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ทุรพลเป็นปัจจุปัฏฐาน กมฺมญฺญรูป-
ปทฏฺฐานา
มีรูปที่ควรแก่การงานเป็นปทัฏฐาน.

ก็วิการรูปทั้ง 3 เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้น
มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง 3 เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ภาวะที่
เบา คือความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็วเหมือนคนไม่มี
โรค มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบซึ่งทำให้รูปเชื่องช้า
อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป. ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจ
หนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวง
ได้ต่าง ๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้
รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป. แต่ความที่รูปทั้งหลายควร
แก่การงานเหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของ
สรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่
คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กรรมมัญญตารูป.
อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง 3 นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่
เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้.
จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะ
กายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของ
พวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้.

อรรถกถาอุปจยะและสัตตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปจยะและสันตติต่อไป.
บทว่า อายตนานํ (อายตนะทั้งหลาย) ได้แก่ รูปายตนะ 10 ทั้งกึ่ง
(คือ 10 กับ ครึ่งหนึ่ง). บทว่า อาจโย (ความสั่งสม) ได้แก่ ความ
บังเกิดขึ้น. บทว่า โส รูปสฺส อุปจโย (นั้นเป็นความเกิดแห่งรูป) ได้แก่