เมนู

คำว่า จิต 19 คือกามาวจรกุศลวิบาก 11 อกุศลวิบาก 2 กิริยามโน-
ธาตุ 1 รูปาวจรวิบากจิต 5.
คำว่า จิต 16 คือทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ปฏิสนธิจิตของสัตว์
ทั้งหมด 1 จุติจิตของพระขีณาสพ 1 อรูปวิบากจิต 4. จิต 16 เหล่านี้ย่อมไม่
กระทำให้รูปเกิด อุปถัมภ์ และวิญญัตติแม้สักอย่างหนึ่งเลย. จิตที่เกิดขึ้นใน
อรูปแม้อื่นอีกมากก็ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีโอกาส ก็จิตเหล่าใดย่อมยัง
กายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น จิตเหล่านั้นเทียวย่อมยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นด้วย.

อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอากาศธาตุต่อไป.
สภาวะที่ชื่อว่า อากาศ เพราะอรรถว่า อันใคร ๆ ย่อมไถไม่ได้
ทำให้เป็นรอยไม่ได้ คือว่า ไม่อาจเพื่อจะไถ หรือเพื่อจะตัด หรือเพื่อทำให้แตก.
อากาศนั่นแหละ เรียกว่า อากาสคตํ (ถึงการนับว่าเป็นอากาศ) เหมือนคำว่า
เขลคตํ (ถึงการนับว่าเป็นน้ำลาย) เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อากาศ
ชื่อว่า อากาสคตํ เพราะสัตว์ถึงแล้ว. ที่ชื่อ อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะ
อันอะไร ๆ ย่อมไม่กระทบ คือไม่มีอะไรถูกต้องได้. อฆะนี้นั่นแหละ เรียกว่า
อฆคตํ. ที่ชื่อว่า วิวโร (ช่องว่าง) เพราะอรรถว่า เป็นช่อง.
คำว่า อสมฺผุฏฺฐิ จตูหิ มหาภูเตหิ (อันมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้อง
แล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอากาศอันโล่งที่มหาภูตรูปเหล่านี้ไม่ถูกต้อง
แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น รูปปริจฺเฉทลกฺขณา อากาศธาตุมีการ
คั่นไว้ซึ่งรูปเป็นลักษณะ อากาสธาตุรูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา มีการ
ประกาศที่สุดของรูป ของอากาศธาตุเป็นรส รูปมริยาทปจจุปฏฺฐานา มี
ขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน อสมฺผุฏฺฐภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺฐา-