เมนู

อรรถกถาวจีวิญญัตตินิทเทส


ในวจีวิญญัตติก็เหมือนกัน แต่ว่าเนื้อความของบทว่า วจีวิญญัตติ
ดังนี้ และบทนิทเทสทั้งหลายที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวไว้ในทวารกถานั้น พึงทราบ
อย่างนี้ว่า
ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า คนก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งจะ
ให้รู้ภาวะของตนด้วยวาจา แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ภาวะของคนได้ หรือคนก็รู้
ภาวะของสัตว์ได้ ด้วยสภาวะนี้ โดยกำหนดเอาตามทำนองแห่งการกำหนด
คำพูด. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ความหมาย
โดยทำนองแห่งการกำหนดคำพูดได้โดยตนเอง. วิญญัตติคือวจี กล่าวคือการ
เคลื่อนไหวที่ตรัสไว้ในพระบาลีมีอาทิว่า สาธุ วาจาย สํวโร (ความสำรวม
ทางวาจาเป็นการดี) ดังนี้ ชื่อว่า วจีวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจีวิญญัตติ เพราะอรรถว่า การแสดงความ
หมายให้รู้ทางวาจา เพราะเป็นเหตุให้เข้าใจความประสงค์ได้ด้วยเสียงของวาจา
และเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า วาจา คิรา (การพูดเปล่งวาจา) ต่อไป.
ที่ชื่อว่า วาจา (การพูด) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพอันเขากล่าว.
ที่ชื่อว่า คิรา (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า อันบุคคลเปล่ง. ที่ชื่อว่า
วากฺยเภโท (การกล่าว) เพราะอรรถว่าการเจรจา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
พฺยปฺปโถ (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า คำพูดนั้นด้วย เป็นทางของบุคคล
ผู้ประสงค์จะรู้เนื้อความและยังผู้อื่นให้รู้ด้วย. ที่ชื่อว่า อุทีรณํ (การกล่าว)
เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งออก. ที่ชื่อว่า โฆสะ (การป่าวร้อง) เพราะอรรถ
อันเขาย่อมโฆษณา. ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมกระทำ. กรรม

คือการโฆษณา ชื่อว่า โฆสกรรม อธิบายว่า เขาทำโฆษณาโดยประการ
ต่าง ๆ. เพื่อให้รู้ว่า การเปล่งวาจา ชื่อว่า วจีเภท แต่วจีเภท (คือการเปล่ง
วาจา) นั้นมิใช่การทำลาย เป็นวาจาที่แตกต่างกันเท่านั้น จึงตรัสว่า วาจา
วจี เภโท
(วาจา การแสดงความหมายให้รู้ทางวาจา) ดังนี้. สัททวาจานั่นเอง
พระองค์ทรงแสดงด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.
บัดนี้ ทรงประสงค์จะแสดงวจีวิญญัตตินั้นโดยสภาวะ ด้วยอาการ 3
อย่าง ด้วยอำนาจแห่งบททั้งหลายมีวิญญัตติเป็นต้น แห่งเนื้อความที่กล่าวใน
หนหลังที่ประกอบวาจานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา ตาย วาจาย วิญฺญตฺติ
(แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น อันใด ดังนี้. คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น
เพราะมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
บัดนี้ เพื่อมิให้หลงใหลในจิตอันยังวิญญัตติให้ตั้งขึ้น พึงทราบ
ปกิณกธรรมนี้คือ จิต 32 ดวง จิต 26 ดวง จิต 19 ดวง จิต 16 ดวง
สุดท้าย. จริงอยู่ จิต 32 ดวง ย่อมยังพหิรูปให้ตั้งขึ้น ย่อมอุปถัมภ์อิริยาบถ
ย่อมยังวิญญัตติแม้ทั้ง 2 ให้เกิดขึ้น. จิต 26 ดวง ย่อมยังวิญัตตินั่นแหละให้
เกิดขึ้น ย่อมกระทำทั้ง 2 นอกนี้ด้วย. จิต 19 ดวง ย่อมยังรูปนั่นแหละให้
ตั้งขึ้น แต่ไม่กระทำ 2 อย่างนอกนี้. จิต 16 ดวง ไม่กระทำหน้าที่แม้สัก
อย่างหนึ่งในบรรดา 3 อย่างนั้น (ให้เกิดอุปถัมภ์ ให้เกิดวิญญัติ).
ในปกิณกธรรมเหล่านั้น คำว่า จิต 32 คือจิตที่กล่าวในหนหลัง
นั่นแหละคือ กามาวจรกุศล 8 อกุศลจิต 12 กิริยาจิต 10 อภิญญาจิตของ
พระเสกขะปุถุชน 1 อภิญญาจิตของพระขีณาสพทั้งหลาย 1.
คำว่า จิต 26 คือรูปาวจรกุศลจิต 5 รูปาวจรกิริยา 5 อรูปาวจร
กุศลจิต 4 อรูปาวจรกิริยาจิต 4 มรรคจิต 4 ผลจิต 4.

คำว่า จิต 19 คือกามาวจรกุศลวิบาก 11 อกุศลวิบาก 2 กิริยามโน-
ธาตุ 1 รูปาวจรวิบากจิต 5.
คำว่า จิต 16 คือทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ปฏิสนธิจิตของสัตว์
ทั้งหมด 1 จุติจิตของพระขีณาสพ 1 อรูปวิบากจิต 4. จิต 16 เหล่านี้ย่อมไม่
กระทำให้รูปเกิด อุปถัมภ์ และวิญญัตติแม้สักอย่างหนึ่งเลย. จิตที่เกิดขึ้นใน
อรูปแม้อื่นอีกมากก็ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีโอกาส ก็จิตเหล่าใดย่อมยัง
กายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น จิตเหล่านั้นเทียวย่อมยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นด้วย.

อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอากาศธาตุต่อไป.
สภาวะที่ชื่อว่า อากาศ เพราะอรรถว่า อันใคร ๆ ย่อมไถไม่ได้
ทำให้เป็นรอยไม่ได้ คือว่า ไม่อาจเพื่อจะไถ หรือเพื่อจะตัด หรือเพื่อทำให้แตก.
อากาศนั่นแหละ เรียกว่า อากาสคตํ (ถึงการนับว่าเป็นอากาศ) เหมือนคำว่า
เขลคตํ (ถึงการนับว่าเป็นน้ำลาย) เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อากาศ
ชื่อว่า อากาสคตํ เพราะสัตว์ถึงแล้ว. ที่ชื่อ อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะ
อันอะไร ๆ ย่อมไม่กระทบ คือไม่มีอะไรถูกต้องได้. อฆะนี้นั่นแหละ เรียกว่า
อฆคตํ. ที่ชื่อว่า วิวโร (ช่องว่าง) เพราะอรรถว่า เป็นช่อง.
คำว่า อสมฺผุฏฺฐิ จตูหิ มหาภูเตหิ (อันมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้อง
แล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอากาศอันโล่งที่มหาภูตรูปเหล่านี้ไม่ถูกต้อง
แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น รูปปริจฺเฉทลกฺขณา อากาศธาตุมีการ
คั่นไว้ซึ่งรูปเป็นลักษณะ อากาสธาตุรูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา มีการ
ประกาศที่สุดของรูป ของอากาศธาตุเป็นรส รูปมริยาทปจจุปฏฺฐานา มี
ขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน อสมฺผุฏฺฐภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺฐา-