เมนู

รูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺฐานํ มี
ภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้แล.

อรรถกถากายวิญญัตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกายวิญญัตินิทเทสต่อไป.
ในข้อว่า กายวิญญัตติ นี้ก่อน. สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะ
อรรถว่าความที่คนทั้งหลายก็ดี หรือสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดี ให้รู้ภาวะของตน
ด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของ
สัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้โดยทำนองแห่งการถือเอากาย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ตนเองย่อมให้ผู้อื่น
รู้ได้โดยทำนองแห่งการกำหนดกาย. วิญญัตติคือกาย กล่าวคือการไหวกาย ที่
ตรัสไว้ในคำมีอาทิว่า กาเยน สํวโร สาธุ (การสำรวมกายเป็นการดี) ดังนี้
ชื่อว่า กายวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กายวิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงให้
รู้ด้วยกาย เพราะเป็นเหตุให้รู้ความประสงค์ด้วยการไหวกายต่าง ๆ และเพราะ
ตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
ในคำมีอาทิว่า กุสลจิตฺตสฺส วา (ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล)
อธิบายว่า จิตของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศลด้วยจิต 9 คือ กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง
อภิญญาจิต 1 ดวง หรือผู้มีจิตเป็นอกุศลด้วยอกุศลจิต 12 ดวง หรือมี
จิตที่เป็นอัพยากฤต ด้วยกิริยาจิต 11 ดวง คือ มหากิริยาจิต 8 ดวง ปริตต-
กิริยาจิต 2 ดวง อภิญญาที่เป็นรูปาวจรกิริยาจิต 1 ดวง อื่น ๆ จากนี้
ย่อมไม่ยังวิญญัตติให้เกิดได้. ก็พระเสกขะ พระอเสกขะ และปุถุชนก็มีวิญญัตติ

ด้วยจิตมีประมาณเท่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงวิญญัตติ
โดยเป็นเหตุด้วยบททั้ง 3 ด้วยสามารถแห่งธรรมมีกุศลเป็นต้นเหล่านี้ (คือ
กุศล อกุศลกิริยา).
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิญญัตติโดยผลด้วยบททั้ง 6* จึงตรัสว่า
อภิกฺกมุนฺตสส วา (ก้าวไปอยู่) เป็นต้น. จริงอยู่ การก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า
ผลของวิญญัตติ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจวิญญัตติ. บรรดาบททั้งหลายมีการ
ก้าวไปเป็นต้นเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมนฺตสฺส (ก้าวไปอยู่) ได้แก่ นำกาย
ไปข้างหน้า. บทว่า ปฏิกฺกมนฺตสฺส (ถอยกลับอยู่) ได้แก่ นำกายกลับมา
ข้างหลัง. บทว่า อาโลเกนฺตสฺส (แลดูอยู่) ได้แก่ แลดูตรง ๆ. บทว่า
วิโลเกนฺตสฺส ได้แก่ แลดูทางโน้นแลดูทางนี้. บทว่า สมฺมิญฺชนฺตสฺส
(คู้เข้าอยู่) ได้แก่ งอข้อต่อทั้งหลาย. บทว่า ปสาเรนฺตสฺส (เหยียดออกอยู่)
ได้แก่ เหยียบข้อต่อทั้งหลาย.
บัดนี้ เพื่อแสดงวิญญัตติโดยสภาวะด้วยบททั้ง 6 จึงตรัสว่า กายสฺส
ถมฺภนา
(ความเคร่งตึงของกาย) เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายสฺส
(ของกาย) ได้แก่ ของสรีระ. สภาวะที่ชื่อว่า ความเคร่งตึง (ถมฺภนา)
เพราะอรรถว่า ทำกายให้แข็งแล้วให้กระด้าง. สภาวะที่เคร่งตึงนั้นนั่นแหละ
ตรัสเรียกว่า กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี (สนฺถมฺภนา) เพราะเพิ่มด้วยอุปสรรค
อีกอย่างหนึ่ง ความเคร่งตึงมีกำลังมาก ชื่อว่า สันถัมภนา. ความเคร่งตึง
ด้วยดี ชื่อว่า สันถัมภิตัตตัง. ชื่อว่า วิญญัตติ (การแสดงให้รู้ความหมาย)
ด้วยสามารถแห่งการให้รู้ให้เข้าใจ. กิริยาที่ให้เข้าใจความหมาย ชื่อว่า วิญญา-
ปนา.
ความแสดงให้รู้ความหมาย ชื่อว่า วิญญาปิตัตตัง. คำที่เหลือใดที่
พึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในทวารกถาในหนหลังแล้วแล.
* 1 ก้าวไปอยู่ 2 ถอยกลับอยู่ 3 แลดูอยู่ 4 เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ 5 คู้เข้าอยู่ 6 เหยียด
ออกอยู่.

อรรถกถาวจีวิญญัตตินิทเทส


ในวจีวิญญัตติก็เหมือนกัน แต่ว่าเนื้อความของบทว่า วจีวิญญัตติ
ดังนี้ และบทนิทเทสทั้งหลายที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวไว้ในทวารกถานั้น พึงทราบ
อย่างนี้ว่า
ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า คนก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งจะ
ให้รู้ภาวะของตนด้วยวาจา แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ภาวะของคนได้ หรือคนก็รู้
ภาวะของสัตว์ได้ ด้วยสภาวะนี้ โดยกำหนดเอาตามทำนองแห่งการกำหนด
คำพูด. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ความหมาย
โดยทำนองแห่งการกำหนดคำพูดได้โดยตนเอง. วิญญัตติคือวจี กล่าวคือการ
เคลื่อนไหวที่ตรัสไว้ในพระบาลีมีอาทิว่า สาธุ วาจาย สํวโร (ความสำรวม
ทางวาจาเป็นการดี) ดังนี้ ชื่อว่า วจีวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจีวิญญัตติ เพราะอรรถว่า การแสดงความ
หมายให้รู้ทางวาจา เพราะเป็นเหตุให้เข้าใจความประสงค์ได้ด้วยเสียงของวาจา
และเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า วาจา คิรา (การพูดเปล่งวาจา) ต่อไป.
ที่ชื่อว่า วาจา (การพูด) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพอันเขากล่าว.
ที่ชื่อว่า คิรา (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า อันบุคคลเปล่ง. ที่ชื่อว่า
วากฺยเภโท (การกล่าว) เพราะอรรถว่าการเจรจา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
พฺยปฺปโถ (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า คำพูดนั้นด้วย เป็นทางของบุคคล
ผู้ประสงค์จะรู้เนื้อความและยังผู้อื่นให้รู้ด้วย. ที่ชื่อว่า อุทีรณํ (การกล่าว)
เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งออก. ที่ชื่อว่า โฆสะ (การป่าวร้อง) เพราะอรรถ
อันเขาย่อมโฆษณา. ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมกระทำ. กรรม