เมนู

รูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺฐานํ มี
ภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้แล.

อรรถกถากายวิญญัตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกายวิญญัตินิทเทสต่อไป.
ในข้อว่า กายวิญญัตติ นี้ก่อน. สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะ
อรรถว่าความที่คนทั้งหลายก็ดี หรือสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดี ให้รู้ภาวะของตน
ด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของ
สัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้โดยทำนองแห่งการถือเอากาย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ตนเองย่อมให้ผู้อื่น
รู้ได้โดยทำนองแห่งการกำหนดกาย. วิญญัตติคือกาย กล่าวคือการไหวกาย ที่
ตรัสไว้ในคำมีอาทิว่า กาเยน สํวโร สาธุ (การสำรวมกายเป็นการดี) ดังนี้
ชื่อว่า กายวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กายวิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงให้
รู้ด้วยกาย เพราะเป็นเหตุให้รู้ความประสงค์ด้วยการไหวกายต่าง ๆ และเพราะ
ตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
ในคำมีอาทิว่า กุสลจิตฺตสฺส วา (ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล)
อธิบายว่า จิตของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศลด้วยจิต 9 คือ กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง
อภิญญาจิต 1 ดวง หรือผู้มีจิตเป็นอกุศลด้วยอกุศลจิต 12 ดวง หรือมี
จิตที่เป็นอัพยากฤต ด้วยกิริยาจิต 11 ดวง คือ มหากิริยาจิต 8 ดวง ปริตต-
กิริยาจิต 2 ดวง อภิญญาที่เป็นรูปาวจรกิริยาจิต 1 ดวง อื่น ๆ จากนี้
ย่อมไม่ยังวิญญัตติให้เกิดได้. ก็พระเสกขะ พระอเสกขะ และปุถุชนก็มีวิญญัตติ