เมนู

ภาวรูปแม้ทั้ง 2 (หญิงชาย) นี้ ของบุคคลผู้เกิดในปฐมกัป ย่อม
ตั้งขึ้นในปวัตติกาล ในภายหลังต่อมา ภาวรูปทั้ง 2 นี้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล
แม้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ก็ย่อมหวั่นไหว ย่อมเปลี่ยนได้ในปวัตติกาล.
เหมือนอย่างพระดำรัสที่ตรัสไว้ในพระบาลีวินีตวัตถุแห่งปฐมปาราชิก
ว่า ก็สมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพศชายปรากฏ
แก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
*ดังนี้.
ก็บรรดาเพศทั้ง 2 นั้น เพศชายเป็นอุดมเพศ เพศหญิงเป็นหีนเพศ
ฉะนั้น เพศชายย่อมอันตรธานไปเพราะอกุศลมีกำลัง เพศหญิงย่อมตั้งขึ้นด้วย
กุศลที่เป็นทุรพล แต่เพศหญิงเมื่ออันตรธาน ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศลที่
เป็นทุรพล เพศชายย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศลที่มีกำลัง. พึงทราบว่า ภาวรูปแม้ทั้ง 2
อย่างนี้ ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศล ย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศล ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยอุภโตพยัญชนกะ


ถามว่า

บุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะ มีอินทรีย์เดียวหรือมีสองอินทรีย์
ตอบว่า มีอินทรีย์เดียว ก็อินทรีย์ของหญิงผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้น
แลเป็นอิตถินทรีย์ ของชายผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะเป็นปุริสินทรีย์.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พยัญชนะ (เครื่องหมาย) ที่ 2 ก็ไม่ปรากฏ
เพราะตรัสไว้ว่า อินทรีย์แสดงเครื่องหมายเพศ และอินทรีย์ของบุคคลผู้เป็น
อุภโตพยัญชนกะนั้นก็ไม่มี. ตอบว่า อินทรีย์ของบุคคลนั้น เป็นเครื่องแสดง
เพศหามิได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะไม่มีอยู่ทุกเมื่อ.
* วินย อา. เล่ม 1/64

ด้วยว่า เมื่อใดจิตกำหนัดของอิตถีอุภโตพยัญชนกะเกิดในหญิง ก็ใน
กาลนั้น เครื่องหมายเพศชายย่อมปรากฏ. เครื่องหมายเพศหญิงย่อมปิดบัง
ซ่อนเร้น ปุริสอุภโตพยัญชนกะนอกนี้ ก็มีเครื่องหมายเพศหญิงนอกนี้เหมือนกัน
ผิว่า อินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะทั้งสองเหล่านั้น พึงมีเครื่องหมายที่ 2 ไซร้
เครื่องหมายเพศทั้ง 2 ก็พึงตั้งอยู่แม้ในกาลทุกเมื่อ แต่ว่าหาได้ตั้งอยู่ไม่ เพราะ
ฉะนั้น อินทรีย์นั้นพึงทราบ คำนี้ว่า อินทรีย์นั้นของอุภโตพยัญชนกะนั้นเป็น
เหตุแห่งเครื่องหมายเพศหามิได้ แต่ในที่นี้ เหตุคือจิตสัมปยุตด้วยราคะมีกรรม
เป็นสหาย ก็เพราะอินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะนั้นมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น
อิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ย่อมทำให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์ก็ได้
ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกะ ย่อมทำบุคคลอื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองย่อม
ตั้งครรภ์ไม่ได้ ฉะนี้แล.

อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ คำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว
ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรูปชีวิตินทรีย์ ในหนหลัง
แล้วทั้งนั้น ก็ในอรูปชีวิตินทรีย์นั้นตรัสไว้ว่า อรูปธรรมใด ของอรูปธรรม
เหล่านั้น แต่ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ตรัสว่า รูปธรรมใด ของรูปธรรมเหล่านั้น
เพราะความเป็นรูปชีวิตินทรีย์ นี้เป็นเนื้อความต่างกัน แต่ลักษณะเป็นต้น
ของรูปชีวีตินทรีย์นั้น พึงทราบอย่างนี้.
สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตาม
รักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของ
รูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส เตสฺเยว ฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความดำรงอยู่ซึ่ง