เมนู

อรรถกถาปุริสินทริยนิทเทส


แม้ในปุริสินทรีย์ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ทรวดทรงของชายเป็นต้น
พึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับทรวดทรงของหญิงเป็นต้น เพราะสัณฐาน
แห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้นของชาย ไม่เหมือนของหญิง
ด้วยว่า กายท่อนบนของชายล่ำสัน กายท่อนล่างไม่ล่ำสัน มือเท้าก็ใหญ่
ปากใหญ่ เนื้อขาไม่ใหญ่ หนวดเคราเกิดขึ้น การใช้ผ้าผูกผมก็ไม่เหมือนของ
หญิงทั้งหลาย ในเวลาเป็นเด็กย่อมเล่นรถและไถเป็นต้น ย่อมทำขอบคันด้วย
ทราย ย่อมขุดชื่อซึ่งหลุม แม้การเดินเป็นต้นก็องอาจ ชนทั้งหลายเห็นแม้หญิง
ผู้ทำการเดินเป็นต้นให้องอาจ ย่อมพูดคำเป็นต้นว่า แม้คนนี้ย่อมเดินเหมือน
ชาย ดังนี้ คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอิตถินทรีย์นั่นแหละ.

ว่าด้วยลักขณาทิจตุกะ


บรรดาอินทรีย์ทั้ง 2 นั้น อิตฺถีภาวลกฺขณํ อิตฺถินฺทฺริยํ อิต-
ถินทรีย์มีอิตถีภาวะ (มีความเป็นหญิง) เป็นลักษณะ อิตฺถีติ ปกาสนรสํ
มีการประกาศว่าเป็นหญิงเป็นรส อิตฺถีลิงฺคนิมิตฺตกุตฺตากปฺปานํ กรณ-
ภาวปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่นและกิริยาอาการของหญิง
เป็นปัจจุปัฏฐาน.
ปริสภาวลกฺขณํ ปุริสินฺทฺริยํ ปุริสินทรีย์ มีปุริสภาวะเป็นลักษณะ
ปุริโสติ ปกาสนรสํ มีการประกาศว่าเป็นชายเป็นรส ปุริสลิงฺคนิมิตฺต-
กุตฺตากปฺปานํ กรณภาวปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่น
และกิริยาอาการของชายเป็นปัจจุปัฏฐาน.