เมนู

วาระ 13 วาระประดับด้วยนัย 52 เหมือนกันนั่นแหละ ว่าโดยอรรถวาระ
เหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น.

อรรถกถารสายตนนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรสายตนะ ต่อไป.
บทว่า มูลรโส (รสรากไม้) ได้แก่รสที่อาศัยรากไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น. แม้ในรสลำต้นเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า อมฺพิลํ (เปรี้ยว) ได้แก่
เปรียงเป็นต้น. บทว่า มธุรํ (หวาน) ได้แก่ รสมีเนยใสแห่งโคเป็นต้น
อย่างเดียว. ส่วนน้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสฝาด. น้ำอ้อยผสม
กับรสขื่นเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสขื่น แต่สัปปิ (เนยใส) เก็บไว้นานแม้ละสี
และกลิ่นก็ไม่ละรส เพราะฉะนั้น เนยใสนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า หวานโดย
ส่วนเดียว.
บทว่า ติตฺตกํ (ขม) ได้แก่ ใบสะเดาเป็นต้น. บทว่า กฏุกํ (เผ็ด)
ได้แก่ รสขิงและพริกไทยเป็นต้น. บทว่า โลณิกํ (เค็ม) ได้แก่ เกลือธรรมชาติ
เป็นต้น. บทว่า ขาริกํ (ขื่น) ได้แก่ รสมะอึและหน่อไม้เป็นต้น. บทว่า
ลมฺพิลํ (เฝื่อน) ได้แก่ พุทรา มะขามป้อม และมะขวิดเป็นต้น. บทว่า
กสาวํ. (ฝาด) ได้แก่ มะขามป้อมเป็นต้น. รสแม้ทั้งหมดเหล่านี้ ตรัสไว้ด้วย
อำนาจวัตถุ แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่ารสตรัสไว้โดยชื่อมีเปรี้ยวเป็นต้นแต่
วัตถุนั้น ๆ.
บทว่า สาทุ (อร่อย) ได้แก่ รสที่น่าปรารถนา. บทว่า อสาทุ
(ไม่อร่อย) ได้แก่ รสที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง 2 คือ รสที่น่าปรารถนา
และไม่น่าปรารถนานี้ รสแม้ทั้งหมดเป็นอันทรงกำหนดถือเอาแล้ว ครั้นเมื่อ