เมนู

วาระ 13 วาระประดับด้วยนัยวาระละ 4 เนื้อความแห่งบทเหล่านั้นสามารถจะ
รู้ได้โดยนัยที่กล่าวไว้นั่นแหละ ฉะนั้น จึงมิได้ให้พิสดาร.

อรรถกถาคันธายตนนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคันธายตนะต่อไป.
บทว่า มูลคนฺโธ (กลิ่นรากไม้) ได้แก่ กลิ่นที่เกิดขึ้นอาศัยรากไม้
อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในกลิ่นที่แก่นเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. กลิ่นผักดอง
เป็นต้นที่ยังไม่สำเร็จแล้ว หรือสำเร็จแล้วไม่ดี ชื่อว่า อามคันโธ (กลิ่นบูด).
กลิ่นเกล็ดปลา กลิ่นเนื้อเน่า กลิ่นเนยใสเสียเป็นต้น ชื่อว่า วิสคันโธ (กลิ่นเน่า).
บทว่า สุคนฺโธ (กลิ่นหอม) ได้แก่ กลิ่นที่น่าปรารถนา. บทว่า
ทุคฺคนฺโธ (กลิ่นเหม็น) ได้แก่ กลิ่นไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง 2 คือ
กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนี้ ย่อมเป็นอันว่ากลิ่นแม้ทั้งหมดทรงถือเอาแล้ว. เมื่อ
เป็นเช่นนั้น กลิ่นแม้ทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีกลิ่นช่อฟ้าและกลิ่นผ้าเก่า
เป็นต้น. พึงทราบว่า รวมอยู่ที่เยวาปนกคันธะ. กลิ่นนี้แม้จะต่างกันโดยเป็น
กลิ่นที่รากเป็นต้นอย่างนี้ ว่าโดยลักขณาทิจตุกะแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของกลิ่น


สพฺโพปิ เจโส ฆานปฏิหนนลกฺขโณ คนฺโธ

ก็กลิ่นแม้ทั้งหมด
มีการกระทบฆานะเป็นลักษณะ ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรโส มีความ
เป็นอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐาโน มีความ
เป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในคันธายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส