เมนู

เก่า และสีช่อฟ้าเป็นต้น เพราะสีทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในรูปที่เป็นเยวาปนกธรรม
ทั้งหลาย. รูปนี้แหละ แม้ต่างกันโดยประเภทมีสีเขียวเป็นต้น แต่รูปทั้งหมด
นั้นก็มิได้แตกต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของรูป


จริงอยู่ รูปนี้แม้ทั้งหมดมีการกระทบจักขุเป็นลักษณะ (จกฺขุปฏิ-
หนนลกฺขณํ
) มีความเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นรส (จกฺขุวิญฺญาณ-
สฺส วิสยภาวรสํ
) มีความเป็นโคจรของจักขุวิญญาณนั้นนั่นเองเป็น
ปัจจุปัฏฐาน (ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐานํ) มีมหาภูตรูป 4 เป็นปทัฏฐาน.
ก็อุปาทารูปทั้งหมดเหมือนกับรูปนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวรูปที่แตกต่างกัน รูปที่
เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ.
จริงอยู่ ในจักขายตนนิทเทสนั้น นิทเทสมีจักขุเป็นประธานอย่าง
เดียว แต่ในรูปายตนนิทเทสนี้มีรูปเป็นประธาน. ในจักขายตนนิทเทสนั้น
มีชื่อ 10 อย่างมีคำว่า จกฺขุเปตํ (รูปนี้เป็นจักษุบ้าง) เป็นต้น. ในรูปาย-
ตนนิทเทสแม้นี้มีชื่อ 3 อย่าง มีคำว่า รูปํเปตํ เป็นต้น (นี้เรียกว่า รูปบ้าง
รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง
). รูปที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ใน
รูปายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระทั้งหลายไว้เหมือนตรัสวาระ 13 วาระ เพื่อ
กำหนดจักษุประดับด้วยนัยวาระ 4 วาระเหมือนกัน ฉะนี้แล.

อรรถกถาสัททายตนนิเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งสัททายตนะต่อไป.
บทว่า เภรีสทฺโท (เสียงกลอง) ได้แก่ เสียงกลองใหญ่และกลอง
ที่เขาตี. แม้เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ ก็เป็นเสียงมีเสียงตะโพน