เมนู

อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มิได้ปะปนกันฉันใด ในกายแม้เหล่านั้น รูป 44
ก็ดี รูป 54 ก็ดี รูป 84 ก็ดี ก็ฉันนั้น เป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่
ก็ไม่ปะปนซึ่งกันและกันเลย ฉะนี้แล.

อรรถกถารูปายตนนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปายตนะต่อไป.
สี (วรรณะ) นั่นแหละ เรียกว่า วัณณนิภา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
นิภา เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งแสง อธิบายว่า ย่อมปรากฏแก่จักขุวิญญาณ
แสงคือสี ชื่อว่า วัณณนิภา. รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ (คือเป็นสิ่งที่เห็นได้)
โดยเป็นไปพร้อมกับการเห็น อธิบายว่า พึงเห็นด้วยจักขุวิญญาณ. รูปที่ชื่อว่า
สัปปฏิฆะ (กระทบได้) โดยความเป็นไปพร้อมกับสิ่งที่กระทบถูกเข้า การ
ยังความเสียดสีให้เกิด.
บรรดาสีมีสีเขียวครามเป็นต้น สีเขียวเหมือนดอกสามหาว สีเหลือง
เหมือนดอกกรรณิการ์ สีแดงเหมือนดอกชบา สีขาวเหมือนดาวประกายพรึก
สีดำเหมือนถ่านเผา สีหงสบาท แดงเรื่อเหมือนย่างทรายและดอกยี่โถ. ก็ทอง
ตรัสเรียกว่า หริ ดุจในคำนี้ว่า หริตจสามวณฺณกามํ สุมุข ปกฺกม
(ดูก่อนสุมุขะผู้มีผิวพรรณงามดังทอง ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด) ดังนี้
ก็จริง ถึงอย่างนั้น ทองนั้นทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ชาตรูปะ ข้างหน้า แต่
ในนิทเทสนี้ ชื่อว่า หริ ได้แก่สีคล้ำ เพราะมิได้ทรงถือวัตถุทั้ง 7 เหล่านี้
แสดงโดยสภาวะนั่นเอง.
บทว่า หริวณฺณํ (สีเขียวใบไม้) คือสีเหมือนหญ้าแพรกสด. บทว่า
อมฺพงฺกุรวณฺณํ (สีม่วง) คือสีเหมือนหน่อมะม่วง. วัตถุทั้ง 2 เหล่านี้
ทรงถือเอาแสดงไว้โดยสภาวะ วัตถุ 12 มียาวและสิ้นเป็นต้น ทรงถือเอาแสดง

โดยโวหาร และโวหารนั้นแห่งบทยาวและสั้นเป็นต้นเหล่านั้น สำเร็จแล้วโดย
อุปนิธาบัญญัติ (บัญญัติโดยเทียบเคียง) และสำเร็จแล้วโดยการตั้งไว้. จริงอยู่
คำว่า ยาว เป็นต้น เป็นบทสำเร็จด้วยการบัญญัติเทียบเคียงซึ่งกันและกัน.
คำว่า กลม เป็นต้น สำเร็จโดยตั้งลง. ในสองอย่างนั้น เพราะเทียบเคียงรูป
ที่สั้น ยาวกว่านั้น จึงชื่อว่า ยาว เพราะเทียบกับรูปที่สั้นกว่านั้น ชื่อว่า สั้น
เทียบเคียงรูปที่ใหญ่ เล็กกว่านั้นชื่อว่า อณู เทียบกับรูปที่เล็กกว่านั้น ชื่อว่า
ใหญ่. รูปที่มีสัณฐานเหมือนล้อเกวียน ชื่อว่า กลม รูปมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่
ชื่อว่า ปริมณฑล รูปประกอบด้วยเหลี่ยมทั้ง 4 ชื่อว่า จตุรัส (สี่เหลี่ยม).
แม้รูป 6 เหลี่ยมเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า นินฺนํ (ลุ่ม) ได้แก่รูปที่ต่ำ.
บทว่า ถลํ (ดอน) ได้แก่รูปที่นูนขึ้น.
บรรดารูปยาวเป็นต้นเหล่านั้น เพราะบุคคลแม้ถูกต้องรูปยาวเป็นต้น
อาจเพื่อรู้ได้ แต่รูปสีเขียวเป็นต้นบุคคลถูกต้องแล้วไม่สามารถทราบได้ ฉะนั้น
รูปายตนะที่ยาว จึงมิได้ตรัสไว้โดยตรง รูปที่สั้นเป็นต้นก็ไม่ตรัสเหมือนกัน
แต่ในที่นี้ตรัสว่า ยาว สั้น อาศัยรูปนั้น ๆ โดยประการนั้นตั้งอยู่แล้ว พึงทราบ
ว่า รูปายตนะในรูปายตนนิทเทสนี้ ตรัสไว้โดยโวหารนั้น ๆ ดังนี้.
บทว่า ฉายา อาตโป (เงาแดด) นี้ ทรงกำหนดซึ่งกันและกัน
แสงสว่างและมืด ก็กำหนดไว้ซึ่งกันและกัน. บท 4 บทว่า เมฆ เป็นต้น
แสดงไว้ด้วยวัตถุเท่านั้น. ในบรรดาบททั้งสี่เหล่านั้น คำว่า อพฺภา (เมฆ)
ได้แก่น้ำฝน. บทว่า มหิกา (หมอก) ได้แก่ น้ำค้าง. สีแห่งบทมีเมฆเป็นต้น
ทรงแสดงไว้ด้วยบททั้ง 4 เหล่านี้. ด้วยบทว่า จนฺทมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา
เป็นต้นทรงแสดงสีคือรัศมีแห่งวัตถุเหล่านั้น.
ในวัตถุมีดวงจันทร์เป็นต้นนั้น พึงทราบความต่างกันแห่งวัตถุทั้งหลาย
มีดวงจันทร์เป็นต้นอย่างนี้. วิมานของจันทเทพบุตร ยาวและกว้าง 49

โยชน์สำเร็จด้วยแก้วมณีปิดบังไว้ด้วยเงิน ชื่อว่า ดวงจันทร์. วิมานของ
สุริยเทพบุตร
ยาวและกว้าง 50 โยชน์ สำเร็จด้วยทองปิดบังไว้ด้วยแก้วผลึก
ชื่อว่า ดวงอาทิตย์. วิมานของเทพบุตรนั้น ๆ ยาวและกว้าง 7 โยชน์
8 โยชน์ 10 โยชน์ 12 โยชน์ สำเร็จด้วยรัตนะ 7 ประการ ชื่อว่า ดวงดาว.
ในบรรดาเทพบุตรเหล่านั้น พระจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่
ข้างบน ระหว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้ง 2 มีหนึ่งโยชน์ โดยส่วนสุดข้าง
ล่างของพระจันทร์ และโดยส่วนสุดข้างบนของพระอาทิตย์มีระยะร้อยโยชน์
ดาวนักขัตฤกษ์ทั้งหลายย่อมโคจรไปที่ข้างทั้ง 2. ก็บรรดาวัตถุทั้ง 3 เหล่านั้น
พระจันทร์โคจรไปช้า พระอาทิตย์โคจรไปเร็ว ดวงดาวทั้งหลายไปเร็วกว่าเขา
ทั้งหมด บางคราวโคจรไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ บางคราวก็โคจร
ไปข้างหลัง.
บทว่า อาทาสมณฺฑลํ (กระจก) ได้แก่ สำเร็จด้วยสำริด. คำว่า
แก้วมณี คือเว้นแก้วไพฑูรย์ ที่เหลือมีประเภทมิใช่น้อยมีแก้วมณีโชติรส
เป็นต้น. คำว่า สังข์ ได้แก่สังข์เกิดขึ้นเอง (ธรรมชาติ) แก้วมุกดา ก็เกิด
ขึ้นเอง แม้แก้วไพฑูรย์ที่เหลือ. บทว่า เวฬุริโย (แก้วไพฑูรย์) คือแก้วมณี
มีสีเหมือนไม้ไผ่.
วรรณะของพระศาสดา เรียกว่า ชาตรูปะ (ทอง) จริงอยู่ พระศาสดา
มีวรรณะเหมือนทองคำ แม้วรรณะของทองคำ ก็เรียกว่า วรรณะพระศาสดา.
กหาปณะคือ โลหมาสก (มาสกทำด้วยโลหะ) ทารุมาสก (มาสกทำด้วยไม้)
ชตุมาสก (มาสกทำด้วยยาง) เรียกว่า รชตะ (เงิน). โวหารแม้ทั้งหมดนั้น
ท่านถือเอาในบทว่า รชตํ นี้.
ด้วยบทว่า ยํ วา ปนญฺญมฺปิ (หรือรูปแม้อื่นใด) นี้ เว้นรูปที่
ตรัสไว้ในบาลี ทรงถือเอารูปที่เหลืออันต่างด้วยสีเสื่อลำแพน สีผ้าท่อน

เก่า และสีช่อฟ้าเป็นต้น เพราะสีทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในรูปที่เป็นเยวาปนกธรรม
ทั้งหลาย. รูปนี้แหละ แม้ต่างกันโดยประเภทมีสีเขียวเป็นต้น แต่รูปทั้งหมด
นั้นก็มิได้แตกต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของรูป


จริงอยู่ รูปนี้แม้ทั้งหมดมีการกระทบจักขุเป็นลักษณะ (จกฺขุปฏิ-
หนนลกฺขณํ
) มีความเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นรส (จกฺขุวิญฺญาณ-
สฺส วิสยภาวรสํ
) มีความเป็นโคจรของจักขุวิญญาณนั้นนั่นเองเป็น
ปัจจุปัฏฐาน (ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐานํ) มีมหาภูตรูป 4 เป็นปทัฏฐาน.
ก็อุปาทารูปทั้งหมดเหมือนกับรูปนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวรูปที่แตกต่างกัน รูปที่
เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ.
จริงอยู่ ในจักขายตนนิทเทสนั้น นิทเทสมีจักขุเป็นประธานอย่าง
เดียว แต่ในรูปายตนนิทเทสนี้มีรูปเป็นประธาน. ในจักขายตนนิทเทสนั้น
มีชื่อ 10 อย่างมีคำว่า จกฺขุเปตํ (รูปนี้เป็นจักษุบ้าง) เป็นต้น. ในรูปาย-
ตนนิทเทสแม้นี้มีชื่อ 3 อย่าง มีคำว่า รูปํเปตํ เป็นต้น (นี้เรียกว่า รูปบ้าง
รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง
). รูปที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ใน
รูปายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระทั้งหลายไว้เหมือนตรัสวาระ 13 วาระ เพื่อ
กำหนดจักษุประดับด้วยนัยวาระ 4 วาระเหมือนกัน ฉะนี้แล.

อรรถกถาสัททายตนนิเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งสัททายตนะต่อไป.
บทว่า เภรีสทฺโท (เสียงกลอง) ได้แก่ เสียงกลองใหญ่และกลอง
ที่เขาตี. แม้เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ ก็เป็นเสียงมีเสียงตะโพน