เมนู

ก็ธรรมดานี้เป็นเช่นไร ก็ธรรมดาช่องหูมีอยู่ในที่ใด ๆ การฟังก็มีแต่
ที่นั้น ๆ เหมือนการเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น เพราะฉะนั้น โสต-
ประสาทนี้ จึงมีอารมณ์เป็นอสัมปัตตะโดยแท้.

จมูกเปรียบด้วยนก


แม้นกก็ไม่ยินดีบนต้นไม้หรือพื้นดิน แต่ในเวลาใดมันโผบินเลยล่วง
การขว้างก้อนดินหนึ่งระยะหรือสองระยะบินขึ้นไปสู่อากาศว่างเปล่า ในเวลานั้น
มันก็จะมีจิตสงบ ฉันใด แม้ฆานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในอากาศ มี
กลิ่นโดยอาศัยลมเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างโค เมื่อฝนตกใหม่ๆ ก็สูดดมแผ่นดิน
แล้วก็เบิ่งหน้าหาอากาศสูดลม และเวลาที่บุคคลแม้เอานิ้วมือจับก้อนที่มีกลิ่น
แล้วสูดดมไม่หันหน้ามาทางลมก็ไม่รู้กลิ่นนั้น.

ลิ้นเปรียบด้วยสุนัขบ้าน


แม้สุนัขบ้านเมื่อเที่ยวไปภายนอก ย่อมไม่เห็นที่ปลอดภัย ย่อมถูก
ประทุษร้ายโดยการถูกขว้างด้วยก้อนดินเป็นต้น เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้วก็คุ้ย
ขี้เถ้าที่เตาไฟก็นอนเป็นสุข ฉันใด แม้ชิวหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัย
ในบ้าน มีรสอาศัยอาโปธาตุเป็นอารมณ์ จริงอย่างนั้น ภิกษุแม้กระทำสมณ-
ธรรมตลอดสามยามแห่งราตรีแล้ว ถือบาตรและจีวรแต่เช้าตรู่เข้าไปสู่บ้าน
เพราะว่าเมื่อของเคี้ยวแห้งไม่เปียกด้วยน้ำลาย ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อรู้รสได้.

กายเปรียบด้วยสุนัขจิ้งจอก


แม้สุนัขจิ้งจอกเมื่อเที่ยวไปภายนอกก็ไม่ประสบความยินดี แต่เมื่อมัน
เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ในป่าช้าผีดิบแล้วนอนนั่นแหละ มันจึงมีความสุขฉันใด

แม้กายก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัยในอุปาทินนกรูป (มีใจครอง) มีโผฏ-
ฐัพพะอาศัยปฐวีธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายเมื่อไม่ได้
อุปาทินนกรูปอื่น ก็เอาฝ่ามือของตนนั่นแหละรองศีรษะนอน ปฐวีธาตุของกาย
บุคคลนั้น แม้อยู่ภายในและภายนอกก็เป็นปัจจัยในการรับอารมณ์. จริงอยู่
ที่นอนแม้ปูไว้อย่างดียังไม่ทันนั่งหรือนอนก็ไม่รู้ความแข็งและอ่อนได้ หรือ
ผลไม้ที่เขาวางไว้บนฝ่ามือยังไม่ทันบีบดูก็ไม่อาจรู้ถึงความแข็งและอ่อนได้.
ปฐวีธาตุที่อยู่ภายในหรือภายนอกจึงเป็นปัจจัยโดยการรู้การกระทบของประสาท
นี้. พึงทราบความไม่ปะปนกันแห่งประสาทรูปเหล่านั้น โดยการกำหนดธรรม
มีลักษณะเป็นอย่างนี้.
จริงอยู่ ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน อารมณ์ อัชฌาสัย
และวัตถุที่อาศัยของจักษุประสาทเป็นอย่างหนึ่ง ของโสตประสาทเป็นต้นก็อย่าง
หนึ่ง เพราะฉะนั้น จักขายตนะเป็นต้น จึงไม่ปะปนกันโดยแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบแม้อุปมาในความที่ประสาทรูปเหล่านั้นไม่
ปะปนกัน ดังต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า เงาแห่งธงทั้งหลาย 5 สี ที่เขายกขึ้นแล้ว เนื่องเป็น
อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้น เงาของธงก็ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อนึ่ง
เมื่อเขาเอาฝ้าย 5 สี ควั่นทำเป็นไส้ประทีป (ตะเกียง) จุดให้ลุกโพลงแล้ว
เปลวไฟดูเหมือนเป็นอันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นเปลวไฟแห่งรัศมีของฝ้าย
นั้น ๆ ก็เป็นคนละอย่าง ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อายตนะ 5 เหล่านี้แม้
รวมกันอยู่ในอัตภาพเดียวกัน แต่ก็ไม่ปะปนกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน ใช่
แต่อายตนะ 5 เหล่านี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้รูปที่เหลือก็ไม่ปะปนกัน.

จริงอยู่

ในสรีระนี้ มีกาย 3 ส่วน

คือ
กายท่อนล่าง 1
กายท่อนกลาง 1
กายท่อนบน 1.
บรรดา 3 ส่วนเหล่านั้น กายในเบื้องต่ำแต่สะดือลงไป ชื่อว่า กาย
ท่อนล่าง
ในกายท่อนล่างนั้นมีรูป 4 รูป คือ กายทสกะ1 10 ภาวทสกะ 10
มีอาหารเป็นสมุฏฐาน 82 มีอุตุเป็นสมุฏฐาน 8 มีจิตเป็นสมุฏฐาน 8. กาย
เบื้องบนตั้งแต่สะเดาขึ้นไปถึงหลุมคอ ชื่อว่า กายท่อนกลาง ในกายท่อน
กลางนั้น มีรูป 54 รูปคือ กายทสกะ 10 ภาวทสกะ 10 วัตถุทสกะ 10
รูปทั้ง 3 มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ 8. กายเบื้องบนแต่
หลุมคอขึ้นไป ชื่อว่า กายท่อนบน. ในกายท่อนบนนั้นมีรูป 84 คือ จักขุ-
ทสกะ 10 โสตทสกะ 10 ฆานทสกะ 10 ชิวหาทสกะ 10 กายทสกะ 10
ภาวทสกะ 10 รูป 3 รูป มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้นอย่างละ 8.
บรรดารูปเหล่านั้น รูปที่ชื่อว่า จักขุทสกะ ด้วยสามารถแห่งนิปผันน-
รูป 10 เป็นรูปที่แยกจากกันแต่ละส่วนไม่ได้ นี้คือ มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัย
แก่จักขุประสาท วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ชีวิตินทรีย์ และจักขุประสาท.
รูปแม้ที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยนี้.
บรรดากาย 3 ส่วนนั้น รูปในกายท่อนล่างไม่ปะปนกับรูปกายท่อน
กลางและรูปกายท่อนบน รูปแม้ในกายที่เหลืออีก 2 ก็ไม่ปะปนกับรูปกาย
นอกนี้. เหมือนอย่างว่า เงาภูเขา และเงาต้นไม้ในเวลาเย็น ดุจเนื่องเป็น
1. กายทสกะ 10 คือ มหาภูตรูป 4 วรรณะ 1 คันธะ 1 รสะ 1 โอชา 1 ชีวิตรูป 1 กาย-
ประสาท 1.
2. อาหารสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ 8 ได้แก่ อวินิโภครูป 8 มีปฐวีเป็นต้น มีโอชาเป็นที่สด.