เมนู

อารมณ์ที่มาถึงตน) เพราะความที่อุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ ซึ่งติดกับ
มหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของตน โดยอำนาจแห่งวัตถุที่อาศัย และโดยตนเอง
นั่นแหละ.
แต่ในอรรถกถากล่าวว่า อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ ที่มาถึงตน
เพราะความที่อารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุและโสตทีเดียว. จริงอยู่ สี (วรรณะ)
ของมณฑลแห่งพระจันทร์และอาทิตย์ตั้งอยู่ไกลถึง 42,000 โยชน์ ก็ยังกระทบ
จักขุประสาท สีนั้นแม้ปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลก็ชื่อว่า สัมปัตตะ เหมือนกัน.
จักษุชื่อว่ามีอารมณ์ที่มาถึง (สัมปัตตะ) เพราะความที่สีนั้นเป็นอารมณ์ทีเดียว.
กายวิการของบุคคลทั้งหลายที่ติดต้นไม้อยู่ในที่ไกลก็ดี ของช่างย้อมผู้ซักผ้าอยู่
ก็ดี ย่อมปรากฏแม้แต่ที่ไกล. แต่เสียงมาโดยการสืบต่อ ๆ กันมาแห่งธาตุ
กระทบโสตแล้วก็ค่อย ๆ สลายไป ดังนี้.
ในอรรถกถานั้น อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ (ที่มาถึงตน) เพราะความ
ที่อารมณ์นั้นมาสู่คลองก็จริง ถึงอย่างนั้น สีของมณฑลพระจันทร์เป็นต้นก็ไม่มา
ถึงจักษุ ย่อมปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลนั่นแหละ แม้เสียงพึงค่อย ๆ มาไซร้ เกิด
ในที่ไกลก็พึงได้ยินช้า เพราะมาโดยกระทบต่อ ๆ กันมา เมื่อกระทบโสต ก็ไม่
ปรากฏว่าชื่อว่าเสียงนั้นอยู่ในทิศชื่อโน้น เพราะฉะนั้น จักษุและโสตจึงมีอารมณ์
เป็นอสัมปัตตะ (มาไม่ถึง) นั้นแหละ.

ตาเปรียบด้วยงู


ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่า
ขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่ต้นไม้
ใบหญ้าชัฏและจอมปลวกนั่นแหละย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อมถึงความเป็น
สัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในสิ่งไม่