เมนู

โผฏฺฐพฺเพสุ อาวิญฺจนรโส มีการคร่าโผฏฐัพพะทั้งหลายมาเป็นกิจ กาย-
วิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺฐาโน
มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณเป็น
ปัจจุปัฏฐาน ผุสิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺฐาโน มีภูตรูปเกิดแต่กรรม
เป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะกระทบเป็นปทัฏฐาน.

ว่าด้วยวาทะของอาจารย์บางพวก


ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปทั้งหลายที่มีเตโชธาตุมาก
เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปทั้งหลายที่มีวาโยมาก ปฐวีมาก และ
อาโปมาก เป็นโสต เป็นฆานะ และเป็นชิวหา ประสาทของภูตรูปทั้งหมด
(ทั้ง 4) เป็นกาย.
ปรวาทีอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปยิ่งด้วยเตโชธาตุ
เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปยิ่งด้วยวาโยธาตุในช่องหู ยิ่งด้วยอาโปธาตุ
ยิ่งด้วยปฐวีธาตุ ก็เป็นโสต เป็นฆานะ เป็นชิวหา เป็นกาย. อาจารย์ทั้งหลาย
พึงกล่าวท้วงอาจารย์ปรวาทีเหล่านั้นว่า ขอจงนำพระสูตรมาอ้าง. เป็นการ
แน่นอน ท่านปรวาทีอาจารย์เหล่านั้นจักไม่เห็นพระสูตรเลย. แต่อาจารย์
บางพวกก็ยังกล่าวถึงเหตุในประสาทรูปเหล่านี้ว่า เพราะความที่ภูตรูปมีเตโชธาตุ
เป็นต้น พึงอุปการะด้วยรูปทั้งหลายที่มีคุณ. พึงท้วงเกจิอาจารย์เหล่านั้นว่า
ก็ใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นต้นเป็นคุณของภูตรูปมีเตโชธาตุเป็นต้น เพราะ
ในอวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ 8 อย่าง) ทั้งหลาย ใคร ๆ ย่อมไม่
ได้เพื่อจะกล่าวว่า ในภูตรูปเหล่านั้น รูปนี้เป็นคุณของรูปนี้ รูปนี้เป็นคุณของ
รูปนี้ ดังนี้.
ถ้าปรวาทีนั้นจะพึงโต้กะสกวาทีว่า พวกท่านย่อมปรารถนากิจทั้งหลาย
มีการทรงไว้เป็นต้น แห่งปฐวีธาตุเป็นต้น เพราะความที่ภูตรูปนั้น ๆ ในสัมภาระ

นั้น ๆ เป็นของยิ่ง ฉันใด ข้อที่พวกที่พึงปรารถนาว่า รูปทั้งหลายเป็นคุณ
ของภูตรูปเหล่านั้น เพราะแสดงความที่รูปเป็นต้นในสัมภาระอันยิ่งด้วยเตโชธาตุ
เป็นต้นเป็นของมีมาก ก็ฉันนั้น.
สกวาทีพึงท้วงปรวาทีนั้นว่า พวกเราปรารถนา ถ้าว่า กลิ่นในฝ้ายใน
ปฐวีธาตุพึงมีมากกว่ากลิ่นของน้ำผักดองอันมีอาโปธาตุมาก และสีของน้ำเย็น
ก็พึงมีสีมากกว่าแม้ของน้ำร้อนอันมีเตโชธาตุมาก แต่คำที่กล่าวแล้วทั้ง 2 นี้หา
มีไม่ เพราะฉะนั้น ขอพวกท่านพึงละการกำหนดความต่างกันแห่งจักษุเป็นต้น
อันเป็นที่อาศัยนั้นเถิด รูปและรสเป็นต้นแม้ไม่แปลกกันของภูตรูปทั้งหลาย แต่
ก็มิใช่เป็นอย่างเดียวกัน ฉันใด ข้อที่ท่านจะพึงถือเอาว่าเมื่อเหตุแปลกกันอื่น ๆ
มีอยู่ ก็ไม่พึงถือเอาประสาทมีจักษุเป็นต้น ฉันนั้น.
ถามว่า ก็เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่กันและกันนั้นได้แก่อะไร.
ตอบว่า ได้แก่ กรรมเท่านั้นเป็นเหตุต่างกันของประสาทรูปเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น ความต่างกันแห่งประสาทรูปเหล่านี้ เพราะความต่างกันแห่งกรรม
หาใช่ความต่างกันของภูตรูปไม่. เพราะว่า เมื่อความต่างกันแห่งภูตรูปมีอยู่
ประสาทรูปนั่นแหละจะไม่เกิดขึ้น โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ก็ประสาท
รูปของมหาภูตรูปทั้งหลายที่เหมือนกันหาใช่ของมหาภูตรูปที่ไม่เหมือนกันไม่.
ก็บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ ที่มีความต่างกันเพราะความต่างกันแห่ง
กรรม จักษุและโสตเป็นอสัมปัตตวิสยคาหกะ (คือรับอารมณ์ที่มาไม่ถึง)
เพราะอุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ อันมีที่อาศัยไม่ติดกับมหาภูตรูปอัน
เป็นที่อาศัยของตน ฆานะ ชิวหา และกายเป็นสัมปัตตวิสยคาหกะ (รับ

อารมณ์ที่มาถึงตน) เพราะความที่อุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ ซึ่งติดกับ
มหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของตน โดยอำนาจแห่งวัตถุที่อาศัย และโดยตนเอง
นั่นแหละ.
แต่ในอรรถกถากล่าวว่า อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ ที่มาถึงตน
เพราะความที่อารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุและโสตทีเดียว. จริงอยู่ สี (วรรณะ)
ของมณฑลแห่งพระจันทร์และอาทิตย์ตั้งอยู่ไกลถึง 42,000 โยชน์ ก็ยังกระทบ
จักขุประสาท สีนั้นแม้ปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลก็ชื่อว่า สัมปัตตะ เหมือนกัน.
จักษุชื่อว่ามีอารมณ์ที่มาถึง (สัมปัตตะ) เพราะความที่สีนั้นเป็นอารมณ์ทีเดียว.
กายวิการของบุคคลทั้งหลายที่ติดต้นไม้อยู่ในที่ไกลก็ดี ของช่างย้อมผู้ซักผ้าอยู่
ก็ดี ย่อมปรากฏแม้แต่ที่ไกล. แต่เสียงมาโดยการสืบต่อ ๆ กันมาแห่งธาตุ
กระทบโสตแล้วก็ค่อย ๆ สลายไป ดังนี้.
ในอรรถกถานั้น อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ (ที่มาถึงตน) เพราะความ
ที่อารมณ์นั้นมาสู่คลองก็จริง ถึงอย่างนั้น สีของมณฑลพระจันทร์เป็นต้นก็ไม่มา
ถึงจักษุ ย่อมปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลนั่นแหละ แม้เสียงพึงค่อย ๆ มาไซร้ เกิด
ในที่ไกลก็พึงได้ยินช้า เพราะมาโดยกระทบต่อ ๆ กันมา เมื่อกระทบโสต ก็ไม่
ปรากฏว่าชื่อว่าเสียงนั้นอยู่ในทิศชื่อโน้น เพราะฉะนั้น จักษุและโสตจึงมีอารมณ์
เป็นอสัมปัตตะ (มาไม่ถึง) นั้นแหละ.

ตาเปรียบด้วยงู


ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่า
ขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่ต้นไม้
ใบหญ้าชัฏและจอมปลวกนั่นแหละย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อมถึงความเป็น
สัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในสิ่งไม่