เมนู

เหตุนั้น ธรรม (จักขุวิญญาณ) นี้ จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์. พึงทราบ
นัยที่ทรงกำหนดนัยละ 4 วาระ ในวาระทั้ง 10 แม้เหล่านั้น เหมือนใน 3 วาระ
แรก.
จักษุที่ทรงยกขึ้นแสดงเพื่อถามว่า รูปที่ชื่อว่า จักขายตนะ เป็นไฉน ?
ดังนี้ เพื่อแสดงคำว่า อิทนฺตํ (รูปนี้นั้น) โดยประการต่าง ๆ จึงแสดงนิทเทส-
วาร 13 คือ นัยก่อน 3 วาระ นัยนี้ 10 วาระ. ก็ในวาระ 13 เหล่านี้ แต่
ละวาระพึงทราบว่า ทรงแสดงประดับนัยไว้ 52 นัย เพราะการกำหนดวาระ
ละ 4 นัย ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งโสตายตนะเป็นต้น ข้างหน้าแต่จักขุนิทเทส
นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในโสตายตนนิทเทสเป็นต้นนี้ พึงทราบคำที่ต่างกัน
อย่างนี้.

ว่าด้วยคำว่าโสตเป็นต้น


ธรรมที่ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน. โสตนั้นตั้งอยู่ในประเทศ
มีสัณฐานดังวงแหวน มีขนแดงละเอียดงอกขึ้นภายในช่องแห่งสสัมภารโสต
(หูพร้อมด้วยเครื่องประกอบ) อันธาตุทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วอุปกา-
ระ อันอุตุจิตและอาหารคอยอุปถัมภ์ อันอายุคือ ชีวิตรูป คอยอนุบาล อัน
โคจรรูปมีวรรณะเป็นต้น แวดล้อมแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุ และทวาร
แก่โสตวิญญาณเป็นต้นตามสมควร.
ธรรมที่ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ย่อมสูดกลิ่น. ฆานะที่เป็น
ประสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังกีบเท้าแพะภายในช่องสสัมภาร-
ฆานะ (ช่องจมูกพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้รับอุปการะอุปถัมภ์อนุบาล
และการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร แก่ฆาน-
วิญญาณเป็นต้น ตามสมควร.

ธรรมที่ชื่อว่า ชิวหา ด้วยอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหาที่เป็นปสาทรูปนั้น
ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบอุบล เบื้องบนท่ามกลางสสัมภารชิวหา
(ลิ้นพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และการแวดล้อม
ตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จเป็นวัตถุและทวารแห่งชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตามควร.
แต่ในกายนี้ ชื่อว่า อุปาทินนกรูป มีประการเพียงใด กายายตนะก็
ตั้งอยู่ในกายทั้งสิ้น เหมือนยางใยในฝ้ายได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และ
การแวดล้อมตามประการที่กล่าวแล้ว ก็ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารแก่
กายวิญญาณเป็นต้น ตามควร. นี้เป็นความต่างกันในอุปาทารูปเหล่านี้. ความ
แตกต่างกันแห่งพระบาลีและอรรถกถาที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุ
นิทเทสนั่นแหละ. ก็ในที่นี้ บทว่า โสตเป็นต้นมาในที่แห่งบทจักษุ บทว่า
เสียงเป็นต้นมาในที่บทแห่งรูป บทได้ยินเป็นต้นมาในที่แห่งบททั้งหลายมีเห็น
แล้วอย่างเดียว อนึ่ง 2 บทนี้คือ รูปนี้ชื่อว่า เนตรบ้าง นี้ชื่อว่า นัยนา
บ้าง
ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงมีวัตถุและทวารอย่างละ 12 ชื่อ. คำที่เหลือเป็น
เช่นกับคำที่กล่าวไว้ในบททั้งปวงนั้นแหละ.
ในอธิการแห่งกายายตนะนั้น ผิว่ามีผู้ท้วงว่า ชื่อว่า อุปาทินนก-
รูปนี้ มีอยู่ในกายนี้เพียงใด กายายตนะก็มีอยู่ในกายทั้งสิ้น ดุจยางใยในปุยฝ้าย
ผิว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมถึงการปะปนกันด้วยลักษณะ (ในกลาปอื่น). ตอบว่า
ไม่ปรากฏปะปนกัน (ในกลาปอื่น). เพราะเหตุไร ? เพราะความไม่มีในกลาป
อื่นของกันและกัน. ถามว่า ถ้าอย่างนั้นกายายตนะก็ไม่มีในกายทั้งปวง. ตอบว่า
โดยปรมัตถ์ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดท่านไม่ได้แยกกายไว้ต่างหาก แต่เหตุแห่ง
การต่างกันของอุปาทินนกรูปนั้นใคร ๆ ไม่อาจเพื่อบัญญัติได้ เพราะฉะนั้น
จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้.

เหมือนอย่างว่า รูปและรสเป็นต้น ที่กล่าวว่าเป็นของซึมซาบอยู่
ในกันและกัน เพราะความที่รูปและรสนั้นใคร ๆ ไม่อาจแยกจากกันได้ดุจ
ผงทรายละเอียด แต่โดยปรมัตถ์ รสก็หามีในรูปไม่ ถ้าจะพึงมีไซร้ รสก็พึง
ปรากฏด้วยศัพท์ว่ารูปเหมือนกัน ฉันใด แม้กายายตนะก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่ในกาย (อุปาทินนกรูป) ทั้งหมด และไม่มีในกายทั้งหมด
ก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีใครอาจเพื่อจะแบ่งออกได้ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
ความปะปนกันด้วยลักษณะในที่นี้ จึงไม่ปรากฏด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความไม่ปะปนกันของประสาทรูปเหล่านี้ โดย
กำหนดด้วยลักษณะเป็นต้น. จริงอยู่ บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ รูปาภิฆา-
ตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺฐานภูตปฺปสา-
ทลกฺขณํ วา จกฺขุ
จักษุมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบรูปเป็น
ลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน อันเป็นเหตุของบุคคล
ผู้ต้องการจะดูเป็นลักษณะ รูเปสุ อาวิญฺจนรสํ มีการคร่ารูปทั้งหลายมา
เป็นกิจ จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฺฐานํ มีการทรงอยู่ของ
จักขุวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺฐานํ
มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดูเป็นปทัฏฐาน.
สทฺทาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ โสตุกามตานิทานกมฺม-
สมุฏฺฐานภูตปฺปสาทลกฺขณํ วา โสตํ
โสตมีความใสแห่งภูตรูปอันควรแก่
การกระทบเสียงเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอันมีกรรมเป็นสมุฏฐาน
อันเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะฟังเป็นลักษณะ สทฺเทสุ อาวิญฺจนรสํ
มีการคร่าเสียงทั้งหลายมาเป็นกิจ โสตวิญฺญาณสฺศ อาธารภาวปจฺจุ-

ปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน โสตุกามตานิทาน
กมฺมชภูตปทฏฐานํ มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะ
ฟังเป็นปทัฏฐาน.
คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ ฆายิตุกามตานิทานกมฺมช
สมุฏฺฐานภูตปฺปสาทลกฺขณํ วา ฆานํ
ฆานะมีความใสของภูตรูปอันควรแก่
การกระทบของกลิ่นเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏ-
ฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็นลักษณะ คนฺเธสุ อาวิญฺจนรสํ มี
การคร่ากลิ่นทั้งหลายมาเป็นกิจ ฆานวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺฐานํ
มีการทรงอยู่ของฆานวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ฆายิตุกามตานิทานกมฺมช
ภูตปทฏฺฐานํ
มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็น
ปทัฏฐาน.
รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณา สายิตุกามตานิทานกมฺมช
สมุฏฺฐานภูตปฺปสาทลกฺขณา ชิวฺหา
ลิ้นมีความใสของภูตรูปอันควรแก่
การกระทบรสเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน
เป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็นลักษณะ รเสสุ อาวิญฺจนรสา มีการ
คร่ารสทั้งหลายมาเป็นกิจ ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺฐานา

มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน สายิตุกามตานิทานกมฺมช
ภูตปทฏฺฐานา
มีภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็น
ปทัฏฐาน.
โผฏฺฐพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขโณ ผุสิตุกามตานิทาน
กมฺมชสมุฏฺฐานภูตปฺปสาทลกฺขโน วา กาโย
กายมีความใสของภูตรูป
อันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอัน
เกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะถูกต้องเป็นลักษณะ

โผฏฺฐพฺเพสุ อาวิญฺจนรโส มีการคร่าโผฏฐัพพะทั้งหลายมาเป็นกิจ กาย-
วิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺฐาโน
มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณเป็น
ปัจจุปัฏฐาน ผุสิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺฐาโน มีภูตรูปเกิดแต่กรรม
เป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะกระทบเป็นปทัฏฐาน.

ว่าด้วยวาทะของอาจารย์บางพวก


ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปทั้งหลายที่มีเตโชธาตุมาก
เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปทั้งหลายที่มีวาโยมาก ปฐวีมาก และ
อาโปมาก เป็นโสต เป็นฆานะ และเป็นชิวหา ประสาทของภูตรูปทั้งหมด
(ทั้ง 4) เป็นกาย.
ปรวาทีอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปยิ่งด้วยเตโชธาตุ
เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปยิ่งด้วยวาโยธาตุในช่องหู ยิ่งด้วยอาโปธาตุ
ยิ่งด้วยปฐวีธาตุ ก็เป็นโสต เป็นฆานะ เป็นชิวหา เป็นกาย. อาจารย์ทั้งหลาย
พึงกล่าวท้วงอาจารย์ปรวาทีเหล่านั้นว่า ขอจงนำพระสูตรมาอ้าง. เป็นการ
แน่นอน ท่านปรวาทีอาจารย์เหล่านั้นจักไม่เห็นพระสูตรเลย. แต่อาจารย์
บางพวกก็ยังกล่าวถึงเหตุในประสาทรูปเหล่านี้ว่า เพราะความที่ภูตรูปมีเตโชธาตุ
เป็นต้น พึงอุปการะด้วยรูปทั้งหลายที่มีคุณ. พึงท้วงเกจิอาจารย์เหล่านั้นว่า
ก็ใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นต้นเป็นคุณของภูตรูปมีเตโชธาตุเป็นต้น เพราะ
ในอวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ 8 อย่าง) ทั้งหลาย ใคร ๆ ย่อมไม่
ได้เพื่อจะกล่าวว่า ในภูตรูปเหล่านั้น รูปนี้เป็นคุณของรูปนี้ รูปนี้เป็นคุณของ
รูปนี้ ดังนี้.
ถ้าปรวาทีนั้นจะพึงโต้กะสกวาทีว่า พวกท่านย่อมปรารถนากิจทั้งหลาย
มีการทรงไว้เป็นต้น แห่งปฐวีธาตุเป็นต้น เพราะความที่ภูตรูปนั้น ๆ ในสัมภาระ