เมนู

บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกานของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญ คาม
บ้าง
(บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วย
อรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ 14 อย่าง มีคำว่า
จกฺขุเปตํ (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท 4* บท มีคำว่า ปสฺสิ วา
(เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่อง
กำหนดจักขายตนะไว้ 4 บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบว่า ก็ใน
พระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า
สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็น
สิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้
นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ


บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้นแม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็
ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศ
อาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า
รูปํ นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺญิ วา (กระทบ
แล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺญติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อ
ความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺญิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความ
อนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเญ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.
* 4 บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น
หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.

จริงอยู่ รูปอดีต ชื่อว่า กระทบแล้ว แม้ในจักษุที่เป็นอดีต. รูป
ที่เป็นปัจจุบันก็ชื่อว่า ย่อมกระทบในจักษุที่เป็นปัจจุบัน. รูปที่เป็นอนาคต ก็
ชื่อว่า จักกระทบในจักษุที่เป็นอนาคต. ในพระบาลีนี้มีเนื้อความกำหนดไว้ว่า
ถ้ารูปนั้นพึงมาสู่คลองจักษุไซร้ รูปนั้นก็พึงกระทบในจักษุ ดังนี้. แต่เมื่อว่า
โดยใจความแล้ว รูปเมื่อกำลังกระทบซึ่งประสาทเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทบ.
แม้ในอธิการนี้ พึงทราบนัยทั้ง 4 โดยนัยที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงประกาศอาการที่บุคคลประสงค์
จะแลดูด้วยความปรารถนาของตน จึงหันจักษุไปทางรูป จักษุจึงกระทบรูปนั้น
จึงเริ่มตรัสนิทเทสวารที่ 3 ต่อไป. ว่าโดยใจความนิเทสวารที่ 3 นั้น แจ่มแจ้ง
แล้วโดยแท้ แต่ในอธิการนี้ จักษุรับอารมณ์แล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อม
กระทบในรูป.
บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งการกำหนด 4 อย่าง แม้ในนิทเทส
ที่ 3 นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป ทรงแสดงวาระ 10 คือ ธรรม 5 ด้วยสามารถแห่ง
การแสดงความเกิดผัสสปัญจกะ และธรรม 5 ด้วยสามารถแห่งการแสดงการเกิด
ขึ้นโดยมีอารมณ์เกี่ยวเนื่องกันแห่งธรรมหมวด 5 มีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ นิสฺสาย (อาศัยจักษุ) ได้แก่
อาศัยจักษุ คือกระทำจักษุให้เป็นปัจจัย. บทว่า รูปํ อารพฺภ (ปรารภรูป)
ได้แก่ มาถึง คือมุ่งหมายอาศัยรูปารมณ์. ด้วยพระบาลีนี้ทรงแสดงความที่รูป
เป็นปัจจัย โดยความเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่อาศัยจักขุ
ประสาท และโดยเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัยซึ่งนับเนื่อง
ในชวนวิถีทางจักขุทวาร. ใน 5 วาระนอกนี้ ทรงแสดงความที่รูปเป็นปัจจัย
โดยเป็นเพียงอารัมมณปัจจัยอย่างนี้ว่า รูปเป็นอารมณ์ของธรรมนี้มีอยู่ เพราะ

เหตุนั้น ธรรม (จักขุวิญญาณ) นี้ จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์. พึงทราบ
นัยที่ทรงกำหนดนัยละ 4 วาระ ในวาระทั้ง 10 แม้เหล่านั้น เหมือนใน 3 วาระ
แรก.
จักษุที่ทรงยกขึ้นแสดงเพื่อถามว่า รูปที่ชื่อว่า จักขายตนะ เป็นไฉน ?
ดังนี้ เพื่อแสดงคำว่า อิทนฺตํ (รูปนี้นั้น) โดยประการต่าง ๆ จึงแสดงนิทเทส-
วาร 13 คือ นัยก่อน 3 วาระ นัยนี้ 10 วาระ. ก็ในวาระ 13 เหล่านี้ แต่
ละวาระพึงทราบว่า ทรงแสดงประดับนัยไว้ 52 นัย เพราะการกำหนดวาระ
ละ 4 นัย ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งโสตายตนะเป็นต้น ข้างหน้าแต่จักขุนิทเทส
นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในโสตายตนนิทเทสเป็นต้นนี้ พึงทราบคำที่ต่างกัน
อย่างนี้.

ว่าด้วยคำว่าโสตเป็นต้น


ธรรมที่ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน. โสตนั้นตั้งอยู่ในประเทศ
มีสัณฐานดังวงแหวน มีขนแดงละเอียดงอกขึ้นภายในช่องแห่งสสัมภารโสต
(หูพร้อมด้วยเครื่องประกอบ) อันธาตุทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วอุปกา-
ระ อันอุตุจิตและอาหารคอยอุปถัมภ์ อันอายุคือ ชีวิตรูป คอยอนุบาล อัน
โคจรรูปมีวรรณะเป็นต้น แวดล้อมแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุ และทวาร
แก่โสตวิญญาณเป็นต้นตามสมควร.
ธรรมที่ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ย่อมสูดกลิ่น. ฆานะที่เป็น
ประสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังกีบเท้าแพะภายในช่องสสัมภาร-
ฆานะ (ช่องจมูกพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้รับอุปการะอุปถัมภ์อนุบาล
และการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร แก่ฆาน-
วิญญาณเป็นต้น ตามสมควร.