เมนู

บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกานของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญ คาม
บ้าง
(บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วย
อรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ 14 อย่าง มีคำว่า
จกฺขุเปตํ (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท 4* บท มีคำว่า ปสฺสิ วา
(เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่อง
กำหนดจักขายตนะไว้ 4 บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบว่า ก็ใน
พระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า
สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็น
สิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้
นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ


บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้นแม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็
ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศ
อาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า
รูปํ นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺญิ วา (กระทบ
แล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺญติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อ
ความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺญิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความ
อนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเญ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.
* 4 บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น
หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.