เมนู

เป็นอนุปาทาก็มี) ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตมนฺตํ รูปํ อุปาทา (รูป
เป็นอุปาทานั้น เป็นไฉน) ดังนี้. ในพระบาลีนั้น รูปที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะ
อรรถว่า อาศัย อธิบายว่า อุปาทารูปนั้นถือเอามหาภูตรูปมั่นไม่ปล่อยวาง
คือย่อมอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป.

ว่าด้วยจักขายตนะ


บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้นโดยประเภทต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
จกฺขายตนํ (จักขายตนะ) ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยกอุปาทารูป 23
อย่างขึ้นแสดงโดยสังเขปแล้วเมื่อจะแสดงอุปาทารูปนั่นนั่นแหละโดยพิสดารอีก
จึงตรัสว่า กตมนฺตํ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปที่เรียกว่า จักขายตนะนั้นเป็นไฉน)
เป็นต้น.
ในคำว่า จักขายตนะ นั้น จักษุมี 2 อย่าง คือ มังสจักษุ และ
ปัญญาจักษุ ในมังสจักษุและปัญญาจักษุนั้น

ปัญญาจักษุมี 5 อย่าง

คือ
พุทธจักษุ จักษุของพระพุทธเจ้า
สมันตจักษุ ได้แก่สัพพัญญุตญาณ
ทิพยจักษุ ดวงตาเห็นธรรม
ทิพยจักษุ ตาทิพย์
ธรรมจักษุ มรรคเบื้องต่ำ 3.
บรรดาปัญญาจักษุ 5 เหล่านั้น จักษุที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย
ฯลฯ ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี นี้ชื่อว่า พุทธจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า สัพ-
พัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ นี้ชื่อว่า สมันตจักษุ.2 จักษุที่ตรัสไว้ว่า
1. ม. มู. เล่ม 12. 323/325. 2. ขุ. จฬนิทฺเทส. เล่ม 30. 492/242