เมนู

พวกชาวโกศลทั้งหมดจงมา พวกชาวมคธทั้งหมดจงมา พวกช่างไม้ทั้งหมด
จงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สงเคราะห์ลงในสมาธิขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสงเคราะห์.
สังคหะ คือการสงเคราะห์ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ สิ่งทั้งหมด
ถึงการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน โดยฐานะแห่งสัญชาติ โดยที่อยู่อาศัย
เหมือนในที่กล่าวว่าผู้เกิดในที่เดียวกัน เกี่ยวข้องกันโดยชาติในที่ทั้งปวงจงมา
นายหัตถาจารย์ทั้งปวงจงมา นายอัสสาจารย์ทั้งปวงจงมา นายรถทั้งปวงจงมา
และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สงเคราะห์ลงในปัญญาขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสงเคราะห์. เพราะสิ่งทั้งปวง
เหล่านี้ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกันด้วยเหตุ คือการกระทำของตน.
สังคหะคือการนับสงเคราะห์ที่กล่าวไว้ว่า จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน ? จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ถ้าว่า
จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์ในรูปขันธ์ไซร้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านก็ต้องกล่าว
ว่า จักขายตนะนับสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า คณนสงเคราะห์.
ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาคณนสงเคราะห์ เพราะการนับสงเคราะห์นี้ ท่าน
อธิบายว่า ได้แก่ การนับรูปโดยส่วนเดียว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

อรรถกถาแสดงทุกนิทเทส


ว่าด้วยจำแนกบทอุปาทา


บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงจำแนกบทคำถามที่วางไว้เป็นประธานบทแรก
เพราะสภาพแตกต่างกันในการสงเคราะห์รูปหมวดละ 2 เป็นต้น อย่างนี้ว่า
อตฺถิ รูปํ อุปาทา อตฺถิ รูปํ โน อุปาทา (รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปที่

เป็นอนุปาทาก็มี) ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตมนฺตํ รูปํ อุปาทา (รูป
เป็นอุปาทานั้น เป็นไฉน) ดังนี้. ในพระบาลีนั้น รูปที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะ
อรรถว่า อาศัย อธิบายว่า อุปาทารูปนั้นถือเอามหาภูตรูปมั่นไม่ปล่อยวาง
คือย่อมอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป.

ว่าด้วยจักขายตนะ


บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้นโดยประเภทต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
จกฺขายตนํ (จักขายตนะ) ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยกอุปาทารูป 23
อย่างขึ้นแสดงโดยสังเขปแล้วเมื่อจะแสดงอุปาทารูปนั่นนั่นแหละโดยพิสดารอีก
จึงตรัสว่า กตมนฺตํ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปที่เรียกว่า จักขายตนะนั้นเป็นไฉน)
เป็นต้น.
ในคำว่า จักขายตนะ นั้น จักษุมี 2 อย่าง คือ มังสจักษุ และ
ปัญญาจักษุ ในมังสจักษุและปัญญาจักษุนั้น

ปัญญาจักษุมี 5 อย่าง

คือ
พุทธจักษุ จักษุของพระพุทธเจ้า
สมันตจักษุ ได้แก่สัพพัญญุตญาณ
ทิพยจักษุ ดวงตาเห็นธรรม
ทิพยจักษุ ตาทิพย์
ธรรมจักษุ มรรคเบื้องต่ำ 3.
บรรดาปัญญาจักษุ 5 เหล่านั้น จักษุที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย
ฯลฯ ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี นี้ชื่อว่า พุทธจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า สัพ-
พัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ นี้ชื่อว่า สมันตจักษุ.2 จักษุที่ตรัสไว้ว่า
1. ม. มู. เล่ม 12. 323/325. 2. ขุ. จฬนิทฺเทส. เล่ม 30. 492/242