เมนู

ว่าด้วยวิธศัพท์


วิธศัพท์ในพระบาลีว่า เอวํ เอกวิเธน รูปสงฺคโห (สงเคราะห์
รูปเป็นหมวดหนึ่งอย่างนี้) นี้ใช้ในความหมายถึง มานะ สัณฐาน และ
โกฏฐาส.
จริงอยู่ มานะ ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า เสยฺโยหมสฺมีติ
วิธา สทิโสหมสฺมีติ วิธา
มานะว่า เราดีกว่าเขา มานะว่า เราเสมอ
เขา ดังนี้. สัณฐาน ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า กถํ วิธํ สีลวนฺตํ
วทนฺติ กถํ วิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ
(บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนมีสัณฐาน
อย่างไรว่า มีศีล เรียกคนมีสัณฐานอย่างไรว่า มีปัญญา) เพราะบทว่า กถํ
วิธํ
มีเนื้อความเหมือนบทว่า กถํ สณฺฐิตํ. โกฏฐาส ชื่อว่า วิธา ดุจ
ในประโยคมีอาทิว่า เอกวิเธน ญาณวตฺถุ ทุวิเธน ญาณวตฺถุ ญาณวัตถุ
หมวด 1 ญาณวัตถุหมวด 2. แม้ในอธิการนี้ก็ทรงประสงค์เอาโกฏฐาส.

ว่าด้วยสังคหศัพท์


แม้ใน สังคหสงเคราะห์ศัพท์ ก็มี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ชาติ
สงเคราะห์ สัญชาติสงเคราะห์ กิริยาสงเคราะห์ และคณนสงเคราะห์.

ในสังคหะทั้ง 4 เหล่านั้น สังคหะ คือการสงเคราะห์ นี้ว่า ขอกษัตริย์
ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้งปวงจงมา ขอแพทย์ทั้งปวงจงมา ขอศูทรทั้งปวง
จงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงในศีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสงเคราะห์.
สังคหะ คือการสงเคราะห์นี้ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ ทั้งหมด
ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกัน ดุจในคำที่กล่าวว่า ผู้มีชาติเดียวกันจงมา