เมนู

[538] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก
ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้น ๆ ในชนบทใด ๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยง
ชีวิตด้วยโอชาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กพฬิงการาหาร.
รูปทั้งนี้ เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.
อุปาทาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวาร ในรูปกัณฑ์ จบ

อรรถกถาแสดงรูปวิภัตติ


ว่าด้วยเอกกนิทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกเนื้อความแห่งรูป-
วิภัตติ (มาติกา) นั้น จึงเริ่มตรัสคำมีอาทิว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุเมว (รูป
ทั้งหมดไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) ดังนี้.
ถามว่า ก็ในเอกกนิทเทสนี้ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้
กระทำคำถามว่า รูปทั้งหมดนั้นมิใช่เหตุเป็นไฉน ดังนี้เล่า.
ตอบว่า เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.
จริงอยู่ ในเอกกนิทเทสนี้ ในข้อที่แตกต่างกันอย่างนี้ว่า รูปทั้งหมด
มิใช่เหตุบ้าง มิใช่เป็นเหตุบ้าง เหมือนในรูปทุกะเป็นต้น ซึ่งเป็นอุปาทารูป
บ้าง เป็นอนุปาทารูปบ้าง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ทรงจำแนกคำถามไว้

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพํ (ทั้งหมด) ได้แก่ทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือ.
คำว่า รูปํ (รูป) ทรงขยายความถึงสามัญลักษณะอันแสดงถึงความ
ที่รูปต้องแปรผันไปด้วยวิโรธิปัจจัย (ปัจจัยที่เป็นข้าศึกกัน) มีความเย็นเป็นต้น.
คำว่า น เหตุเมว (ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) นี้ ทรงขยายความถึงการ
ปฏิเสธเหตุทั่วไป. ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น

เหตุมี 4 อย่าง

คือ
เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล
ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย
อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน
สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์.
บรรดาเหตุทั้ง 4 เหล่านั้น เหตุนี้คือ กุศลเหตุ 3 (อโลภะ อโทสะ
อโมหะ)
อกุศลเหตุ 3 และอัพยากฤตเหตุ 3 ชื่อว่า เหตุเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป เหล่านี้เป็นเหตุ มหาภูต
รูป เหล่านั้นเป็นปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์นี้ ชื่อว่า ปัจจยเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมเป็นเหตุสูงสุด ในฐานะแห่งการให้ผล
ของตน อิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งกุศลวิบาก อนิฏฐารมณ์เป็น
เหตุสูงสุดในฐานะแห่งอกุศลวิบาก ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ตถาคตย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุ ดังนี้ ชื่อว่า อุตตมเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้
เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไป
แม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า
ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็
เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่า
สาธารณเหตุ.