เมนู

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ
สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ
อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อรรถกถาแสดงนิทเทสวาร


พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตในนิทเทสวารก่อน.
สองบทนี้ที่ตรัสว่า สณฺฐิติ (ความดำรงอยู่) อวฏฺฐิติ (ความมั่น
อยู่) เป็นคำไวพจน์ของบท ฐิติ (ความตั้งอยู่) นั่นแหละ ส่วนคำใดที่กล่าวไว้
ในนิทเทสแห่งกุศลว่า ชื่อว่า อวฏฺฐิติ (ความมั่นอยู่) เพราะอรรถว่า หยั่งลง
คือเข้าไปสู่อารมณ์แล้วตั้งอยู่ ดังนี้ คำนั้นไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะว่า
ในอกุศล เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังทราม เพราะฉะนั้น สองบทว่า (สณฺฐิติ
และอวฏฐิติ)
นี้ ข้าพเจ้าแสดงไว้ในบทหลังตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.
ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาโร (ความไม่ส่ายไปแห่งจิต) เพราะเป็น
สภาพตรงกันข้ามกับความส่ายไป ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา
เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ จึงไม่ได้อรรถะแม้เช่นนี้ แต่ในสหชาต-
ธรรม จิตชื่อว่า อวิสาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ส่ายไป. ที่ชื่อว่า อวิกเขปะ

(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ฟุ้งไป. ภาวะแห่งใจที่ไม่ส่ายไปด้วย
สามารถเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นอกุศล ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา (ภาวะที่จิต
ไม่ส่ายไป). ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรม
ทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริง พึงทราบ
เนื้อความในอธิการแห่งอกุศลนี้ อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ต่อไป.
นัยมีอาทิว่า ก็นี้เป็นความบากบั่นเพื่อบรรเทากามทั้งหลาย อันใดที่
ข้าพเจ้ากล่าวในหนหลัง นัยนั้นย่อมไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้. พึงทราบว่า
ชื่อว่า วิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมิจฉาทิฏฐิต่อไป.
สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง.
ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ (ความเห็นไปข้างทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้
เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายในทิฏฐิ 62. เนื้อความ
แห่งทิฏฐิแม้นี้ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า
ทิฏฐิคหณะ (ป่าชัฏคือทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏหญ้า
ชัฏป่า ชัฏภูเขา. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (กันดารคือทิฏฐิ) ด้วย
อรรถว่า น่าระแวงและมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์ร้าย
กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ (ความ
เห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่าขัดแย้งและทวนกันสัมมาทิฏฐิ. จริง
อยู่ ความเห็นผิคเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิป-
ผันทิตะ
(ความผันแปรแห่งทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิ
เพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ เพราะว่า

คนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือบางคราวก็คล้อยตามความ
เที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์
ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์. ที่ชื่อว่า
คาหะ (ความยึดถือ) เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมี
จระเข้เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่นฉะนั้น. ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ* (ความตั้งมั่น)
เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็น
ไปอย่างมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) เพราะอรรถว่า ย่อม
ตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ (ความถือผิด)
เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่ง
ความเที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ (ทางชั่ว) เพราะอรรถว่า เป็นทาง
อันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบาย
ทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด. ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ (ทางผิด) เพราะเป็นทางตาม
ความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) เพราะเป็นสภาพผิดเหมือน
กัน. เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้น
ดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่า
ทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น. ชื่อว่า ทางผิด
เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่ามิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด.
ที่ชื่อว่า ติตถะ (สัทธิเป็นดังท่า) เพราะเป็นที่ ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการ
หมุนไปมาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ (คือลัทธิ) นั้นด้วย เป็นอายตนะ (บ่อเกิด)
แห่งความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ (ลัทธิเป็น
บ่อเกิดแห่งความพินาศ). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่า
เป็นอายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัย
* ในธรรมสังคณิเป็นปฏิคฺคาโห

ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะ
อรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดย
ตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาคเคลื่อน.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะต่อไป. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะโดยปริยายตรงกันข้ามในนิทเทส
แห่งหิริและโอตตัปปะ ก็บัณฑิต พึงทราบอหิริกพละและอโนตตัปปพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโลภะและโมหะต่อไป
สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า
ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วย
ความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้
ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ
(ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า
สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก). ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิ-
ตัตตะ
(ความกำหนัด). ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.
การณะ (เหตุ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยศัพท์ว่าโลภะอีก เพราะ
โลภะนั้นเป็นอกุศลด้วย เป็นมูลด้วย จึงชื่อว่า อกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง
โลภะนั้นเป็นมูลของอกุศลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล.
สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ. ที่ชื่อว่า
อทัสสนะ (ความไม่เห็น) เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น. ที่ชื่อว่า อนภิสมัย
ความไม่ตรัสรู้) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้
คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ. ที่ชื่อว่า อนุโพธะ (ตรัสรู้โดยสมควร) เพราะอรรถว่า

ย่อมตรัสรู้ธรรมโดยสมควร ที่ชื่อว่า อนนุโพธะ (การไม่ตรัสรู้ธรรมโดย
สมควร) เพราะความที่อนนุโพธะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุโพธะนั้น. ที่ชื่อว่า
อสัมโพธะ (ไม่รู้ตามเป็นจริง) เพราะอรรถว่า ไม่ประกอบกับสภาวะทั้งหลาย
มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วตรัสรู้. ชื่อว่า อสัมโพธะ เพราะอรรถว่า ไม่
สงบและไม่ชอบ ดังนี้บ้าง. ที่ชื่อว่า อัปปฏิเวธะ (ไม่แทงตลอด) เพราะ
อรรถว่า ย่อมไม่แทงตลอดธรรมคือสัจจะ 4. ที่ชื่อว่า อสังคาหณา (ไม่ถือ
เอาให้ถูกต้อง) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ถือเอาพร้อมแม้ธรรมหนึ่งในธรรมมี
รูปเป็นต้น โดยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อปริโยคา-
หณา
(ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้น
นั่นแหละ. ที่ชื่อว่า อสมเปกขนา (ความไม่พินิจ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่
เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ที่ชื่อว่า อปัจจเวกขณา (ความไม่พิจารณา) เพราะ
อรรถว่า ย่อมไม่เพ่งเฉพาะสภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ
(การไม่ทำให้ประจักษ์) เพราะอรรถว่า กรรมแม้ข้อหนึ่งก็ไม่ประจักษ์แก่สภาวะ
นี้ในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลายด้วยความเป็นไปโดยวิปริตบ้าง
ด้วยไม่มีการกำหนดโดยสภาวะบ้าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า การทำให้ประจักษ์
แก่ธรรมไร ๆ เองมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ. ที่ชื่อว่า
ทุมเมชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะอรรถว่า เมื่อโมหะนี้ยังไม่เกิดขึ้น
จิตสันดานใด พึงเป็นจิตบริสุทธิ์ คือสะอาดผ่องแผ้ว จิตสันดานอันบริสุทธิ์
นั้น อันโมหะนี้ประทุษร้ายแล้ว. ที่ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะ
อรรถว่า เป็นภาวะของพวกคนพาล. ที่ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) เพราะ
อรรถว่า ย่อมหลง. โมหะมีกำลังแรงชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ที่ชื่อว่า
สัมโมหะ (หลงใหล) เพราะอรรถว่า ย่อมหลงโดยรอบ. ที่ชื่อว่า อวิชชา
เพราะอรรถว่า ไม่ใช่วิชชาเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา ความหมายของโอฆะ

โยคะ และคัณฐะ ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า
ย่อมนอนเนื่อง โดยอรรถว่ามีกำลัง. ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่า
ย่อมกลุ้มรุม คือ ครอบงำจิต. ที่ชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม) เพราะอรรถว่า ย่อม
ไม่อาจเพื่อไปมุ่งหน้าเฉพาะต่อประโยชน์ ย่อมติดโดยแท้ เพราะไม่มีการถือ
เอาประโยชน์ได้ คือ ย่อมไปลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลังคี เพราะอรรถ
ว่า ถอนขึ้นได้ยาก. เหมือนอย่างว่า ลิ่มกล่าวคือกลอนเหล็กใหญ่เป็นของถอน
ขึ้นโดยยาก ฉันใดอวิชชาเห็นก็ฉันนั้น เป็นราวกะลิ่ม เพราะฉะนั้น อวิชชา
นั้น จึงชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม).
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบแม้สังคหวาระ
และสุญญตวาระโดยอรรถะ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล.
จบอกุศลจิตดวงที่หนึ่ง

จิตดวงที่ 2


[311] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ