เมนู

ว่าด้วยอัพยากฤต คือ รูป


บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤตนั้น คำว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? นี้
พระองค์ทรงถือเอาแล้ว เพราะเหตุไร ภายหลังจึงตรัสอัพยากฤตคือรูปไว้โดย
ย่อ บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกรูปนั้นโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งรูปหมวด
1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 ฯลฯ หมวด 11 จึงทรงถือเอารูป
นี้เล่า.
เนื้อความนั้นมีอธิบายว่า รูปใดที่ตรัสไว้ใน 2 บทนั้นว่า สพฺพญฺจ
รูปํ อสํขตา จ ธาตุ
นั้น ที่ชื่อว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? บัดนี้
เมื่อจะแสดงรูปนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา (มหาภูตรูป 4)
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร (4) เป็นคำกำหนดจำนวน.
ด้วยบทว่า 4 นั้น ทรงปฏิเสธความหย่อนและยิ่งของรูปเหล่านั้น จ ศัพท์เป็น
สัมปิณฑนัตถะ (คือใช้ในอรรถว่าประมวลมา) ด้วย จ ศัพท์นั้น จึงประมวล
มาซึ่งอุปาทายรูป (รูปอาศัย) ว่า ใช่แต่มหาภูตรูป 4 เท่านั้นก็หาไม่ รูป
แม้อย่างอื่นก็มีอยู่
ดังนี้.

ว่าด้วยมหาภูตรูป


ในคำว่า มหาภูตะ นี้ พึงทราบว่า สภาวะที่ชื่อว่า มหาภูตะ
เพราะเหตุทั้งหลายโดยความปรากฏว่าเป็นของใหญ่เป็นต้น เพราะรูปเหล่านั้น
ตรัสเรียกว่า มหาภูตะ ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ
ปรากฏเป็นของใหญ่ 1
เหมือนมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น 1
เพราะต้องบำรุงรักษามาก 1

เพราะวิการ (เปลี่ยนแปลง) ใหญ่ 1
เพราะเป็นกองใหญ่ที่มีอยู่ 1.
บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อว่า มหาภูตรูปปรากฏเป็นของใหญ่ มีอธิบายว่า
รูปเหล่านั้น ปรากฏเป็นของใหญ่ในอนุปาทินนกสันดานบ้าง1 ในอุปาทินนก-
สันดานบ้าง2 บรรดาสันดานทั้ง 2 นั้น พึงทราบในอนุปาทินนกสันดานโดย
ความเป็นของใหญ่อย่างนี้
จริงอยู่ จักรวาลหนึ่งยาวและกว้างถึง 1,203,450 โยชน์ (หนึ่งล้าน
สองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์) วัดโดยรอบ ตามคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
สพฺพํ สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส ปริมณฺฑลํ
ทสญฺเจว สหสฺสานิ อฑฺฒุฑฺฒานิ สตานิ จ

จักรวาลทั้งหมดมีสัณฐานกลม วัด
โดยรอบได้ 3,610,350 โยชน์
(สามล้าน
หกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์).
ในจักรวาลนั้น มีคาถาว่า
ทุเว สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ
เอตฺตกํ พหลตฺเตน สํขาตายํ พสุนฺธรา

แผ่นดินนี้ วัดโดยส่วนหนาได้เท่านี้
คือ 240,000 โยชน์ (สองแสนสี่หมื่นโยชน์).
แผ่นดินนั้นนั่นแหละมีน้ำรองแผ่นดิน (ดังคาถาว่า)
จตฺตาริ สตสหสฺสานิ อฏฺเฐว นหุตานิ จ
เอตฺตกํ พหลตฺเตน ชลํ วาเต ปติฏฺฐิตํ

1. หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่ไม่มีใจครอง
2. หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่มีใจครอง

น้ำรองแผ่นดินหนาถึง 480,000
โยชน์
(สี่แสนแปดหมื่นโยชน์) ตั้งอยู่บนลม.
แม้น้ำนั้นแหละก็มีลมรองอยู่ (ดังคาถาว่า)
นว สตสหสฺสานิ มาลุโต นภมุคฺคโต
สฏฺฐิญฺเจว สหสฺสานิ เอสา โลกสฺส สณฺฐิติ

ลมสูงขึ้นสู่ท้องนภาถึง 960,000
โยชน์
(เก้าแสนหกหมื่นโยชน์) นี้เป็นการตั้ง
อยู่ของโลก.

ก็เมื่อโลกตั้งอยู่อย่างนี้
มีขุนเขาสิเนรุราช หยั่งลึกลงไปใน
มหาสมุทรถึง 840,000 โยชน์
(แปดหมื่น
สี่พันโยชน์) สูงขึ้นจากมหาสมุทรได้
840,000 โยชน์ เหมือนกัน.

มีภูเขาใหญ่ล้วนด้วยศีลาเป็นแท่งทึบ
7 เทือก เหล่านี้ คือ ภูเขาชื่อวายุคันธร
ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ
ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ ภูเขาอสัสกรรณ
ล้วนวิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ อันเป็นทิพย์
หยั่งลงในมหาสมุทร และสูงขึ้นจากมหา-
สมุทรประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ โดยประมาณที่
กล่าวไว้ทั้งข้างบนข้างล่าง โดยรอบขุนเขา

สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ* เป็นที่สิ่งสถิตของ
มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ
และพวกยักษ์.

ยังมี

ภูเขาชื่อหิมพานต์สูง 500 โยชน์


ยาวและกว้าง 3,000 โยชน์ งดงามด้วยยอด
84,000 ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า)
นั้นวัดรอบลำต้นได้ 15 โยชน์ มีกิ่งลำต้น
ยาว 50 โยชน์รอบด้าน ว่างได้ร้อยโยชน์
สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.

อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของ
พวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)
ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีป
ปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือน
กัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นปาฏลี (แคฝอย) 1 ต้นสิมพลี
(ไม้งิ้ว) 1 ต้นชมพู (ไม้หว้า) 1 ต้นปาริฉัตตกะ
(ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ 1 ต้นกทัมพะ
(ไม้กระทุ่ม) 1 ต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้นสิรีสะ
(ไม้ซึก) เป็นที่ 7
* โยชนา เอเต สตต ปพพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา
7 เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.