เมนู

เอกาทสกมาติกา


[513] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11
จักขายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวิหายตนะ, กายายตนะ,
รูปายตนะ, สัททายตนะ, คันธายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, และ
รูปที่เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11 อย่างนี้.
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ

อรรถกถารูปกัณฑ์


ว่าด้วยเอกกอุทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกรูปกัณฑ์ (หมวดรูป)
จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤต
เป็นไฉน) ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า อัพยากฤต เป็นต้นนั้นต่อไป
พระบาลีในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระองค์ทรงจำแนกวิปากอัพยากตะ
(อัพยากฤตคือวิบากจิต) และกิริยาอัพยากตะ (อัพยากฤตคือกิริยา) ไว้หมดสิ้น
แล้วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังมิได้ตรัสอัพยากฤต คือ รูป และอัพยากฤต คือ
นิพพาน เมื่อจะทรงประมวลอัพยากฤตแม้ทั้ง 4 มาแสดง เพื่อตรัสอัพยากฤต
ทั้งสองที่ยังเหลือนั้น จึงตรัสว่า กุสลากุสลานํ ธมฺมานํ วิปากา (วิบาก
แห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม) ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลากุสลานํ ได้แก่ กุศลอันเป็นไป
ในภูมิ 4 และอกุศลทั้งหลาย. พระองค์ทรงถือเอาบททั้งสอง คือ กุศลวิบาก
และอกุศลวิบากแสดงอัพยากฤตวิบากจิตไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. แต่เพราะ
อัพยากฤตทั้งหมดนั้นเป็นกามาวจรก็มี เป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปาวจร
เป็นต้นก็มี ฉะนั้นจึงทรงแสดงอัพยากฤตคือวิบากนั่นนั่นเองถือเอาความแตก
ต่างกันแห่งภูมิโดยนัยมีคำว่า กามาวจรา (เป็นกามาวจร) เป็นต้น อนึ่ง
เพราะอัพยากฤตนั้นเป็นเวทนาขันธก็มี ฯลฯ เป็นวิญญาณขันธ์ก็มี ฉะนั้น
จึงทรงถือเอาอัพยากฤตนั้นแสดงด้วยอำนาจขันธ์ 4 ที่สัมปยุตกัน ครั้นทรงแสดง
อัพยากฤตคือวิบากจิตอย่างนี้ โดยถือเอานัยทั้ง 3 คือ ด้วยอำนาจกุศลและ
อกุศล ด้วยอำนาจความแตกต่างกันแห่งภูมิ และด้วยอำนาจขันธ์ที่สัมปุยตกัน
เมื่อจะทรงแสดงอัพยากฤต คือ กิริยาจิตอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า เย จ ธมฺมา
กิริยา
(อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา) ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น กิริยาจิตนั้นบุคคลพึงกล่าวว่า เป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์. ก็พระองค์ครั้นทรงแสดง
นัยที่บุคคลถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละแล้วทรงสละเสีย.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงธรรมที่ยังมิได้จำแนกไว้ จึงตรัสว่า สพฺพญฺจ
รูปํ อสํขตา จ ธาตุ
(รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ).
ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอารูป 25
โกฏฐาสแห่งรูป 96 แสดงไว้โดยสิ้นเชิง ด้วยบทว่า สพฺพญฺจ รูปํ ดังนี้.
ด้วยบทว่า อสํขตา จ ธาตุ นี้ทรงยกนิพพานขึ้นแสดงโดยสิ้นเชิง. บทว่า
อพฺยากตา ธมฺมา (ธรรมเป็นอัพยากฤต) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นไว้
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ว่าด้วยอัพยากฤต คือ รูป


บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤตนั้น คำว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? นี้
พระองค์ทรงถือเอาแล้ว เพราะเหตุไร ภายหลังจึงตรัสอัพยากฤตคือรูปไว้โดย
ย่อ บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกรูปนั้นโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งรูปหมวด
1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 ฯลฯ หมวด 11 จึงทรงถือเอารูป
นี้เล่า.
เนื้อความนั้นมีอธิบายว่า รูปใดที่ตรัสไว้ใน 2 บทนั้นว่า สพฺพญฺจ
รูปํ อสํขตา จ ธาตุ
นั้น ที่ชื่อว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? บัดนี้
เมื่อจะแสดงรูปนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา (มหาภูตรูป 4)
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร (4) เป็นคำกำหนดจำนวน.
ด้วยบทว่า 4 นั้น ทรงปฏิเสธความหย่อนและยิ่งของรูปเหล่านั้น จ ศัพท์เป็น
สัมปิณฑนัตถะ (คือใช้ในอรรถว่าประมวลมา) ด้วย จ ศัพท์นั้น จึงประมวล
มาซึ่งอุปาทายรูป (รูปอาศัย) ว่า ใช่แต่มหาภูตรูป 4 เท่านั้นก็หาไม่ รูป
แม้อย่างอื่นก็มีอยู่
ดังนี้.

ว่าด้วยมหาภูตรูป


ในคำว่า มหาภูตะ นี้ พึงทราบว่า สภาวะที่ชื่อว่า มหาภูตะ
เพราะเหตุทั้งหลายโดยความปรากฏว่าเป็นของใหญ่เป็นต้น เพราะรูปเหล่านั้น
ตรัสเรียกว่า มหาภูตะ ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ
ปรากฏเป็นของใหญ่ 1
เหมือนมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น 1
เพราะต้องบำรุงรักษามาก 1