เมนู

อัฏฐกมาติกา


[510] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 8
รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้, รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณ
พึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้. รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ ที่มีสัมผัสเป็นสุข
ก็มี, ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี. รูปอันมโนธาตุพึงรู้ รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 8 อย่างนี้.
อัฏฐกมาติกา จบ

นวกมาติกา


[511] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 9
จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์,
อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 9 อย่างนี้.
นวกมาติการ จบ

ทสกมาติกา


[512] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 10
จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์,
อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบได้ก็มี,
ที่กระทบไม่ได้ก็มี
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 10 อย่างนี้.
ทสกมาติกา จบ

เอกาทสกมาติกา


[513] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11
จักขายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวิหายตนะ, กายายตนะ,
รูปายตนะ, สัททายตนะ, คันธายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, และ
รูปที่เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11 อย่างนี้.
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ

อรรถกถารูปกัณฑ์


ว่าด้วยเอกกอุทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกรูปกัณฑ์ (หมวดรูป)
จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤต
เป็นไฉน) ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า อัพยากฤต เป็นต้นนั้นต่อไป
พระบาลีในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระองค์ทรงจำแนกวิปากอัพยากตะ
(อัพยากฤตคือวิบากจิต) และกิริยาอัพยากตะ (อัพยากฤตคือกิริยา) ไว้หมดสิ้น
แล้วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังมิได้ตรัสอัพยากฤต คือ รูป และอัพยากฤต คือ
นิพพาน เมื่อจะทรงประมวลอัพยากฤตแม้ทั้ง 4 มาแสดง เพื่อตรัสอัพยากฤต
ทั้งสองที่ยังเหลือนั้น จึงตรัสว่า กุสลากุสลานํ ธมฺมานํ วิปากา (วิบาก
แห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม) ดังนี้.