เมนู

กระทำการแย้มให้ปรากฏ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจ (หน้าที่) ของบุพเพนิวาสญาณ
และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น
จิตดวงนี้ย่อมเกิดร่าเริง. ในอนาคต พระองค์ก็ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏว่า
จักมีพระปัจเจกพุทธะ มีเสียงดังเสียงพิณ มีเสียงดังตะโพน ดังนี้ ก็การระลึก
นั้นเป็นกิจของอนาคตังสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความ
เป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตนี้ย่อมเกิดร่าเริง.
ก็ในนิทเทสวารแห่งหสิตุปบาทจิตนี้ ทรงตั้งเอกัคคตาแห่งจิตไว้ถึง
สมาธิพละ เพราะมีกำลังกว่าอเหตุกจิตที่เหลือ ถึงวิริยะก็ทรงตั้งไว้ถึงวิริยพละ
แต่เพราะในอุทเทสมิได้ตรัสไว้ว่า สมาธิพละย่อมมี วิริยพละย่อมมี ดังนี้
ชื่อว่า พละ (สติพละ วิริยพละ) ทั้งสองนี้จึงไม่มีด้วยอรรถว่าเป็นกำลัง
ก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ฉะนั้นจึงไม่ตรัสตั้งไว้ว่าเป็น
พละ ดังนี้ และเพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่พละโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ฉะนั้น
แม้ในสังคหวารก็มิได้ตรัสว่า ทั้ง 2 (สติพละ วิริยพละ) เป็นพละดังนี้ คำที่
เหลือทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทสอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่
สหรคตด้วยโสมนัสนั่นแหละ.

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสตรีคตด้วยอุเบกขา


บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ (มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา)
อธิบายว่า จิตดวงนี้ทั่วไปแก่สัตว์ผู้มีจิตทุกจำพวกในภพทั้ง 3 ชื่อว่า ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีจิตบางพวกหามีไม่ แต่ว่า เมื่อเกิดในปัญจทวารย่อมทำโวฏ-
ฐัพพนกิจ เกิดในมโนทวารย่อมทำอาวัชชนกิจ แม้อสาธารณญาณ (ญาณที่
ไม่ทั่วไปแก่สัตว์อื่น) 6 ย่อมรับอารมณ์อันจิตนี้รับแล้วเหมือนกัน.