เมนู

อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[493] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ
ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
กามาวจรกิริยา จบ

อรรถกถาแสดงกิริยาอัพยากฤต


ว่าด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงจำแนกกิริยาอัพยากฤต
(มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต) จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา
อพฺยากตา
(ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) ต่อไป.
บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ.
จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิต
นั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม* กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้น
ก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น
เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา
(การกระทำ).
* บาลีว่า วาตปุปฺผํ วิย คงหมายถึงดอกไม้ไร้ประโยชน์

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เนว กุสลานากุสลา (ไม่ใช่กุศลไม่ใช่
อกุศล) เป็นต้นต่อไป.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล เพราะความไม่มีกุศลเหตุกล่าวคือ
กุศลมูล. ที่ชื่อว่า ไม่ได้อกุศล เพราะความไม่มีอกุศลเหตุ กล่าวคืออกุศลมูล
ที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล (เนว กุสลานากุสลา) เพราะความไม่มี
กุศลและอกุศลเป็นปัจจัย ไม่มีแม้โยนิโสมนสิการ และอโยนิโสมนสิการ.
ที่ชื่อว่า ไม่ใช่ธรรมวิบาก เพราะไม่มีเหตุให้เกิดขึ้นกล่าวคือกุศลและอกุศล.
ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นกิริยามโนธาตุแม้นี้ ย่อมได้เพียง
การตั้งอยู่ในปวัตติกาลเท่านั้น จริงอยู่จิต 17 ดวงเหล่านี้ คือ
ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง
มโนธาตุ 3 ดวง
มโนวิญญาณธาตุ 3 ดวง
วิจิกิจฉาสหคตจิต 1 ดวง
เพราะความที่จิตเหล่านี้เป็นสภาพทุรพล จึงไม่ได้ในพระบาลีว่า สณฺฐิติ
อวฏฺฐิติ
(ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต) เป็นต้น. คำที่เหลือ
ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในนิทเทสแห่งวิบากมโนธาตุ เว้นแต่ฐานแห่ง
การเกิดขึ้น. เพราะจิตนั้น (มโนธาตุที่เป็นวิบาก) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ
ปัญจวิญญาณ. แต่มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตนี้ ย่อมเกิดก่อนทุกดวงในปวัตติกาล
ในวิถีแห่งปัญจทวาร.
ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ในจักขุทวารก่อน เมื่อรูปารมณ์ทั้งหลาย
อันเป็นอิฏฐารมณ์ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ อนิฏฐารมณ์ และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งกระทบประสาท มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตก็รับอารมณ์นั้น

ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปเกิดขึ้น เป็นไปก่อนด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ แม้ใน
โสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต จบ

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส


จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺญาณธาตุ อุปฺปนฺนา โหติ ฯเปฯ
โสมนสฺสสหคตา
(มโนวิญญาณเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และ
ไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส) ดังนี้ เป็นจิตเฉพาะบุคคลไม่ทั่วไป
แก่สัตว์เหล่าอื่นนอกจากพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร 6.
จริงอยู่ ในจักขุทวาร พระขีณาสพเห็นที่อันสมควรแก่การทำความ
เพียรย่อมถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในโสตทวาร ท่านถึงที่ซึ่งควรแก่การจำแนก
แจกภัณฑะ เมื่อบุคคลผู้ละโมบทำเสียงดังถือเอาอยู่ ท่านก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้
ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหวชื่อเห็นปานนี้เราละได้แล้วดังนี้. ในฆานทวาร
เมื่อพระขีณาสพบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอม หรือดอกไม้ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้.
ในชิวหาทวาร พระขีณาสพแบ่งบิณฑบาตที่ถึงพร้อมด้วยรสที่ได้มาฉันอยู่
ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า สาราณิยธรรม (ธรรมที่ควรระลึกถึง) เราบำเพ็ญ
แล้วหนอ ดังนี้. ในกายทวาร พระขีณาสพบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรอยู่ ก็ถึง
โสมนัสด้วยนี้ว่า ก็วัตรของเราเต็มรอบแล้ว ดังนี้ พระขีณาสพย่อมได้ใน
ปัญจทวารอย่างนี้ก่อน.
แต่ในมโนทวารจิตของพระขีณาสพย่อมเกิดขึ้นปรารภอดีตและอนาคต
จริงอยู่ พระตถาคตทรงระลึกถึงเหตุที่ทรงกระทำแล้วในครั้งที่พระองค์เสวย
พระชาติเป็นโชติปาละ เป็นท้าวมฆเทวราช และเป็นกัณหดาบสเป็นต้น จึงทรง