เมนู

3. ให้ผลเป็นสันติรณะในปัญจวิญญาณวิถีในอนิฏฐารมณ์ และ
อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์
4. ให้ผลเป็นตทารัมมณะในทวาร 6 ในอารมณ์มีกำลัง
5. ให้ผลเป็นจุติจิตในมรณกาล.
จบกถาว่าด้วยอกุศลวิบาก

กามาวจรกิริยา


[482] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[483] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 3
ผัสสะ 1 ฯลฯ มโนธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[484] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[485] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่
กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้
อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[486] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ
เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น ฯลฯ
วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์มีในสมัยนั้น
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์มีใน
สมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[487] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 5
ผัสสะ 1 ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[488] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญา-
ขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[489] สังขารเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-
วิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปก-
ขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[490] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 3 อาหาร 3 อินทรีย์ 5
ผัสสะ 1 ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[491] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญา-
ขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[492] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-
วิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส
สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส
วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...
เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย

อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[493] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ
ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
กามาวจรกิริยา จบ

อรรถกถาแสดงกิริยาอัพยากฤต


ว่าด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงจำแนกกิริยาอัพยากฤต
(มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต) จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา
อพฺยากตา
(ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) ต่อไป.
บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ.
จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิต
นั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม* กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้น
ก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น
เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา
(การกระทำ).
* บาลีว่า วาตปุปฺผํ วิย คงหมายถึงดอกไม้ไร้ประโยชน์