เมนู

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความ
รู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
โลกุตตรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงโลกุตตรวิบาก


แม้โลกุตรวิบาก พระองค์ก็ทรงจำแนกกระทำให้คล้อยตามกุศล
นั่นแหละ เพราะเป็นเช่นเดียวกับโลกุตรกุศล. แต่เพราะเตภูมิกกุศลย่อมสั่งสม
ย่อมยังวัฏฏะให้เจริญด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ ฉะนั้น ในวิบากแห่ง
โลกุตรกุศลนั้น จึงตรัสไว้ว่า เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว
ได้สั่งสมไว้แล้ว ดังนี้ ส่วนโลกุตระแม้ถูกวิบากนั้นสั่งสมไว้ ก็ย่อมคลายความ
สั่งสม แม้ตนเองก็ไม่สั่งสมไว้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ใน
วิบากโลกุตรกุศลนั้น จึงไม่ตรัสไว้ (ในข้อที่ 422) ว่า เพราะได้กระทำ

ไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว แต่ตรัสว่า เพราะได้กระทำไว้แล้ว เพราะได้เจริญ
ไว้แล้ว ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลี (ที่ตรัสไว้ในข้อ 427) มีคำว่า สุญญตะ
เป็นต้น ว่ามรรคย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ 3 คือ เพราะการบรรลุ 1 เพราะคุณ
ของตน 1 เพราะอารมณ์ 1 ก่อน. สุญญตะนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในอธิการ
แห่งกุศลในหนหลังแล้ว. ในอธิการนั้น มรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง
โดยอารมณ์บ้าง โดยปริยายแห่งพระสูตร ก็ปริยายนี้เป็นปริยายเทศนา ส่วน
อภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในนิปปริยายเทศนานี้ จึงไม่
ได้ชื่อโดยคุณของตน หรือโดยอารมณ์ แต่ย่อมได้ชื่อโดยการบรรลุอย่างเดียว
เพราะการบรรลุเท่านั้นเป็นธุระ การบรรลุนั้นมี 2 อย่าง คือ บรรลุวิปัสสนา
และบรรลุมรรค.
ในการบรรลุสองอย่างนั้น การบรรลุวิปัสสนาเป็นธุระในฐานะที่มรรค
ปรากฏแล้ว การบรรลุมรรคเป็นธุระในฐานะที่ผลปรากฏแล้ว แม้คำทั้งสองนี้
ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหนหลังเหมือนกัน. ในบรรดาฐานะทั้งสองนั้น นี้เป็น
ฐานะที่ผลปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า การบรรลุเป็นธุระในฐานะนี้.
ก็มรรคนี้นั้นชื่อว่า สุญญตะ เพราะการบรรลุแล้วยังเรียกได้แม้ว่า
อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ เพราะคุณของตน และเพราะอารมณ์ เพราะฉะนั้น
ตนเองตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้แล้ว จึงให้ชื่อ 3 อย่างแก่ผลของตน. ให้ชื่อ
อย่างไร ? คือว่า มรรคนี้เป็นสุญญตมรรค มีชื่ออันได้มาด้วยอำนาจแห่งการ
บรรลุอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อแก่ผล
ของตน จึงได้ทำชื่อว่า สุญญตะ ก็มรรคสุญญตะและอนิมิตตะ* เพราะ
ตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้เองเมื่อจะให้ชื่อ จึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ. มรรค-
* น่าจะเป็นอนิมิตตมรรคอย่างเดียว

สุญญตะและอัปปณิหิตะ* เพราะตั้งอยู่ในฐานะพึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผล
ของตน จึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ ก็ชื่อ 3 อย่าง เหล่านั้นย่อมได้โดยนัย
นี้ ในผลจิตในลำดับแห่งมรรคเท่านั้น หาใช่ได้ในเวลาใช้ผลสมาบัติในเวลา
อื่นไม่. แต่ว่าในเวลาภายหลัง ย่อมอาจเพื่อเห็นได้ด้วยวิปัสสนา 3 มีอนิจจา-
นุปัสสนาเป็นต้น. อนึ่ง ผลทั้ง 3 กล่าวคืออนิมิตตะ อัปปณิหิตะ สุญญตะ
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนาของพระโยคาวจรที่ออกแล้ว ๆ ญาณเหล่านั้น
นั่นแหละของผลทั้ง 3 นั้น มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มีสังขารเป็นอารมณ์
ชื่อว่า อนุโลมญาณ.
ก็แม้ในอัปปณิหิตมรรค ที่ท่านกล่าวไว้ในสุญญตมรรค ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน จริงอยู่ อัปปณิหิตมรรคนั้นมีชื่ออันได้แล้วด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ
อย่างเคียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตน
จึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและอนิมิตตะ เพราะตั้งอยู่
ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ผลของตนจึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ
มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและสุญญตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อ
จะให้ชื่อผลของตน จึงได้กระทำชื่อว่า สุญญตะ ชื่อทั้ง 3 แม้เหล่านี้ย่อมได้โดย
นัยนี้ในผลจิตในลำดับเท่านั้น ไม่ใช่ได้ในกาลอื่นอีก คือในเวลาใช้ผลสมาบัติ.
ในนิทเทสแห่งวิบากจิตนี้ พึงทราบวิบากจิตทั้งหลายมีคุณ 3 อย่าง
ด้วยกุศลจิต อย่างนี้. เหมือนอย่างว่า กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ 3 ย่อมไม่อาจ
ยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี ฉันใด โลกุตรกุศลทั้งหลายย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้
เพราะเหตุไร ? เพราะเวลาที่ประกอบกรรมของกุศลเป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อย่างหนึ่ง เวลาให้วิบากก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลอันเป็นไปใน
* น่าจะเป็นอัปปณิหิตมรรคอย่างเดียว

ภูมิ 3 นั้น จึงไม่ยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี. ส่วนโลกุตระทั้งหลาย เมื่อ
ศรัทธานั้น เมื่อวิริยะนั้น เมื่อสตินั้น เมื่อสมาธินั้น เมื่อปัญญานั้น ยังไม่
เข้าไปสงบ (คือยังเป็นไป) ก็ย่อมได้วิบากในลำดับแห่งมรรคนั้นนั่นแหละ
ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนั้น โลกุตรกุศลนั้นจึงอาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี.
เหมือนอย่างว่า ในที่ที่เขาก่อไฟไว้กองน้อย เมื่อไฟดับแล้วเท่านั้น
อาการร้อนก็ดับไม่มีอะไร ๆ แต่เมื่อเอาโคมัยโปรยไปรอบ ๆ ดับกองไฟใหญ่ที่
โพลงขึ้นแล้ว อาการคือความร้อน ย่อมไม่สงบลงทันที ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คือ ขณะแห่งกรรม (การทำ) ในกุศลเป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อย่างหนึ่ง ขณะแห่งวิบากเป็นอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาที่อาการคือความร้อน
ดับไปแห่งไฟกองน้อย เพราะฉะนั้น กุศลอันเป็นไปในภูมิ 3 นั้นจึงไม่อาจ
เพื่อยังวิบากของจนให้ได้อธิบดี ส่วนโลกุตรกุศล เมื่อศรัทธานั้น ฯลฯ เมื่อ
ปัญญานั้นยังไม่เข้าไปสงบ ผลก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคทันที เพราะฉะนั้น
โลกุตรกุศลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อธิบดีไม่มีในวิบากจิต
เว้นแต่โลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งผลซึ่งเกิดแต่มรรคที่ 4 ต่อไป
คำว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ
ผู้มีญาณกิจสำเร็จในสัจจะ 4 อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะให้สำเร็จ
อรรถแห่งความเป็นใหญ่ในภายในธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึง คือมีกิจอันสำเร็จใน
สัจจะ 4 อันรู้แล้ว แทงตลอดสัจจะ 4 แล้วดำรงอยู่.