เมนู

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[421] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรม
อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
อรูปาวจรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงรูปาวจรวิบากเป็นต้น


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงวิบากจิตที่เป็นรูปาวจร
เป็นต้น จึงเริ่มตรัสว่า กตเม ธมฺเม อพฺยากตา (ธรรมอันเป็นอัพยากฤต
เป็นไฉน) เป็นต้นอีก.
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นอัพยากฤตต่อไป
กามาวจรวิบากย่อมเป็นเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้างกับกุศลจิต
ของตน เพราะฉะนั้น วิบากจิตของกุศลนั้น ท่านจึงมิได้จำแนกให้เป็นวิบาก

คล้อยตามกุศล. ส่วนรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบาก ย่อมเป็นเช่นเดียวกับ
กุศลของตน เหมือนเงาทั้งหลายมีเงาช้าง ม้า และต้นไม้เป็นต้น ย่อมเป็นเช่น
ช้างม้าและต้นไม้เป็นต้นนั่นแหละ ดังนั้น ท่านจึงจำแนกทำให้คล้อยตามกุศล.
อนึ่ง กามาวจรกุศล ย่อมให้วิบากในกาลบางครั้งบางคราวก็ได้ ส่วน
รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลย่อมให้วิบากเฉพาะอัตภาพในภพที่สองทีเดียว
โดยไม่มีอันตราย แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงจำแนกให้เป็นเช่นกับกุศลนั่นแหละ
คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในกุศลนั่นแล.
ส่วนความแตกต่างกันมีดังนี้.
พึงทราบประเภทมีปฏิปทาเป็นต้น และความเป็นหีนจิต ปณีตจิต
และมัชฌิมจิต เพราะการมาแห่งฌานในรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบาก
เหล่านี้. แต่วิบากเหล่านี้ไม่มีอธิบดีเลย เพราะไม่ทำธรรมมีฉันทะเป็นต้น
ดวงใดดวงหนึ่งให้เป็นธุระเกิดขึ้นแล.
รูปาวจรวิบากและอรูปาวจรวิบาก จบ

โลกุตตวิบาก


วิบากแห่งมรรคจิต ดวงที่ 1


มหานัย 20


สุทธิกปฏิปทา


[422] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก
เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[423] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจาก
โลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล