เมนู

3. ความเป็นผู้ฉันบิณฑบาตอันสงบ
4. เมื่อราชกุลบีบคั้นชาวแว่นแคว้นยึดทรัพย์ที่มีสาระ หรือทาส
ชายหญิงและกหาปณะเป็นต้นอยู่ ความเป็นผู้ไม่ต้องเศร้าหมองเพราะการ
บีบคั้นชาวแว่นแคว้น
5. ความไม่มีฉันทราคะในเครื่องใช้ทั้งหลาย
6. ความปราศจากภัยในการถูกโจรปล้น
7. ความไม่คลุกคลีด้วยพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา
8. ความไม่กระทบกระทั่งในทิศทั้ง 4.
คำนี้มีอธิบายว่า ชนผู้อยู่ในอาศรมนั้น อาจเพื่อประสบความสุขของ
สมณะ 8 อย่างเหล่านั้น ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ 8 ประการ
ฉันนั้น.
คำว่า อภิญฺญาพลมาหรึ (นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา) ความว่า
เราอยู่ในอาศรมบทนั้นกระทำกสิณบริกรรม เริ่มวิปัสสนาโดยความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาทั้งหลายและสมาบัติทั้งหลายเกิดขึ้น แล้วนำ
วิปัสสนาพละอันมีกำลังมา อธิบายว่า ข้าพเจ้าอยู่ในที่นั้น ย่อมอาจเพื่อนำ
กำลังนั้นมาได้ ฉันใด ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอันสมควรแก่วิปัสสนาพละนั้น เพื่อ
ต้องการอภิญญานั้น ฉันนั้น.

ว่าด้วยวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตอาศรมบทเป็นต้น



ในบาทแห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ (เรา
ละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9 อย่างในที่นั้น) แห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึ
ตตฺถ ฯ เป ฯ ทฺวาทสคุณมุปาคตํ
ดังนี้ พึงทราบอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตสิ่งทั้งปวงที่เป็นเครื่องใช้สอย
ของพวกบรรพชิตอย่างนี้ คือ นิรมิตอาศรมอันประดับด้วยกุฎีที่เร้นที่จงกรม
เป็นต้น อันดารดาษไปด้วยต้นไม้มีดอกและผล อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ มีสระ-
น้ำใสสะอาดปราศจากพาลมฤคและเสียงสกุณชาติที่น่ากลัว สมควรแก่ความ
สงบสงัด จัดแจงแผ่นกระดานสำหรับยึดในที่สุดทั้งสองของจงกรมอันประดับ
แล้ว นิรมิตแผ่นศิลามีพื้นเสมอกัน มีสีดังถั่วเขียวไว้ในท่ามกลางแห่งที่จงกรม
เพื่อประโยชน์แก่การนั่ง นิรมิตบริขารของดาบสมีชฎา มณฑล ผ้าคากรอง
ไม้สามขา และเต้าน้ำเป็นต้นไว้ภายในบรรณศาลา นิรมิตหม้อน้ำสำหรับดื่ม
สังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำไว้ในมณฑป นิรมิตกระเบื้องถ่านเพลิง และฟืน
เป็นต้นไว้ในโรงไฟ แล้วจารึกอักษรไว้ที่ฝาบรรณศาลาว่า ใคร ๆ ผู้ต้องการ
บวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด ดังนี้ แล้วไปสู่เทวโลกตามเดิม.
สุเมธบัณฑิต เลือกหาที่อันเป็นผาสุกอันสมควรแก่ที่อยู่ของตนตาม
แนวแห่งซอกเขาที่ชายป่าหิมวันต์ เห็นอาศรมบทอันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิต
ไว้ซึ่งท้าวสักกะประทานให้ อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ที่คุ้งแม่น้ำ แล้วจึงไปในที่สุด
แห่งที่จงกรมไม่เห็นรอยเท้า จึงคิดว่า บรรพชิตผู้อยู่ประจำไปแสวงหาภิกษา
ในหมู่บ้านใกล้ ๆ จักเป็นผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้วกลับมาเข้าไปสู่บรรณศาลา
ดังนี้ เราคอยสักหน่อยหนึ่ง เห็นว่าชักช้ามาก จึงเปิดประตูบรรณศาลา ด้วย
คิดว่า เราจักรู้ แล้วเข้าไปภายในแลดูข้างนี้ข้างโน้นแล้ว อ่านอักษรทั้งหลายที่
ฝาใหญ่แล้วคิดว่า บริขารเหล่านี้สมควรแก่เรา เราจักถือเอาบริขารเหล่านั้นบวช
ดังนี้ จึงละคู่ผ้าสาฎกที่ตนนุ่งและห่มเสีย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ เป็นต้น (เราละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ
9 อย่างในที่นั้น ) อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้

แล้วละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9 อย่างที่บรรณศาลานั้น ท่านแสดงไว้ว่า
สุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อละผ้าสาฎกได้เห็นโทษ 9 อย่างจึงละ.

ว่าด้วยผ้าสาฎกมีโทษ 9 อย่าง



จริงอยู่ โทษ 9 อย่าง ย่อมปรากฏแก่บรรพชิตผู้บวชเป็นดาบส คือ
1. ผ้านั้นมีค่ามาก 2. ผ้าที่มีผู้อื่นหวงแหน 3. ผ้าที่ใช้แล้วเปื้อนง่ายเพราะ
เปื้อนแล้วต้องซักต้องย้อม 4. ผ้าคร่ำคร่าแล้วด้วยการใช้ เพราะว่าเมื่อขาด
แล้วต้องชุนต้องปะ 5. ผ้าใหม่ที่หาได้ยากเพราะต้องแสวงหา 6. ผ้าที่ไม่
สมควรแก่การบวชเป็นฤาษี 7. ผ้าที่มีทั่วไปแก่เหล่าข้าศึก เพราะต้องคุ้มครอง
รักษา 8. ผ้าที่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย 9. ผ้าที่มีผู้ต้องการมากเป็น
ของใช้ประจำตัวสำหรับเที่ยวไป.

ผ้าคากรองมีอานิสงส์ 12 อย่าง



คำว่า วากจิรํ นิวาเสสึ (นุ่งห่มผ้าคากรอง) ความว่า ดูก่อนสารีบุตร
ในกาลนั้น เราเห็นโทษ 9 อย่างเหล่านั้น จึงละผ้าสาฎกแล้วนุ่งผ้าคากรอง คือ
ถือเอาผ้าคากรองที่บุคคลฉีกหญ้ามุงกระต่ายเป็นริ้ว ๆ แล้วทอ เพื่อสำหรับ
นุ่งห่ม. คำว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ (ประกอบด้วยคุณ 12 ประการ) ความว่า
ประกอบด้วยอานิสงส์ 12 ประการ. จริงอยู่ ผ้าคากรองมีอานิสงส์ 12 อย่าง
คือ
เป็นผ้ามีค่าน้อยดี เป็นของควร นี้
เป็นอานิสงส์ข้อแรกก่อน สามารถเพื่อทำ
ได้ด้วยมือของตน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 2
ใช้แล้วค่อย ๆ เปื้อน แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้