เมนู

ในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผาก
หรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษ
ที่สอง. เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อม
เหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้นขบกัดเอา
เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม. เมื่อ
เดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี
นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรม
แคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่. เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป
จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป
พึงทราบว่าเป็นโทษที่ ห้า.

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ



ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ 60 ศอก มีพื้นอ่อนเกลี่ยทราย
ไว้เรียบเหมาะสม เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของ
พระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น
สุเมธบัณฑิต จึงกล่าวว่า เราสร้างที่งกรมเว้นโทษ 5 อย่าง ที่อาศรมบทนั้น
ดังนี้.

ความสุขของสมณะ 8 อย่าง



คำว่า อฏฺฐคุณสมูเปตํ (ประกอบด้วยคุณ 8 ประการ) ได้แก่
ประกอบด้วยความสุขของสมณะ 8 อย่าง ธรรมดาว่า ความสุขของสมณะมี 8 คือ
1. ความไม่หวงแหนวัตถุทั้งหลายมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น
2. ความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตปราศจากโทษ