เมนู

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอันสำเร็จด้วย
บุญญานุภาพของตน ในกาลนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร อาศรมเราสร้างไว้
ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็สร้างไว้ดีแล้ว ใกล้
ธรรมิกบรรพตนั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้น
จากโทษ 15 อย่าง ไว้ที่อาศรมบทนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างไว้ดีแล้ว.
คำว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ก็ได้ชื่อว่า
เป็นศาลาอันเราสร้างดีแล้ว

ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ 5 อย่าง



คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ 5 อย่าง) ความว่า ขึ้น
ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านั้นมี 5 อย่าง คือ
1. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)
2. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)
3. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)
4. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)
5. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).
จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อม
เจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่
อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์
ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ
ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือ

ในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผาก
หรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษ
ที่สอง. เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อม
เหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้นขบกัดเอา
เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม. เมื่อ
เดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี
นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรม
แคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่. เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป
จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป
พึงทราบว่าเป็นโทษที่ ห้า.

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ



ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ 60 ศอก มีพื้นอ่อนเกลี่ยทราย
ไว้เรียบเหมาะสม เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของ
พระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น
สุเมธบัณฑิต จึงกล่าวว่า เราสร้างที่งกรมเว้นโทษ 5 อย่าง ที่อาศรมบทนั้น
ดังนี้.

ความสุขของสมณะ 8 อย่าง



คำว่า อฏฺฐคุณสมูเปตํ (ประกอบด้วยคุณ 8 ประการ) ได้แก่
ประกอบด้วยความสุขของสมณะ 8 อย่าง ธรรมดาว่า ความสุขของสมณะมี 8 คือ
1. ความไม่หวงแหนวัตถุทั้งหลายมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น
2. ความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตปราศจากโทษ