เมนู

สัจจะที่ปฐมมรรคไม่เห็นมีอยู่ ก็จงแจกอนัญตัญญัสสามีตินทรีย์ แม้ในมรรค
เบื้องบน ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ปัญหาของท่านก็จักสงบ.
ถามว่า ก็มรรคอย่างหนึ่งย่อมละกิเลสอย่างหนึ่ง คือย่อมละกิเลสที่ยัง
ไม่ได้ละ มิใช่หรือ ?
ตอบว่า ผิว่า มรรคอย่างหนึ่งย่อมละกิเลสดังนี้ มรรคอย่างหนึ่งก็ย่อม
ละกิเลสอย่างหนึ่ง ที่ยังมิได้ละไซร้ บุคคลก็พึงมีวาทะอย่างนี้ว่า มรรคสาม
เบื้องบนย่อมเห็นแม้สัจจะทั้งหลายที่ปฐมรรคมิได้เห็นแล้วนั่นแหละ ดังนี้
พึงถามคำนี้ว่า ชื่อว่า สัจจะทั้งหลาย มีเท่าไร ? เมื่อทราบก็จักตอบว่า
มี 4 พึงท้วงท่านว่า ในวาทะของท่าน สัจจะปรากฏถึง 16 อย่าง ท่านย่อม
เห็นสัจจะแม้พระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นแล้ว ชื่อว่า มีสัจจะมาก ท่านอย่าถือ
เอาอย่างนี้เลย การเห็นสัจจะที่ยังไม่เคยเห็นย่อมไม่มี แต่มรรคย่อมละกิเลส
ทั้งหลายที่ยังมิได้ละ ดังนี้.

การอุปมาด้วยหีบรัตนะ



ในข้อที่ว่าการเห็นสัจจะที่ไม่เคยเห็นมาก่อนไม่มีในอธิการแห่งมรรค
นั้น ท่านถือเอาการเปรียบเทียบด้วยหีบรัตนะดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่งวางหีบรัตนะ 4 ใบไว้ในห้องอันเป็นที่เก็บ
รัตนะอันสูงสุด เขามีหน้าที่ทำเกิดขึ้นในหีบ ในเวลากลางคืนจึงเปิดประตูจุด
ประทีปให้โพลง เมื่อความมืดถูกประทีปขจัดแล้ว หีบทั้งหลายก็ปรากฏ เขาทำ
ธุระในหีบนั้นแล้วปิดประตูออกไป ความมืดก็ปกคลุมตามเดิม แม้ในครั้งที่ 2
แม้ในครั้งที่ 3 ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ในครั้งที่ 4 เมื่อเขาจะทดลองดูว่า
เมื่อเปิดประตูแล้ว หีบรัตนะจะปรากฏในความมืดหรือไม่นั่นแหละ พระอาทิตย์

ก็โผล่ขึ้น เมื่อความมืดถูกแสงพระอาทิตย์ขจัดแล้ว เขาก็ทำธุระในหีบทั้งหลาย
เสร็จแล้วออกไป.
ในบรรดาคำเหล่านั้น สัจจะ 4 เปรียบเหมือนหีบรัตนะ 4 ใบ.
เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่โสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้นมีกิจเกิดขึ้น
ในหีบรัตนะแล้วเปิดประตู. ความมืดอันปกปิดสัจจะ เปรียบเหมือนความมืด
ของราตรี. แสงสว่างแห่งโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งประทีป.
ความที่สัจจะทั้งหลายปรากฏแก่มรรคญาณ เปรียบเหมือนความที่หีบรัตนะ
ทั้งหลายปรากฏแก่บุรุษนั้นในเพราะความมืดถูกขจัดไป. ก็สัจจะทั้งหลายที่
ปรากฏแก่มรรคญาณย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.
เวลาที่โสดาปัตติมรรคละกิเลสที่ตนควรละแล้วดับไป เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษ
นั้นทำธุระในหีบรัตนะทั้งหลายแล้วไป. ความมืดอันปกปิดสัจจะที่พึงฆ่าด้วย
มรรคสามเบื้องบน เปรียบเหมือนความมืดที่ครอบงำต่อไป.
เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่สกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้น
เปิดประตูในครั้งที่สอง. แสงสว่างแห่งสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่าง
แห่งประทีป เวลาที่สกทาคามิมรรคละกิเลสที่ตนพึงละแล้วดับไป เปรียบเหมือน
เวลาที่บุรุษนั้นทำธุระในหีบรัตนะทั้งหลายเสร็จแล้วไป ความมืดที่ปกปิดสัจจะ
ที่มรรคสองเบื้องบนพึงฆ่า เปรียบเหมือนความมืดที่ครอบงำต่อไป.
เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่อนาคามิมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้น
เปิดประตูในครั้งที่สาม. แสงสว่างแห่งอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่าง
แห่งประทีป. เวลาที่สกทาคามิมรรคละกิเลสที่ตนพึงละแล้วดับไป เปรียบเหมือน
บุรุษทำธุระในหีบทั้งหลายเสร็จแล้วไป ความมืดที่ปกปิดสัจจะที่อรหัตมรรค
เบื้องบนพึงฆ่า เปรียบเหมือนความมืดท่วมทับอีก.

เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่อรหัตมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษเปิด
ประตูในครั้งที่ 4. การเกิดขึ้นแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่ง
พระอาทิตย์. การกำจัดความมืดอันปกปิดสัจจะแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือน
การกำจัดความมืด. ความที่สัจจะทั้ง 4 ปรากฏแก่อรหัตมรรคญาณ เปรียบเหมือน
ความที่หีบรัตนะทั้งหลายปรากฏแก่บุรุษนั้น ในเพราะความมืดถูกขจัดไป. ก็
สัจจะทั้งหลายปรากฏแก่ญาณ ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค
นั่นแหละ การที่อรหัตมรรคยังกิเลสทั้งหมดให้สิ้นไป เปรียบเหมือนเวลาที่
บุรุษทำกิจในหีบรัตนะทั้งหลายเสร็จแล้วไป. ความไม่มีความมืดปกปิดสัจจะอีก
จำเดิมแต่เวลาเกิดขึ้นแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่แสงสว่างนั่นแหละ
เป็นไปจำเดิมแต่การโผล่ขึ้นแห่งดวงอาทิตย์ ฉะนั้น. นี้เป็นคำอุปมาในความไม่มี
การเห็นสัจจะที่ยังไม่เคยเห็นเพียงเท่านี้.
ในข้อว่า ก็มรรคสามเบื้องบนย่อมเห็นสัจจะอันปฐมมรรคเห็นแล้ว
นั่นแหละ แต่ว่ามรรคอย่างอื่นย่อมละกิเลสอื่น ๆ นี้ ท่านถือเอาชื่ออุปมาด้วย
น้ำด่างต่อไป
บุรุษคนหนึ่ง ได้มอบผ้าที่สกปรกแก่ช่างย้อม ช่างย้อมก็แช่ในน้ำด่าง
3 ชนิด คือ น้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า น้ำด่างโคมัย เขารู้ว่าน้ำด่างกัดสิ่ง
สกปรกแล้วก็เทน้ำทิ้งชักชำระมลทินหยาบ ๆ แต่นั้นเขาก็รู้ว่า ผ้ายังไม่สะอาดพอ
จึงแช่ในน้ำด่างเหมือนอย่างนั่นแหละในครั้งที่ 2 แล้วเทน้ำทิ้งซักล้างมลทินที่
ละเอียดกว่านั้น แต่นั้นเขาก็รู้ว่ายังไม่สะอาดพอ จึงแช่ในน้ำด่างเหมือนอย่างนั้น
นั่นแหละ ในครั้งที่ 3 เทน้ำทิ้งแล้วซักล้างมลทินที่ละเอียดกว่านั้น แต่นั้นก็
รู้ว่า ผ้ายังไม่สะอาดพอ จึงแช่ในน้ำด่างเหล่านั้น แม้ครั้งที่ 4 เทน้ำทิ้งแล้ว

ซักล้างมลทินมิให้มีเหลือแม้เป็นไปในเส้นด้ายแล้วจึงมอบให้แก่เจ้าของ เจ้าของ
นั้นก็พับเก็บไว้ในหีบอบกลิ่นย่อมนุ่งห่มในเวลาที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ.
บรรดาคำเหล่านั้น จิตที่เป็นไปตามกิเลส เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนแล้ว
เวลาที่เป็นไปแห่งการทำอนุปัสสนาทั้ง 3 เปรียบเหมือนการแช่ด้วยน้ำด่าง 3
ชนิด การยังกิเลส 5 อย่าง* ให้สิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนการ
เทน้ำทิ้งแล้วซักล้างมลทินหยาบ ๆ การรู้ว่า จิตนี้ยังไม่บริสุทธิ์พอ แล้วยังการ
งานให้เป็นไปในอนุปัสสนา 3 เหล่านั้นนั่นแหละ เปรียบเหมือนการแช่น้ำด่าง
เหล่านั้น แม้ครั้งที่ 2. การยังสังโยชน์อย่างหยาบ 2 อย่างให้สิ้นไปด้วยสกทาคา-
มิมรรค เปรียบเหมือนการซักล้างมลทินที่ละเอียดกว่านั้น การที่เขาคิดว่าจิตนี้
บริสุทธิ์ไม่พอ แล้วยังการกระทำการงานให้เป็นไปในอนุปัสสนา 3 เหล่านั้น
นั่นแหละ เปรียบเหมือนเขาคิดว่าผ้านี้สะอาดไม่พอ แล้วจึงใส่น้ำด่าง 3 อย่างให้
กัดอีก. การยังสังโยชน์อย่างละเอียด 2 อย่าง ให้สิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค เปรียบ
เหมือนซักล้างมลทินผ้าที่ละเอียดกว่านั้น. การที่รู้ว่า จิตนั้นยังสะอาดไม่พอ แล้ว
การงานให้เป็นไปในอนุปัสสนา 3 เหล่านั้นแหละให้เป็นไป เปรียบเหมือน
ช่างย้อมรู้ว่าผ้านี้ยังสะอาดไม่พอ จึงใส่แช่ในน้ำด่าง 3 อย่างอีก. การที่จิตของ
พระขีณาสพบริสุทธิ์เพราะกิเลส 8 อย่างอันอรหัตมรรคให้สิ้นไปแล้ว ยับยั้งอยู่
ด้วยวิหารธรรม คือ ผลสมาบัติในขณะที่ปรารถนาแล้ว ๆ เปรียบเหมือนการ
นุ่งห่มผ้าที่บริสุทธิ์ เพราะซักฟอกมลทินที่อยู่ภายในเส้นด้ายออกไป ด้วยการ
ซักล้างจากผ้านี้ เช่นกับแผ่นเงิน ที่เก็บไว้ในผอบหอม ในขณะที่ตนปรารถนา
แล้ว ๆ ฉะนั้น. นี้เป็นการอุปมาในข้อว่า มรรคอย่างอื่นย่อมละกิเลสอย่างอื่น ๆ
ดังนี้.
* กุศลจิต คือ โลภมูลที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต 4 และโมหมูลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านพระเขมกะกล่าวไว้ว่า*
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของทั้งหลายพึงมอบ
ผ้านี้นั้นแก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกผู้ฉลาดขยี้ผ้านั้นแช่ในน้ำด่างเกลือ ในน้ำ
ด่างขี้เถ้า หรือในน้ำด่างโคมัยแล้วเอาซักในน้ำสะอาด ผ้านั้นย่อมเป็นของ
สะอาดผ่องใสแม้ก็จริง แต่ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า
หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของทั้งหลาย เจ้าของ
ทั้งหลายเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ
น้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด แม้กลิ่นนั้นย่อมหายไป ฉันใด ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็
ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า เรามีไม่ได้
สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 อยู่
ว่ารูป อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ ความดับแห่งรูป อย่างนี้ เวทนา
อย่างนี้ ฯลฯ สัญญา อย่างนี้ ฯลฯ สังขาร อย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณ อย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้ เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้อยู่ แม้ท่าน
ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า เรามี ไม่ได้
แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ย่อมถึงการถอนขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บรรดามรรคเหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมละอกุศลจิต 5 ดวง
พร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์ของจิต. โทมนัสสสหคตจิต 2 ดวง
พร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์จิต ย่อมบรรเทาด้วยสกทาคามิมรรค.
โทมนัสสสหคตจิต 2 ดวงเหล่านั้นนั่นแหละ พร้อมกับสัมปยุตธรรม ย่อมละ
ด้วยอนาคามิมรรค. อกุศลจิต 5 ดวงพร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
* สํ ขนฺธวารวคฺค เล่ม 17. 229/160

องค์จิต ย่อมละด้วยอรหัตมรรค. จำเดิมแต่กาลที่อกุศลจิต 12 ดวงเหล่านี้
ละได้แล้ว ชื่อว่า กิเลสที่ติดตามไปอีก ด้วยอำนาจองค์จิต ย่อมไม่มีแก่
พระขีณาสพ.
ในข้อที่กิเลสไม่ติดตามไปอีกนั้น มีอุปมา ดังนี้.
ได้ยินว่า พระราชาผู้ใหญ่พระองค์หนึ่ง พระราชทานอารักขาปัจจันต-
ชนบท แล้วเสวยความเป็นอิสริยยศในมหานครอยู่ ภายหลังปัจจันตะของ
พระองค์เกิดจลาจล สมัยนั้น มีพวกหัวหน้าโจร 12 คน พร้อมกับบุรุษ
หลายพัน พากันไปปล้นแว่นแคว้น มหาอำมาตย์ผู้อยู่ปัจจันตประเทศส่งข่าว
กราบทูลแด่พระราชาว่า ปัจจันตะเกิดจลาจล ดังนี้ พระราชาทรงส่ง
พระราชสาส์นไปว่า จงปราบให้หมด เราจักตอบแทนพวกท่าน อำมาตย์
เหล่านั้นฆ่าหัวหน้าโจร 5 คน กับบุรุษโจรหลายพันคนโดยการประหาร
ครั้งแรกนั่นแหละ หัวหน้าโจร 7 คน ที่เหลือพาบริวารของตน ๆ เข้าไปยัง
ภูเขา. พวกอำมาตย์ก็ส่งข่าวกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชา พระราชา
จึงทรงส่งพระราชทรัพย์ไป ด้วยพระราชสาส์นว่า เราจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่
พวกท่าน พวกท่านจงปราบโจรแม้ที่เหลือเหล่านั้น พวกอำมาตย์เหล่านั้น
ก็ประหารหัวหน้าโจร 2 คน โดยการประหารครั้งที่ 2 ได้กระทำแม้บริวาร
ของพวกโจรเหล่านั้นให้ทุรพล พวกโจรเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็พากันหนีไปยัง
ภูเขา พวกมหาอำมาตย์ส่งข่าวสาส์นความเป็นแม้นั้นไปกราบทูลพระราชา
พระราชาทรงส่งพระราชทรัพย์ ด้วยพระราชสาส์นว่า พวกท่านจงปราบพวก
โจรให้สิ้น พวกอำมาตย์เหล่านั้นฆ่าหัวหน้าโจร 2 คน พร้อมกับบุรุษสหายโจร
โดยการประหารครั้งที่ 3 แล้วส่งข่าวสาสน์กราบทูลแด่พระราชา พระราชาก็ส่ง
พระราชทรัพย์ พร้อมด้วยพระราชสาส์นว่า พวกท่านจงปราบโจรอย่าให้เหลือ

พวกอำมาตย์เหล่านั้น ก็ฆ่าหัวหน้าโจร 5 คน พร้อมกับบริวารโจรโดยการ
ประหารครั้งที่ 4. จำเดิมแต่พวกหัวหน้าโจร 12 คน ถูกฆ่าตายแล้ว ชื่อว่า
โจรไร ๆ มิได้มี. ชนบทถึงความเกษม ย่อมอยู่ดุจให้บุตรฟ้อนรำบนอก
ฉะนั้น. พระราชาทรงแวดล้อมด้วยโยธาผู้พิชิตสงคราม เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอัน
ประเสริฐ เสวยมหาสมบัติ.
ในคำเหล่านั้น พระธรรมราชา เปรียบเหมือนพระราชาผู้ใหญ่ กุลบุตร
ผู้โยคาวจร เปรียบเหมือนอำมาตย์ผู้อยู่ปัจจันตชนบท. อกุศลจิต 12 ดวง*
เปรียบเหมือนหัวหน้าโจร 12 คน. บาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์จิต
เปรียบเหมือนบุรุษสหายหลายพันของหัวหน้าโจรเหล่านั้น. เวลาที่กิเลสทั้งหลาย
เกิดขึ้นในอารมณ์แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิเลส
ทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ดังนี้ เปรียบเหมือนเวลาอำมาตย์ส่งข่าวสาส์น
กราบทูลพระราชาว่า ปัจจันตะเกิดจลาจล. การที่พระธรรมราชาตรัสบอก
กรรมฐานว่า ภิกษุ เธอจงข่มกิเลสเสีย ดังนี้ เปรียบเหมือนการพระราชทาน-
ทรัพย์ พร้อมกับพระราชสาส์นว่า พวกเธอจงปราบให้หมด ดังนี้. การละ
อกุศลจิต 5 ดวงพร้อมทั้งสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่
อำมาตย์ฆ่าหัวหน้าโจร 5 คนพร้อมทั้งบริวาร.
การกราบทูลคุณที่ตนได้แล้ว แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปรียบเหมือน
การส่งข่าวถวายพระราชา. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกวิปัสสนาแห่งสก-
ทาคามิมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีก พร้อมกับพระดำรัสว่า
จงปราบพวกโจรที่เหลือ. การบรรเทาโทมนัสจิต 2 ดวงพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม
ด้วยสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนการกระทำหัวหน้าโจร 2 คน พร้อมทั้ง
บริวารให้ทุพพลภาพด้วยการประหารครั้งที่ 2.
* เป็นอกุศลเจตสิก 14 ดวง

การกราบทูลคุณที่ตนได้แด่พระศาสดา เปรียบเหมือนการส่งข่าวถวาย
พระราชาให้ทรงทราบความเป็นไปอีก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก
วิปัสสนาแห่งอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีกพร้อมกับ
ข่าวสาส์นว่า จงปราบโจรให้หมดสิ้น. การละโทมนัสจิต 2 ดวง พร้อมทั้ง
สัมปยุตธรรมด้วยอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนการฆ่าหัวหน้าโจร 2 คน
พร้อมทั้งบริวาร ด้วยการประหารครั้งที่ 3.
การกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือน
การส่งข่าวถวายพระราชาให้ทรงทราบอีก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก
วิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีก พร้อมคำ
ดำรัสไปว่า จงปราบโจรให้สิ้น. ความไม่มีอกุศลธรรมอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
องค์จิตอีก จำเดิมแต่อกุศลจิต 12 ดวง ในเพราะอกุศลจิต 5 ดวงพร้อมด้วย
สัมปยุตธรรมอันอรหัตมรรคละแล้ว เปรียบเหมือนเวลาที่ชนบทเป็นแดนเกษม
จำเดิมแต่กาลที่อำมาตย์ฆ่าหัวหน้าโจร 5 คน พร้อมด้วยบริวาร ด้วยการ
ประหารครั้งที่ 4 พึงทราบการเสวยสุขด้วยผลสมาบัติตามที่พระโยคาวจร
ปรารถนาแล้ว ในสุขทั้งหลายมีสมาบัติอันต่างด้วยสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ
ของพระธรรมราชาผู้มีพระขีณาสพแวดล้อมแล้ว เปรียบเหมือนการเสวย
มหาสมบัติ ของพระราชาผู้พิชิตสงคราม ผู้แวดล้อมด้วยอำมาตย์บนประสาท
อันประเสริฐ ฉะนั้นแล.
พรรณนาบทว่าธรรมเป็นกุศลจบเพียงนี้